นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
(แถลงต่อรัฐสภา วันที่ 25 กรกฎาคม 2562)
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
นโยบายรัฐบาลหลัก ที่เกี่ยวข้องกับ อว. |
5. การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย |
5.1 เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง |
5.1.5 สร้างแพลตฟอร์มเพื่อใช้ในการออกแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายที่มีเครื่องมือและเทคนิคสมัยใหม่ต่าง ๆ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบนโยบายและมาตรการ เพื่อให้สามารถกําหนดนโยบายที่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ท่ีเปลี่ยนแปลงไปได้ อย่างทันท่วงที |
5.2 พัฒนาภาคอุตสาหกรรม |
5.2.1 พัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular-Green (BCG) Economy] โดยนําความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่ม จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและ วัฒนธรรมในการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม และบริการของท้องถิ่น ปรับระบบการบริหารจัดการการผลิตและระบบโลจิสติกส์ ส่งเสริมการใช้พลังงาน ทดแทน การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า การบริหารจัดการของเสีย อุตสาหกรรมและขยะแบบคลัสเตอร์ระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนในแต่ละพื้นที่ของจังหวัด กลุ่มจังหวัด เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พร้อมทั้งให้ความสําคัญกับกฏระเบียบ ทางด้านสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระหว่างประเทศ |
5.2.2 พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีหรือแนวโน้มการค้าโลก โดยคํานึงถึงศักยภาพ ความสามารถในการแข่งขัน แนวโน้มความต้องการของตลาดในประเทศและตลาดโลก เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยมีระดับ ผลิตภาพที่สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก สร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีมูลค่าสูงในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และอุตสาหกรรมอนาคต อาทิ อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศ อุตสาหกรรมที่เก่ียวข้องกับการส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ อุตสาหกรรมอวกาศ พร้อมทั้งให้ความสําคัญกับการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดห่วงโซ่อุปทานให้สามารถใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน |
5.3 พัฒนาภาคเกษตร |
5.3.3 พัฒนาองค์กรเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยเพิ่มทักษะการประกอบการและพัฒนาความเชื่อมโยงของกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ในทุกระดับ โดยเฉพาะด้านการตลาด การค้าออนไลน์ ระบบบัญชี เพื่อขยายฐานการผลิตและฐานการตลาดของสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็งมีความสามารถในการแข่งขัน รวมทังการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ไปสู่เกษตรกรอัจฉริยะ เพื่อการพัฒนาภาคเกษตรได้อย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต |
5.3.6 ส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยการสนับสนุนพันธุ์กล้าไม้ และให้ความรู้ในการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์อย่างเหมาะสมทั้งในด้านการปลูก บํารุงรักษา ดูแล และการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง |
5.8 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม |
5.8.1 พัฒนาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่เอื้อต่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาต่อยอดจากผลการวิจัยให้นําไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็น และมีกลไกดําเนินการที่บูรณาการทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการตลอดห่วงโซ่มูลค่าให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันท่ีสูงขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลและตัวชี้วัดภายใต้กรอบขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม |
5.8.2 สร้างระบบจัดการข้อมูลเพื่อรองรับการบริหารจัดการงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการบูรณาการและเชื่อมโยงระบบงานวิจัยของ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการส่งเสริมการดําเนินงานด้านการวิจัยที่ต่อยอด ไปสู่การสร้างนวัตกรรมของประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการต่อยอดงานวิจัย สู่การเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ |
5.8.3 เสริมสร้างการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มุ่งเน้นการพัฒนา ระบบ คุณภาพและมาตรฐานที่เป็นปัจจัยนําไปสู่การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูง และสามารถนําไปใช้ได้จริง และใช้วัตถุดิบจากภายในประเทศให้มากที่สุด |
5.8.4 สนับสนุนการพัฒนาโรงงาน ห้องปฏิบัติการต้นแบบ ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมในระดับต้นนํา้ โดยเฉพาะโรงงานและห้องปฏิบัติการนําร่อง ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular-Green (BCG) Economy] และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนจากภาคธุรกิจเอกชน ไปพร้อมกัน |
7. การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก |
7.1 ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและผลิตภัณฑ์ชุมชน |
7.1.1 สร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจชุมชนผ่านอัตลกษณ์ของพื้นท่ี โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ของไทย ผู้ประกอบการ หนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และสหกรณ์ในชุมชนให้สามารถใช้ประโยชน์และต่อยอดจากสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และทรัพยากรในพื้นที่รวมทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชนที่มีอัตลักษณ์และมีมาตรฐานการผลิตตามหลักสากล ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างทั่วถึง นําไปสู่การสร้างเศรษฐกิจชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนและมีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจของจังหวดมากขึ้น |
7.2 สร้างความเข้มแข็งของชุมชน |
7.2.1 สร้างผู้นําชุมชน ยกย่องปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง เป็นวิทยากรในการขับเคลื่อนและสร้างกลไกการทํางานร่วมกันของ ภาคส่วนต่างๆ ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา กิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่ส่งผลต่อการสร้างสังคมที่เข้มแข็ง การปรับเปลี่ยนค่านิยมคนไทยให้ เสียสละ มีจิตอาสา จิตสาธารณะ เอื้อเฟื้อแบ่งปันผู้อื่น และเป็นพลังสําคัญในการจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ํา การพัฒนาตนเองและการจัดการของชุมชนท้องถิ่น |
7.2.4 สร้างพลังในชุมชน โดยส่งเสริมให้เกิดการสร้างพลังทางสังคม ภาคีเครือข่าย การรวมตัวของภาคส่วนต่างๆ ในชุมชนมาเป็นกําลังในการพัฒนาเพื่อส่วนรวม โดยให้ความสําคัญกับการสร้างพลังจิตอาสา สร้างพลังแผ่นดินเพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างเอกภาพแก่กลุ่มอาสาสมัครรูปแบบต่าง ๆ การสร้างพลังสรางสรรค์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมของคนทุกวัยผ่านการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ และการสร้างพลังภูมิคุมกนั เพื่อการใชสื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ และประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและเตือนภัย |
7.2.5 สร้างเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง เน้นส่งเสริมและสนับสนุน ให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจกําหนดนโยบายและมาตรการของภาครฐั โดยเริ่มจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถนําเสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสวัสดิการในระดบั ชุมชน เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในบริบทสังคมไทย |
8. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย |
8.2 พัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่ |
8.2.2 จัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางานเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนทั้ง ในส่วนฐานความรู้และระบบความคิดในลักษณะสหวิทยาการ และตรงกับความต้องการของประเทศในอนาคต และเป็นผู้เรียนที่สามารถปฏิบัติได้จริงและสามารถกํากับการเรียนรู้ของตนเองได้ รวมถึงมีทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาที่สามที่สามารถสื่อสารและแสวงหาความรู้ได้ มีความพร้อมทั้งทักษะความรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตก่อนเขาสู่ตลาดแรงงาน |
8.3 พัฒนาอาชีวะ พัฒนาคุณภาพวิชาชีพ และพัฒนาแรงงานรองรับอุตสาหกรรม 4.0 โดยการจัดระบบและกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนที่ชัดเจนเป็นระบบในการพัฒนากําลังคนที่มีทักษะขั้นสูงให้สามารถนําความรู้และทักษะมาใช้ในการแก้ไขปัญหา รวมถึงการสร้างและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งต้องครอบคลุมการพัฒนากําลงคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมแล้ว กําลังคนที่กําลงจะเข้าสู่อุตสาหกรรม และเตรียมการสําหรับผลิตกําลังคนในสาขาท่ีขาดแคลน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในอนาคต รวมทั้งเร่งรัด และขยายผลระบบคุณวุฒิวิชาชีพ การยกระดับฝีมือแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น |
8.4 ดึงดูดคนเก่งจากทั่วโลกเข้ามาร่วมทํางานกับคนไทย และส่งเสริมผู้มีความสามารถสูง สนับสนุนใหธุรกิจชั้นนำในประเทศดึงดูดบุคคลที่มี ความสามารถระดับสูงจากทั่ว โลกโดยเฉพาะคนไทย เพื่อกลับมาเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงและถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ความเชี่ยวชาญให้แก่บุคลากร ในองค์กร ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศ โดยในระยะแรกให้ความสําคัญกับการดึงดูดนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาร่วมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งมีพื้นที่ให้กลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษที่มีศักยภาพสูงไดท้ ํางานร่วมกัน หรือร่วมกับ เครือข่ายอื่น ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศ |
8.2.1 ปรับรูปแบบการเรียนรู้และการสอนเพ่ือพัฒนาทักษะ และอาชีพของคนทุกช่วงวัยสําหรับศตวรรษที่ 21 โดยปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาให้ทันสมัย มีการนําเทคโนโลยีและการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอน และปรับระบบดึงดูด การคัดเลือก การผลิตและพัฒนาครู ที่นําไปสู่การมีครูสมรรถนะสูง เป็นครูยุคใหม่ที่สามารถออกแบบและจัดระบบการสร้างความรู้ สร้างวินัย กระตุ้น และสร้างแรงบันดาลใจเปิดโลกทัศน์มุมมองของเด็กและครูด้วยการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นให้มากขึ้น ควบคู่กับหลักการทางวิชาการ |
8.5 วิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ |
8.5.1 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ําและความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมุ่งเน้นการพัฒนา นวัตกรรมเชิงสังคมและนวัตกรรมในเชิงพื้นที่ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมลํ้า สร้างโอกาสสําหรับผู้ด้อยโอกาส และยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย ควบคู่ไปกับการพัฒนาทุนมนุษย์ให้พร้อมสําหรับโลกยุคดิจิทัลและอุตสาหกรรม 4.0 ตามความเหมาะสมได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยระยะแรกจะให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพของประชาชนอย่างครบวงจร ทั้งระบบยา วัคซีน เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย |
8.5.2 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สามารถตอบสนอง ต่อความเปลี่ยนแปลง และสร้างความเป็นเลิศของประเทศในอนาคต โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจ กําหนดวาระการวิจัยแห่งชาติ ส่งเสริมความร่วมมือและการเป็นหุ้นส่วนของทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา ชุมชน และภาคเอกชน ในทุกสาขาการผลิตและ บริการ สร้างสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบของระบบวิจัยและ การพัฒนานวัตกรรมให้เข้มแข็ง รวมทั้ง บูรณาการการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมกับการนําไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
8.5.3 สร้างเครือข่ายการทําวิจัยระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ปฏิรูปและบูรณาการระบบการเรียนการสอนกับระบบงานวิจัยและพัฒนา ให้เอื้อต่อการเพิ่มศักยภาพด้านนวัตกรรมของประเทศ เพื่อสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจไทยทุกระดับในเวทีการค้าโลก ส่งเสริมกระบวนการการทํางานของ ภาครัฐและภาคเอกชน ในการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมให้เป็นระบบเปิด และมีการบูรณาการการทํางานกนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเชื่อมโยงระบบการศึกษากับภาคปฏิบัติจริงในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างนักวิจัยมืออาชีพและนวัตกรที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับงานวิจัยสู่การเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ |
8.7 จัดทําระบบปริญญาชุมชนและการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น เน้นออกแบบหลักสูตรระยะสั้นตามความสนใจ พัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่ใช้ในการดํารงชีวิตประจําวันและทักษะอาชีพของคนทุกช่วงวัยในพื้นที่และชุมชนเป็นหลัก พร้อมทั้งศึกษาแนวทางการพัฒนาเป็นรูปแบบธนาคารหน่วยกิต ซ่ึงเป็นการเรียนเก็บหน่วยกิตของวิชาเรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนข้ามสาขาวิชาและข้ามสถาบันการศึกษา หรือทํางานไปพร้อมกัน หรือเลือกเรียนเฉพาะหลักสูตรที่สนใจ เพื่อสร้างโอกาสของคนไทยทุกช่วงวัยและทุกระดับสามารถพฒนาตนเองทั้งในด้านการศึกษาและการดํารงชีวิต |
นโยบายรัฐบาลเร่งด่วน ที่เกี่ยวข้องกับ อว. |
4. การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม |
4.1 จัดพื้นที่การเกษตรให้สอดคล้องกับระบบบริหารจัดการน้ําและคุณภาพของดินตาม Agri-Map |
4.3 การทําการเกษตรยุคใหม่ต้องใช้ “นวัตกรรม” เข้ามาลดต้นทุนการผลิต |
4.5 เร่งศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี “กัญชา” “กัญชง” รวมถึงพืชสมุนไพร เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ |
5. การยกระดับศักยภาพของแรงงาน |
5.1 การยกระดับรายได้ หรือค่าแรงขั้นต่ำต้องสอดคล้องกับการพัฒนา “ทักษะฝีมือแรงงาน” ผ่านกลไก “คณะกรรมการไตรภาคี” |
5.2 สนับสนุนการปรับ “เปลี่ยนทักษะ” และ “เปลี่ยนสายอาชีพ” ให้ตรงกับความต้องการของ “ตลาดแรงงาน” “อุตสาหกรรมเป้าหมาย” และ “ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี” |
6. การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต |
6.5 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต และการใช้ปัญญาประดิษฐ์ |
7. การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 |
7.1 สร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ ในระบบดิจิทัล เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยยุคใหม่เก่งวิชา “วิทยาศาสตร์” “เทคโนโลยี” “วิศวกรรม” คณิตศาสตร์” “โปรแกรมเมอร์” “ภาษาต่างประเทศ” “ภาษาคอมพิวเตอร์” หรือ Coding ตั้งแต่ระดับ “ประถมศึกษา” |
7.3 การสร้างความรู้ความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สื่อออนไลน์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อป้องกันผลกระทบในเชิงสังคม สร้างความ ปลอดภัย ดูแลปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ และสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกระจายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เกิดความสามคคีในสังคมรวมท้ังปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในการดําเนินชีวิต |
แนวคิดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานขับเคลื่อนกระทรวง
โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม
----------------------
วิสัยทัศน์
“อว. คือหน่วยงานที่จะนำความรู้และพลังปัญญาไปช่วยประชาชน”
บทบาทหลักของกระทรวง อว. คือการใช้ทรัพยากรบุคคล ความรู้จากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ไปช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น อีกทั้งช่วยให้มีการพัฒนาสมรรถนะภาค ธุรกิจ สังคม และความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น โดยต้องสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีขีดความสามารถเพียงพอในการพัฒนาประเทศ เมื่อภาคธุรกิจและสังคมเข้มแข็งจะทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นตามลำดับ ที่สำคัญกระทรวง อว. ต้องให้ความสำคัญกับหน่วยพื้นฐาน ของสังคม คือ เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง
เป้าประสงค์หลักของกระทรวง อว.
“อว. เป็นศูนย์กลางในการสร้างโอกาสและการเปลี่ยนแปลง
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างกลไกเพื่อนำระบบการบริหารความรู้
ทรัพยากรมนุษย์ บูรณาการศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สู่การพัฒนาประเทศ เพื่อประชาชนอย่างยั่งยืน”
1. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและสร้างนโยบาย โดยเอาประชาชนและผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการเป็นที่ตั้ง
กระทรวง อว. มีเป้าประสงค์ที่จะยกระดับการทำงานให้เป็นศูนย์กลางของการสร้างโอกาส และการเปลี่ยนแปลงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน โดยเอาประชาชนทุกช่วงวัย ทุกระดับสังคม และผลสัมฤทธิ์เป็นที่ตั้ง
2. เป็นมันสมองของชาติในการประเมินความต้องการในอนาคตด้านทรัพยากรบุคคลของไทย โดยอาศัยความรู้และข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่พัฒนาประชาชนและสังคม
กระทรวง อว. เป็นสถาบันที่รวมผู้มีความรู้ ความสามารถ ด้าน อววน. และศาสตร์ทุกแขนง ซึ่งจะสามารถค้นหาสัญญาณแห่งอนาคต (Futures Literacy) และฉากทัศน์ (Scenario) ด้านความต้องการในอนาคตด้านทรัพยากรบุคคลของไทย โดยใช้ข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม ในการจัดทำนโยบายเพื่อสร้างและพัฒนาทรัพยากร บุคคลที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศไทย
3. สร้างพันธมิตรความร่วมมือ (Collaborative Partners) โดยทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการ (Facilitator) ให้เกิดตัวเร่งของการเปลี่ยนแปลง “Catalyst for Change” ใน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กระทรวง อว. เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ในศาสตร์ทุกแขนงของชาติ และบูรณาการ ความร่วมมือในระดับนานาชาติมาใช้สนับสนุนการพัฒนาประเทศได้ กระทรวง อว. ต้องสร้างพันธมิตรความร่วมมือด้านการพัฒนาความรู้ เพื่อนำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประเทศ และมีกระบวนการในการนำความรู้ที่เกิดขึ้นไปถ่ายทอดและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น โดยมีวิทยากรกระบวนการ (Facilitator) ที่ช่วยให้เข้าใจถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างถ่องแท้ รวมถึงมีการติดตามประเมินผลเพื่อทำให้เกิดพัฒนาเปลี่ยนแปลงให้เกิดได้เร็วยิ่งขึ้น
4. เป็นประตูเชื่อมไทยและสากล เพื่อให้เกิดการเข้าถึงองค์ความรู้ ทรัพยากรบุคคล และตลาดในระดับสากล (Co-Create and Borderless Mindset)
กระทรวง อว. จะเชื่อมต่อเครือข่ายด้าน อววน. ในระดับนานาชาติ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ รวมถึงทรัพยากรบุคคล และทรัพยากรในการวิจัยและทดลองด้าน ววน. ไม่ว่าจะในประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยจะต้องสร้างทัศนคติในเชิงพาณิชย์ (Commercialize) เป็นพลังผลักดันให้ผลสัมฤทธิ์ด้าน ววน. เป็นที่ยอมรับและไปสู่ตลาดสากลได้
5. เปิดให้ประชาชน เข้าถึงองค์ความรู้ เพื่อสร้างโอกาสและการเปลี่ยนแปลงระดับฐานราก
กระทรวง อว. จะต้องใช้สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานภายใต้กระทรวง อว. เป็นแหล่งเรียนรู้เปิด ที่เปิดให้ประชาชน ชุมชน และสังคม เข้าถึงองค์ความรู้ได้สะดวก รวดเร็ว ช่วยให้ประชาชน สามารถพัฒนาแนวคิดในการสร้างโอกาสและการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการประกอบอาชีพ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
6. เข้าร่วมรับผิดชอบการสร้างและพัฒนาชุมชนโดยใช้ฐาน ววน. ที่ อว. สร้างและพัฒนาไว้
กระทรวง อว. จะต้องมี “พันธกิจ” ที่ต้องใช้ทรัพยากรด้าน ววน. เข้าร่วมรับผิดชอบการสร้างและพัฒนาชุมชน ในระยะสั้นกระทรวง อว. ต้องมุ่งเน้นการช่วยเหลือประชาชนและชุมชนที่ประสบปัญหาจากผลกระทบ COVID-19 โดยพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งในด้านการพึ่งพาตนเอง และการสร้างทักษะใหม่ในการดำรงชีพ
ทิศทางเชิงยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์นี้ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และเป็นไปตามเป้าประสงค์หลัก โดยแบ่งได้เป็น 4 เสาหลักสำคัญ ที่มีความเชื่อมโยงกันเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อันประกอบไปด้วย
1. สร้างบุคลากรและพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรม
2. เผยแพร่องค์ความรู้ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่ประชาชน ด้วยการวางรากฐานและยกระดับระบบนิเวศงานวิจัย
3. นำองค์ความรู้ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
4. บูรณาการทุกภาคส่วนในกระทรวง อว. สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ สร้างความเปลี่ยนแปลงและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
การดำเนินการตามทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ทั้ง 4 เสาหลัก
นโยบายสถาบัน
สถาบันฯ มีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน หรือ “เครื่องกำเนิดแสงสยาม” เพื่อสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และยังคงพัฒนาศักยภาพการทำงานของเครื่องอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันห้องปฏิบัติการแสงสยามมีระบบลำเลียงแสง 11 ระบบ 13 สถานีทดลอง และยังมีระบบลำเลียงแสงอาเซียนที่จัดสร้างแล้วเสร็จอยู่ระหว่างการทดสอบใช้งานอีก 1 ระบบ เพื่อให้พร้อมต่อการขยายฐานการให้บริการสู่ภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมไทยได้หลากหลายสาขาและตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น
นอกจากให้บริการแสงซินโครตรอน และเทคโนโลยีด้านแสงซินโครตรอนขั้นสูง สถาบันฯ มีพันธกิจในการส่งเสริมการถ่ายทอดและการเรียนรู้เทคโนโลยีด้านแสงซินโครตรอนในด้านต่าง ๆ ดังนี้
ด้านการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอนทั้งในและต่างประเทศ โดยการจัดอบรมสัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการในระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยมุ่งหวังที่จะเสริมศักยภาพของผู้ใช้บริการในปัจจุบัน และสร้างกลุ่มผู้ใช้บริการรายใหม่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการส่งเสริมการประชุมกลุ่มผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอนในเทคนิคด้านต่าง ๆ เพื่อร่วมในการเสนอทิศทางการพัฒนา “เครื่องกำเนิดแสงสยาม” ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้สูงสุด สามารถตอบโจทย์ของการพัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริง และมุ่งเน้นให้เกิดความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอนของไทย
ด้านการพัฒนากำลังคนและสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับแสงซินโครตรอน โดยให้การสนับสนุนทุนระดับบัณฑิตศึกษาที่เกี่ยวกับแสงซินโครตรอนในทุกปี เพื่อสร้างกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ในอนาคต สถาบันฯ ได้จัดกิจกรรมค่ายซินโครตรอนอาเซียน โครงการอบรมครูฟิสิกส์ไทย โครงการคัดเลือกนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าสัมผัสงานวิจัยขั้นแนวหน้าในประเทศ ชั้นนำ ทั้งยังเปิดให้นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการแสงสยามอย่างใกล้ชิด
ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ สถาบันฯ ทำบันทึกความร่วมมือกับห้องปฏิบัติการแสงซินโครตรอนชั้นนำ ในต่างประเทศ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการแสงซินโครตรอน และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนของนักวิจัยในภูมิภาคอาเซียน
วิสัยทัศน์
“องค์กรแห่งความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนเพื่อสนับสนุนประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน”
พันธกิจ
1. วิจัยเกี่ยวกับแสงซินโครตรอน และการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน
2. ให้บริการแสงซินโครตรอน และเทคโนโลยีด้านแสงซินโครตรอน
3. ส่งเสริมการถ่ายทอดและการเรียนรู้เทคโนโลยีด้านแสงซินโครตรอน
อำนาจและหน้าที่
เพื่อให้การดำเนินของสถาบันบรรลุวัตถุประสงค์ สถาบันมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่างๆ
2. ก่อตั้งสิทธิ หรือทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน
3. ทำความตกลงและร่วมมือกับองค์การหรือหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศในกิจการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน
4. จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน
5. เข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสถาบัน
6. กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน
7. เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินกิจการ
8. ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบัน หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
** การเข้าร่วมทุนตามข้อ 5 หรือการกู้ยืมเงินตามข้อ 6 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด **
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านซินโครตรอนเพื่อให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2: การมีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนเครื่องที่ 2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสู่ระดับสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 3: พัฒนาบุคลากรและองค์กรเพื่อรองรับการเติบโตด้านการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สร้างงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตประชาชนร่วมกับเครือข่าย
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : นำเทคโนโลยีซินโครตรอนสู่การสร้างคุณค่าต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม