ตัวแสดงผลอักษรเบรลล์

alt


บทนำ

อักษรเบรลล์ (Braille code) เป็นตัวอักษรสำหรับผู้พิการทางสายตาซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1921 โดยครูตาบอดชาวฝรั่งเศสชื่อ หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) อักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์ ประกอบด้วยปุ่มนูนเล็กๆ จำนวน 6 ปุ่มวางตัวในลักษณะต่างๆ กันไปตามรหัสที่กำหนดขึ้นใช้แทนตัวอักษรปกติ หรือ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ หรือสัญลักษณ์อื่นๆ รูปที่ 1 แสดงตำแหน่งของปุ่มนูนซึ่งกำกับด้วยตัวเลข 1 ถึง 6  สำหรับระบบอักษรเบรลล์ที่กำหนดใช้แทนพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ไทยแสดงในรูปที่ 2 และ 3 ส่วนอักษร ตัวเลขและเครื่องหมายต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษแสดงดังรูปที่ 4 ซึ่งจะเห็นได้ว่าสัญลักษณ์บางตัวต้องใช้อักษรเบรลล์ประกอบกันถึง 3 เซลล์
 

 alt
รูปที่่่่่ 1 ตำแหน่งของปุ่มนูนในอักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์ 

alt              alt
 

      รูปที่ 2 อักษรเบรลล์ที่กำหนดใช้แทนพยัญชนะไทย          รูปที่ 3 อักษรเบรลล์ที่กำหนดใช้แทนสระและวรรณยุกต์ไทย


alt                alt

รูปที่ 4 อักษรเบรลล์ที่กำหนดใช้แทนอักษรในภาษาอังกฤษ ตัวเลข และเครื่องหมายต่าง ๆ


การบันทึกและแสดงผลอักษรเบรลล์แบบดั้งเดิมทำได้โดยการใช้ดินสอ (Stylus) กดลงบนด้านหลังของกระดาษให้เกิดรอยบุ๋มในตำแหน่งที่กำหนดด้วยช่องว่างบนแผ่นสเลต (Slate) เมื่อพลิกด้านหน้าของกระดาษกลับขึ้นมาจะได้ปุ่มนูนของอักษรเบรลล์ตามต้องการ การใช้งานระบบอักษรเบรลล์แบบนี้ผู้ใช้ต้องฝึกฝนจนชำนาญเนื่องจากการเขียนให้เกิดปุ่มนูนบนกระดาษจะกลับด้านกันกับการอ่านอักษรผ่านสัมผัสที่ปลายนิ้ว รูปที่ 5 แสดงอุปกรณ์ที่ใช้เขียนอักษรเบรลล์บนกระดาษและการอ่านอักษรเบรลล์ด้วยสัมผัสที่ปลายนิ้ว

alt

รูปที่ 5 ดินสอและสเลตสำหรับการบันทึกอักษรเบรลล์ลงบนกระดาษ และการอ่านอักษรเบรลล์ผ่านปลายนิ้วสัมผัส

แม้ว่าผู้พิการทางสายตาจะสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านการอ่านอักษรเบรลล์บนกระดาษแล้วก็ตาม แต่การบันทึกอักษรเบรลล์บนกระดาษจะสิ้นเปลืองพื้นที่การจัดเก็บและจุดอักษรเบรลล์อาจลบเลือนไปได้ง่าย อีกทั้งกระดาษยังอาจได้รับความเสียหายจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ในขณะที่ข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันได้เปลี่ยนรูปแบบไปจัดเก็บและเผยแพร่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูลของผู้พิการทางสายตาถูกจำกัดลง ดังนั้นเทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือผู้พิการ (Assistive Technologies) จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสื่อสารของผู้พิการมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยตัวอักษรบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ จะถูกส่งผ่านมายังแผงแสดงผลอักษรเบรลล์แบบปรับเปลี่ยนปุ่มนูนได้ (Refreshable Braille Display) ตามลักษณะของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกจัดเก็บในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์แทนการสร้างปุ่มนูนบนแผ่นกระดาษ สำหรับกลไกขับเคลื่อนจุดปุ่มนูนภายในแผงแสดงผลอักษรเบรลล์เชิงพาณิชย์ในปัจจุบันนิยมใช้วัสดุเพียโซอิเล็กทริก (Piezoelectric) สร้างเป็นคานขนาดเล็ก คานดังกล่าวสามารถโค้งตัวเพื่อดันแท่งปุ่มนูนที่ปลายคานขึ้นไปได้ รูปที่ 6 แสดงโครงสร้างภายในและกลไกการขับเคลื่อนปุ่มนูนซึ่งมีราคาประมาณ 50 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 100 ชิ้น (http://www.piezo.com) นั่นคือแผงแสดงผลอักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์ 6 ปุ่มนูน จะมีต้นทุนกลไกขับเคลื่อน 3 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ซึ่งยังไม่รวมถึงต้นทุนของอุปกรณ์อื่นๆ ในการเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ รูปที่ 7 แสดงตัวอย่างแผงแสดงผลอักษรเบรลล์เชิงพาณิชย์ขนาด 80 เซลล์ ซึ่งมีราคาจำหน่ายในประเทศไทยมากกว่าสองแสนบาทต่อเครื่อง ด้วยราคาระดับนี้ โรงเรียนสอนคนตาบอดจึงสามารถจัดหามาให้นักเรียนทั้งหมดร่วมกันใช้งานได้เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ การวิจัยและพัฒนาแผงแสดงผลอักษรเบรลล์ในปัจจุบัน จึงมุ่งเน้นไปที่การประดิษฐ์แผงแสดงผลอักษรเบรลล์ที่มีกลไกขับเคลื่อนจุดปุ่มนูนที่มีต้นทุนต่ำลงจนผู้พิการทางสายตาโดยทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้งานได้ 

alt      

รูปที่ 6 กลไกขับเคลื่อนปุ่มนูนภายในแผงแสดงผลอักษรเบรลล์เชิงพาณิชย์แบบคานเพียโซอิเล็กทริก (http://www.kscitech.com/BC/)

 

alt

รูปที่ 7 แผงแสดงผลอักษรเบรลล์เชิงพาณิชย์ (http://www.braillenet.org)
 

แผงแสดงผลอักษรเบรลล์ขับเคลื่อนโดยแรงดันลม (Pneumatic Braille display)

กลไกขับเคลื่อนปุ่มนูนในแผงแสดงผลอักษรเบรลล์อีกแบบหนึ่งที่ได้มีการวิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และมีศักยภาพเชิงพาณิชย์ในราคาที่ต่ำกว่าระบบขับเคลื่อนแบบคานเพียโซอิเล็กทริก จะใช้หลักการสร้างแรงดันลมอัดเพื่อดันให้จุดปุ่มนูนยกตัวขึ้น โดยมีวาล์วทำหน้าที่ควบคุมการเปิด-ปิดแรงดันของลมอัด จุดปุ่มนูนที่รับแรงดันลมอัดแล้วยกตัวขึ้นมีทั้งที่เป็นแผ่นพอลิเมอร์บางและเป็นแท่งวัสดุแข็ง รูปที่ 8 แสดงหลักการขับเคลื่อนปุ่มนูนแบบแผ่นพอลิเมอร์บางด้วยไมโครวาล์ว ข้อได้เปรียบของวิธีการนี้คือ กลไกที่ควบคุมการแสดงผลจะไม่ได้รับแรงกระทำจากนิ้วมือโดยตรงและยังสามารถสร้างจุดนูนได้ตามระดับแรงดันลมที่ป้อนเข้าไป แต่จำเป็นต้องติดตั้งถังลมหรือปั๊มลมไว้กับชุดแสดงผลตลอดเวลา อีกทั้งต้องใช้วาล์วควบคุมการป้อนแรงดันลมอัดเพื่อควบคุมปุ่มนูนแต่ละปุ่มแยกจากกัน ซึ่งสำหรับแผงแสดงผลขนาด 1 เซลล์ 6 ปุ่มนูนต้องใช้วาล์วควบคุมถึง 6 ตัว ซึ่งถ้าใช้วาล์วเปิด-ปิดลมอัดตามปกติจะทำให้ส่วนควบคุมการทำงานของแผงแสดงผลมีขนาดใหญ่มาก อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหานี้สามารถทำได้โดยควบคุมแรงดันลมอัดด้วยไมโครวาล์วแทนวาล์วขนาดใหญ่ที่ใช้ในปัจจุบัน คณะผู้วิจัยได้ทดสอบสร้างจุดปุ่มนูนแบบนี้และทดสอบการใช้งานแล้วพบว่า แผ่นพอลิเมอร์บางที่ต้องพองตัวเป็นปุ่มนูนอาจฉีกขาดได้ง่ายถ้าความดันของลมอัดมากเกินไป ดังนั้นจึงต้องจัดให้มีช่องระบายความดันของลมอัดสำหรับจุดปุ่มนูนแต่ละจุด นอกจากนี้ความยืดหยุ่นของแผ่นพอลิเมอร์บางอาจทำให้การรับรู้ด้วยสัมผัสที่ปลายนิ้วไม่ชัดเจนนัก

 

alt

รูปที่ 8 หลักการสร้างปุ่มนูนโดยป้อนแรงดันลมผ่านไมโครวาล์วเพื่อให้แผ่นพอลิเมอร์บางพองตัว

 

การพัฒนาแผงแสดงผลอักษรเบรลล์ขับเคลื่อนโดยแรงดันลมชนิด 1 ปุ่มนูน ซึ่งผลิตด้วยเทคนิคซินโครตรอนเอกซ์เรย์ลิโธกราฟฟี

จากข้อเสียของจุดปุ่มนูนซึ่งเกิดจากการอัดความดันให้แผ่นพอลิเมอร์บางพองตัว ที่ได้มีผู้รายงานไว้ในวารสารวิชาการเกี่ยวกับการฉีกขาดเสียหายง่ายและการรับรู้จากสัมผัสที่ปลายนิ้วซึ่งไม่ชัดเจนนัก ได้มีผู้เสนอแนวทางป้องกันการฉีกขาดเสียหายด้วยการสร้างช่องทางระบายความดันลมส่วนเกินให้กับจุดปุ่มนูนทุกปุ่มแต่ยังไม่มีผู้ใดได้การดำเนินการข้อเสนอดังกล่าวแต่อย่างใด เพื่อแก้ปัญหาสองประการข้างต้นคณะผู้วิจัยจึงได้คิดค้นจุดปุ่มนูนแบบใหม่ที่มีการระบายแรงดันส่วนเกินในตัวเอง โดยออกแบบจุดปุ่มนูนให้เป็นแท่งทรงกระบอกที่วางอยู่บนฐานวงกลม รวมเป็นแท่งคล้ายตะปู ซึ่งฐานวงกลมจะทำหน้าที่รับแรงดันลมให้แท่งทรงกระบอกยกตัวขึ้น ส่วนแท่งทรงกระบอกเมื่อยกตัวขึ้นจะสามารถรับรู้ได้ด้วยปลายนิ้วสัมผัสได้อย่างชัดเจนเนื่องจากมีลักษณะเป็นแท่งแข็งและมีขอบตัดและมีผนังตั้งตรงในแนวดิ่ง การสร้างแท่งปุ่มนูนลักษณะนี้สามารถทำได้โดยใช้แสงซินโครตรอนย่านรังสีเอกซ์ซึ่งมีพลังงานและอำนาจทะลุทะลวงสูงฉายลงบนพอลิเมอร์ไวแสง SU-8 เพื่อกำหนดให้เกิดเป็นรูปร่างแท่งทรงกระบอกที่มีผนังตั้งตรงและมีความหนาได้ถึง 1000 ไมโครเมตร รูปที่ 9 แสดงตัวอย่างโครงสร้างแท่งพอลิเมอร์ ที่ผลิตขึ้นด้วยเทคนิคซินโครตรอนเอกซ์เรย์ลิโธกราฟฟี สำหรับจุดปุ่มนูนแบบใหม่ ที่คณะผู้วิจัยได้คิดค้นขึ้นสามารถอธิบายหลักการทำงานได้ดังรูปที่ 10 รูปด้านซ้ายแสดงองค์ประกอบของจุดปุ่มนูนซึ่งมีลักษณะคล้ายลูกสูบทรงกระบอกบรรจุอยู่ภายในกระบอกสูบ ระหว่างแท่งลูกสูบและกระบอกสูบมีระยะห่างเล็กน้อยเพื่อลดแรงเสียดทานขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นและลง ระยะห่างนี้ทำหน้าที่เป็นช่องระบายความดันลมของจุดปุ่มนูนไปในตัวอีกด้วย ในรูปด้านขวา เมื่อป้อนแรงดันลมให้ลูกสูบ แรงกระทำที่จานรับแรงดันด้านล่างจะดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ขึ้นไปด้านบนจนกระทั่งจานกลมติดกับผิวด้านล่างของแผ่นรับการสัมผัส เมื่อหยุดป้อนแรงดันลมให้แก่จุดปุ่มนูน แท่งลูกสูบจะเคลื่อนที่กลับลงมาด้วยแรงโน้มถ่วง หรือด้วยแรงดึงกลับของสปริงที่ติดตั้งเพิ่มเข้าไปให้การเคลื่อนที่ลงของแท่งลูกสูบรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

          alt      alt

                                                      รูปที่ 9                                             รูปที่ 10          

เพื่อเป็นการพิสูจน์กลไกพื้นฐานของแผงแสดงผลอักษรเบรลล์ที่จะสร้างขึ้น จึงได้เริ่มจากชนิด 1 ปุ่มนูนก่อน  โดยสร้างให้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกตัน 2 ชั้น ด้านล่างมีสปริงทางกลขนาดเล็กยึดตรึงแท่งพอลิเมอร์รูปทรงกระบอกไว้กับที่ แท่งทรงกระบอกนี้สวมอยู่ภายในกระบอกกลวง ในลักษณะลูกสูบสวมอยู่ภายในกระบอกสูบ ด้วยระยะห่าง 50 ไมโครเมตร รูปที่ 11 

alt


รูปที่ 11 กระบวนการสร้างแผงแสดงผลอักษรเบรลล์ชนิด 1 ปุ่มนูน
 

หลังจากนั้นแท่งปุ่มนูนจะถูกทำให้หลุดเป็นอิสระจากฐานรองและนำมาสวมประกอบกับแผ่นหน้าสัมผัสที่มีรูกลวงรูปทรงกระบอกดังรูปที่ 12 (ก) แล้วทำการทดสอบการเคลื่อนที่ขึ้น-ลงและความสามารถในการต้านทานแรงกดจากปลายนิ้วสัมผัสเมื่อป้อนแรงดันลมอัดค่าต่าง ๆ กัน ดังรูปที่ 12 (ข) เพื่อหาแรงดันลมอัดที่ต้องใช้ในการต้านทานแรงกดจากการสัมผัสที่รับรู้ได้อย่างชัดเจน จากผลการทดลองดังรูปที่ 13 พบว่าแท่งปุ่มนูนที่สวมอยู่ในกระบอกสูบด้วยระยะห่าง 50 ไมโครเมตร ซึ่งได้รับแรงดันลมอัด 109.48 kPa จะสามารถต้านทานแรงกดเทียบเท่ากับการยกน้ำหนัก 10 กรัมค้างไว้ได้โดยผู้สัมผัสจุดปุ่มนูนยังคงรับรู้การนูนได้อย่างชัดเจน


alt

รูปที่ 12 (ก) แท่งปุ่มนูนพร้อมสปริงดึงกลับที่หลุด (ข) การทดสอบการต้านแรงกดด้วยปลายนิ้วสัมผัส

alt

รูปที่ 13 ความสามารถต้านแรงกดของจุดปุ่มนูนภายใต้แรงดันลมระดับต่าง ๆ ที่ได้รับ

 

การพัฒนาแผงแสดงผลอักษรเบรลล์ขับเคลื่อนโดยแรงดันลมขนาด 1 เซลล์ 6 ปุ่มนูน ซึ่งผลิตด้วยเทคนิคซินโครตรอนเอกซ์เรย์ลิโธกราฟฟี

การพัฒนาขั้นต่อมาเป็นการออกแบบและสร้างจุดสัมผัสครบทั้ง 6 จุดเพื่อให้ครบเป็นอักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์ โดยมีองค์ประกอบหลักสามส่วนได้แก่ แผ่นรับสัมผัส (แผ่นผิวเรียบพร้อมกระบอกสูบของจุดปุ่มนูน 6 ช่อง) แผงปุ่มนูน (แท่งปุ่มนูนพร้อมฐานรับแรงดันลมพร้อมสปริงดึงกลับเชื่อมต่อกัน 6 ชุด) และแผ่นประกบหลัง (แผ่นผิวเรียบใช้ปิดกระบอกสูบด้านหลังพร้อมรูป้อนอากาศอัด 6 รู สำหรับขับเคลื่อนแต่ละปุ่มนูน) ดังรูปที่ 14 (บน) ขนาดของจุดปุ่มนูนที่ใช้เป็นไปตามมาตรฐานอักษรเบรลล์ดังแสดงในรูปที่ 14 (ล่าง)

 
 
alt
รูปที่ 14 (บน)  องค์ประกอบของแผงแสดงผลอักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์ 6 ปุ่มนูน
                                                         (ล่าง) ขนาดมาตรฐานของจุดปุ่มนูนอักษรเบรลล์

สำหรับการผลิตแผงแสดงผลอักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์ 6 ปุ่มนูนนั้นจะมีขั้นตอนเหมือนกับกระบวนการสำหรับการผลิตจุดปุ่มนูน 1 จุดดังได้กล่าวมาแล้วทุกประการยกเว้นการวาดลวดลายโครงสร้างต้นแบบให้มีจุดปุ่มนูนเพิ่มขึ้น ดังรูปที่ 15 อย่างไรก็ตามการผลิตชิ้นงานที่มีพื้นที่มากขึ้นจะเพิ่มความยากในการรักษาความสะอาดและการควบคุมให้จุดปุ่มนูนในแต่ละพื้นที่ย่อยมีความสม่ำเสมอกัน

 
alt

รูปที่ 15 ขั้นตอนการสร้างแผงแสดงผลอักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์ 6 ปุ่มนูน

รูปที่ 16 (ก) แสดงการวางจุดแสดงผลลงในช่องบรรจุของหน้าจอสัมผัส และรูปที่ 16 (ข) เปรียบเทียบขนาดของตัวแสดงผลอักษรเบรลล์กับเหรียญ 1 บาท       แผงแสดงผลที่ประกอบเสร็จแล้วจะถูกนำมาเชื่อมต่อกับท่อขนาดเล็กทางด้านล่างดังรูปที่ 17 ซึ่งพร้อมจะนำไปมาทดสอบการแสดงผลด้วยระบบควบคุมการแสดงผลอักษรเบรลล์ต่อไป
 
alt

รูปที่ 16 (ซ้าย) แผงจุดปุ่มนูน ที่สวมอยู่ในช่องทรงกระบอกของหน้าจอสัมผัส
(ขวา) ขนาดของแผงแสดงผลอักษรเบรลล์ชนิด 1 เซลล์ 6 ปุ่มนูนเทียบกับเหรียญ 1 บาท
 
 
alt

รูปที่ 17 แสดงผลอักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์ 6 ปุ่มนูน ที่เชื่อมต่อกับท่อป้อนลมแล้ว

ระบบควบคุมแผงแสดงผลอักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์ 6 ปุ่มนูน

เมื่อได้แผงแสดงผลอักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์ 6 ปุ่มนูนแล้ว จึงได้พัฒนาต้นแบบระบบควบคุมแผงแสดงผลซึ่งบังคับให้แต่ละจุดปุ่มนูนแสดงผลตามอักษรเบรลล์อินพุต ในปัจจุบันได้พัฒนาระบบควบคุมต้นแบบที่ยังมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของตัวแผงแสดงผล แต่ขนาดของระบบควบคุมการแสดงผลสามารถย่อส่วนลงได้ในอนาคตซึ่งจะได้ดำเนินการทีละขั้นตอนเป็นลำดับไป ระบบควบคุมในชั้นนี้ประกอบด้วยแหล่งกำเนิดและควบคุมแรงดันลมอัด (Air compressor) วาล์วเปิดปิดลมอัด (Pneumatic valve) แผงแสดงผลอักษรเบรลล์ ไมโครคอมพิวเตอร์ และวงจรขับวาล์วลมอัด ดังรูปที่ 18 และ 19
 

alt

รูปที่ 18 แผนผังระบบควบคุมแผงแสดงผลอักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์ 6 ปุ่มนูน

 

alt
รูปที่ 19 ระบบแสดงผลอักษรเบรลล์ขนาด 1 เซลล์ 6 ปุ่มนูน แสดงผลตัวอักษรช่วงระยะเวลาละ 1 เซลล์

 

กระบวนการควบคุมการแสดงผลอักษรเบรลล์เริ่มจากการที่โปรแกรมภาษา MATLAB บนไมโครคอมพิวเตอร์ส่งอักขระ ASCII ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ไปยังวงจรขับวาล์วลม ผ่านระบบสื่อสารอนุกรม RS-232 ในขณะนี้ได้เขียนโปรแกรมให้ระบบรับอักขระจากแป้นพิมพ์แล้วส่งไปแสดงผลที่แผงอักษรเบรลล์ แต่ในอนาคตสามารถเชื่อมต่อเพื่อรับอักขระจากแหล่งอินพุตอื่น ๆ เช่นจากโปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์หรือเว็บบราวซ์เซอร์ได้โดยผ่านการส่งข้อมูลแบบอนุกรม อักขระที่วงจรขับวาล์วลมได้รับมาจากไมโครคอมพิวเตอร์จะถูกไมโครคอนโทรลเลอร์แปลให้เป็นชุดสถานะเปิด/ปิดของวาล์วลม 6 ตัว ตามลำดับหมายเลขจุดปุ่มนูน 1 – 6 ที่ตรงกับลักษณะการนูนของจุดปุ่มนูนทั้ง 6 จุดสำหรับอักขระนั้น ๆ สำหรับอักขระที่แทนด้วยอักษรเบรลล์ขนาด 2 เซลล์ขึ้นไป จะใช้วิธีแสดงผลเซลล์แรกก่อน เมื่อผ่านการหน่วงเวลาระยะหนึ่งไปแล้วจึงแสดงผลเซลล์ที่เหลือถัด ๆ ไป  สถานะเปิด/ปิดของวาล์วลมจะควบคุมให้มีการปล่อย/ปิดกั้นลมอัดที่มีความดัน 30 psi จากปั๊มลมผ่านสายยางขนาดเล็กป้อนไปขับจุดปุ่มนูนให้แสดงผลตรงกับอักษรเบรลล์ให้นูนขึ้นหรือยุบลงต่อไป

เมื่่อทดสอบการทำงานของระบบควบคุมแผงแสดงผลพบว่าให้ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้องตรงตามที่ออกแบบ รูปที่ 20 แสดงลักษณะของจุดปุ่มนูนทั้งหก จุดขณะแสดงผลอักขระ “ต” จากการสัมผัสแผงแสดงผลสามารถรับรู้อักษรที่ต้องการสื่อออกมาได้อย่างชัดเจน

alt

รูปที่ 20 การแสดงอักษร “ต” บนแผงแสดงผลอักษรเบรลล์ ขนาด 1 เซลล์ 6 ปุ่มนูน

 

การแสดงผลของอักษรเบรลล์

https://www.youtube.com/watch?v=uT0TsPNcbE8

ทีมงานผู้ประดิษฐ์ผลงาน
 
ดร.รุ่งเรือง  พัฒนากุล
นายพิทยา  ดีกล้า
นายวัชรพล  ภุมรา
ดร.นิมิต  ชมนาวัง

Menu : SAXS

ระบบลำเลียงแสงที่ 1.3W: Small/Wide Angle X-ray Scattering

ระบบลำเลียงแสงที่ 1.3W: Small/Wide Angle X-ray Scattering

  เทคนิค Small Angle X-ray Scattering (SAXS) เป็นเทคนิคสำหรับการศึกษาขนาดและโครงสร้างที่อยู่ระดับนาโนเมตร เช่น การศึกษาขนาดและรูปร่างของอนุภาคนาโน...

เทคนิค SAXS คืออะไร

เทคนิค SAXS คืออะไร

เทคนิค Small Angle X-ray Scattering หรือเรียกย่อๆ ว่า SAXS คือเทคนิคทีวัดการกระเจิงของรังสีเอกซ์ที่มุมเล็กๆ เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างของสสารที่อยู่ในระดับนาโนเมตร...

ข้อมูลจากเทคนิค SAXS บอกอะไร / ตัวอย่างประเภทใดที่ศึกษาได้

ข้อมูลจากเทคนิค SAXS บอกอะไร / ตัวอย่างประเภทใดที่ศึกษาได้

ผลการวัดด้วยเทคนิค SAXS นั้นบรรจุข้อมูลโครงสร้างของสารตัวอย่าง ที่สำคัญคือ 1. SAXS บอกขนาดและรูปร่างของอนุภาค เนื่องจากลักษณะการกระเจิงของรังสีเอกซ์นั้นขึ้นกับรูปร่าง และขนาดของวัตถุที่กระเจิง ลักษณะการกระเจิงจึงสามารถใช้บอกขนาดและรูปร่างของอนุภาคได้...

การวิเคราะห์ข้อมูล SAXS

การวิเคราะห์ข้อมูล SAXS

การวิเคราะห์ข้อมูล SAXS   การวิเคราะห์ข้อมูล SAXS เริ่มต้นด้วยการจัดการข้อมูลที่ได้จากการวัด ซึ่งเป็นภาพแผนผังการกระเจิง การวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้นจึงเกี่ยวข้องกับการทำ image processing...

SAXSIT page

SAXSIT page

SAXSIT เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการข้อมูล SAXS ถูกเขียนบน Matlab และ compile เป็น executable ซึ่งสามารถ run...

แหล่งข้อมูล SAXS ในอินเตอร์เนต

แหล่งข้อมูล SAXS ในอินเตอร์เนต

ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ SAXS รวมถึง Diffraction บางส่วนซึ่งมีทั้งโปรแกรม หนังสือและเอกสาร tutorial ที่อาจมีประโยชน์ หนังสือ Small...

kmslrikmslri2


11
bl1 1
bl1 2
bl1 3
bl2 2 2
bl3 2
bl4 1
b5 1W 3
b5 2 2
b5 3 3
b6
bl7 2
bl8


p1
p2
p3
p4
p5
p6
p7

 


stap
training

3g