iycr

 

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และสหภาพสากลแห่งผลึกศาสตร์ (IUCr) ได้ประกาศให้ปu ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) เป็นปีสากลแห่งผลึกศาสตร์ (International Year of Crystallography) เพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ 100 ปีในโอกาสที่ Max von Laue ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี ค.ศ. 1914 จากการค้นพบว่า รังสีเอกซ์เลี้ยวเบนผ่านผลึกของสาร เกิดเป็นลวดลาย (Diffraction pattern) รวมไปถึงการค้นพบกฎของแบรกก์ โดย Sir William Henry Bragg และ Sir William Lawrence Bragg ในปี ค.ศ. 1913 ซึ่งมีความสำคัญมากต่อวงการผลึกศาสตร์ จนทำให้พ่อลูกตระกูลแบรกก์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1915

 

iycr th1

 ที่มา: สมชาย ตันชรากรณ์. 2557. ย้อนรอยหนึ่งศตวรรษแห่งผลึกศาสตร์. ซินโครตรอนแมกาซีน 15(1-2): 10-11.

 

จากการค้นพบหลักการพื้นฐานที่สำคัญทางผลึกศาสตร์ ทำให้มีการศึกษา วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับผลึกศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ในเวลาต่อมา อาทิเช่น การหาโครงสร้างผลึกของเพชร กราไฟท์ เพนนิซิลิน วิตามินบี 12 รวมทั้งการหาโครงสร้างของโปรตีน ดีเอนเอ และไรโบโซม เป็นต้น

จะเห็นว่า หนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา มีพัฒนาการเกี่ยวข้องกับผลึกศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ เช่น เมื่อทราบโครงสร้างสามมิติของโปรตีนเป้าหมายในเชื้อโรค รวมทั้งกลไกการเกิดโรค ก็จะสามารถออกแบบตัวยาใหม่ๆ ในการยับยั้งเชื้อโรคนั้นได้ ช่วยแก้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อโรค และทำให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลมากขึ้น

การศึกษาหาโครงสร้างสามมิติของโปรตีนดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ ย่อมต้องมีเครื่องมือในการศึกษาวิจัยรองรับ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จึงมีการพัฒนาระบบลำเลียงแสงและสถานีทดลองที่พร้อมให้บริการเทคนิค Macromolecular Crystallography (BL 7.2 W: MX) เพื่อใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนย่านรังสีเอกซ์พลังงานสูง สำหรับการศึกษาโครงสร้างสามมิติของโปรตีนและโมเลกุลอื่นที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งได้ดำเนินการทดสอบการใช้งาน BL7.2W: MX ในเบื้องต้น แล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2557 ถือได้ว่า การเปิดให้บริการได้ของ BL7.2W: MX เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของสถาบันฯ และเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมเฉลิมฉลองปีสากลแห่งผลึกศาสตร์

 

เขียนโดย ดร.ณัฐธวัล ประมาณพล

09/01/2015

 

 

 

 

Menu BL7.2W: MX

ระบบลำเลียงแสงที่ 7.2W: MX

         ระบบลำเลียงแสง 7.2 Macromolecular Crystallography...

ปีสากลแห่งผลึกศาสตร์ 2014

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และสหภาพสากลแห่งผลึกศาสตร์ (IUCr) ไ...

การประยุกต์ใช้ MX

โครงสร้างสามมิติของเอนไซม์เบนโซฟีโนนซินเทสจากเปลือกมังคุด

          สารประกอบแซนโทน เป็นสารกลุ่มฟีนอล ซึ่งมีรายงานวิจัยว่าอนุพันธ์ของ...

โครงสร้างสามมิติของเอนไซม์อัลโดคีโตรีดักเดสในข้าวขาวดอกมะลิ 105

          ข้าวหอมมะลิ เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอ...

โครงสร้างสามมิติของเอนไซม์แอสปาร์ทิลทีอาร์เอ็นเอซินทิเทสจากแบคทีเรีย Helicobacter pylori

          โปรตีนเป็นเป็นสารชีวโมเลกุลซึ่งมีความสำคัญในเ...

การศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สกัดจากเห็ดรับประทานได้

เล็กตินเป็นสารโปรตีนหรือไกลโคโปรตีนที่มีความจำเพาะคล้ายแอนติบอดีที่ทำให้เกิดการจับกลุ่มของเซลล์แต่ไ...

การศึกษาโครงสร้างและคุณสมบัติการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์แมนแนนเนส

แมนแนนเนสเป็นเอนไซม์ในกลุ่มไกลโคซิลไฮโดรเลส (GH26) ซึ่งมีคุณสมบัติในการเร่งปฏิกริยาการย่อยน้ำตาลสาย...

kmslrikmslri2


11
bl1 1
bl1 2
bl1 3
bl2 2 2
bl3 2
bl4 1
b5 1W 3
b5 2 2
b5 3 3
b6
bl7 2
bl8


p1
p2
p3
p4
p5
p6
p7

 


stap
training

3g