การวิเคราะห์ข้อมูล SAXS
การวิเคราะห์ข้อมูล SAXS เริ่มต้นด้วยการจัดการข้อมูลที่ได้จากการวัด ซึ่งเป็นภาพแผนผังการกระเจิง การวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้นจึงเกี่ยวข้องกับการทำ image processing ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นกราฟของการกระเจิงที่เรียกว่า scattering profile จากนั้นจึงเป็นการวิเคราะห์ scattering profile เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ
โปรแกรมสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล SAXS มีอยู่หลากหลายโปรแกรม ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยห้องปฏิบัติการแสงซินโครตรอนทั่วโลก และสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี เช่น
FIT2D สำหรับการทำ image processing ของ SAXS pattern พัฒนาโดย European Synchrotron Radiation Facility (ESRF) ประเทศฝรั่งเศส
ATSAS สำหรับการวิเคราะห์ radius of gyration และการทำ fitting รูปร่างของโมเลกุลจากข้อมูล solution SAXS พัฒนาโดย European Molecular Biology Laboratory (EMBL) ประเทศเยอรมัน
FibreFix สำหรับการทำ image processing และวิเคราะห์ข้อมูล fiber diffraction และ solution SAXS พัฒนาโดย Collaborative Computational Project for Fibre Diffraction and Solution Scattering (CCP13) ของ Diamond Light Source ประเทศอังกฤษ
SAXSIT เป็นโปรแกรมสำหรับการจัดการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล SAXS ที่ BL1.3W ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมงาน Small Angle X-ray Scattering ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน
เทคนิค Small Angle X-ray Scattering (SAXS) เป็นเทคนิคสำหรับการศึกษาขนาดและโครงสร้างที่อยู่ระดับนาโนเมตร เช่น การศึกษาขนาดและรูปร่างของอนุภาคนาโน...
เทคนิค Small Angle X-ray Scattering หรือเรียกย่อๆ ว่า SAXS คือเทคนิคทีวัดการกระเจิงของรังสีเอกซ์ที่มุมเล็กๆ เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างของสสารที่อยู่ในระดับนาโนเมตร...
ผลการวัดด้วยเทคนิค SAXS นั้นบรรจุข้อมูลโครงสร้างของสารตัวอย่าง ที่สำคัญคือ 1. SAXS บอกขนาดและรูปร่างของอนุภาค เนื่องจากลักษณะการกระเจิงของรังสีเอกซ์นั้นขึ้นกับรูปร่าง และขนาดของวัตถุที่กระเจิง ลักษณะการกระเจิงจึงสามารถใช้บอกขนาดและรูปร่างของอนุภาคได้...
การวิเคราะห์ข้อมูล SAXS การวิเคราะห์ข้อมูล SAXS เริ่มต้นด้วยการจัดการข้อมูลที่ได้จากการวัด ซึ่งเป็นภาพแผนผังการกระเจิง การวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้นจึงเกี่ยวข้องกับการทำ image processing...
SAXSIT เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการข้อมูล SAXS ถูกเขียนบน Matlab และ compile เป็น executable ซึ่งสามารถ run...
ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ SAXS รวมถึง Diffraction บางส่วนซึ่งมีทั้งโปรแกรม หนังสือและเอกสาร tutorial ที่อาจมีประโยชน์ หนังสือ Small...
![]() |
สอบถามข้อมูลทั่วไป : siampl@slri.or.th | งานรับส่งหนังสือ : saraban@slri.or.th | หมายเลขโทรศัพท์ : (+66) 044 217 040-1 |
![]() |
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) Synchrotron Light Research Institute (Public Organization) อาคารสิรินธรวิชโชทัย 111 ถ. มหาวิทยาลัย ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 |
หน่วยงานในกำกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation |
![]() |
Copyright © 2017 Synchrotron Light Research Institute. ALL RIGHTS RESERVED. Some Photos by Freepik |
|
แสดงผลได้ดีใน Microsoft Edge, Google Chrome, Firefox, Safari on Apple Device และรองรับการแสดงผลบน Moblie Devices | ![]() |
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพทางด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนเพื่อสนับสนุนประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป |