เล็กตินเป็นสารโปรตีนหรือไกลโคโปรตีนที่มีความจำเพาะคล้ายแอนติบอดีที่ทำให้เกิดการจับกลุ่มของเซลล์แต่ได้จากแหล่งผลิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ปัจจุบันมีการนำสารเล็กตินมาใช้ประโยชน์ทั้งทางเภสัชวิทยาวิทยาภูมิคุ้มกัน การแพทย์และการเกษตร ซึ่งเล็กตินโดยส่วนใหญ่ได้จากพืช เห็ดมีแนวโน้มสูงในการใช้เป็นแหล่งผลิตเล็กติน คณะผู้วิจัยได้ศึกษาเล็กตินซึ่งสกัดได้จากเห็ดรับประทานได้ที่เพาะเลี้ยงได้โดยทั่วไป 2 ชนิด คือ เห็ดแครง (Schizophyllum commune) และเห็ดฟาง (Volvariella volvacea)
รูป1 Fruiting body ของเห็ดแครง (1ก 1ข และ 1ค) และ เห็ดฟาง (1ง และ 1จ) | รูป 2 โครงสร้างสามมิติของสารเล็กตินจากเห็ด Marasmius oreades | รูป 3 การจับกลุ่มของสารสกัดหยาบเล็กตินจากเห็ดแครง และเห็ดฟาง กับเซลล์เม็ดเลือดแดงของกระต่าย |
พบว่าสารสกัดจาก Schizophyllum communeML078 มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของรา Aspergillus niger ATCC 6275และมีผลต้านทานเซลล์มะเร็งเยื่อบุช่องปากของคนที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลองได้ดี ส่วนสารสกัดเล็กตินจาก Volvariella volvaceaMC131 มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ทดสอบ ได้แก่ Bacillus subtilis ATCC 6633 Staphylococcus aureus ATCC 29213 และ Escherichai coli ATCC 25922 อีกทั้งยังพบว่าสารเล็กตินจากเห็ดฟางแสดงความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเยื่อบุช่องปากและเซลล์มะเร็งปากมดลูกของคนที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลองอีกด้วย
คณะผู้วิจัยได้นำสารเล็กตินจากเห็ดแครงและเห็ดฟางมาเตรียมผลึกโปรตีนและทดสอบการหักเหรังสีเอกซ์ เพื่อนำไปสู่การศึกษาโครงสร้างของเล็กตินด้วยเทคนิคโครงสร้างสามมิติอาศัยการหักเหรังสีเอ็กซ์ของผลึกสารประกอบขนาดใหญ่ โดยเครื่องมือที่ได้ติดตั้ง ณ Macromolecule Crystallography (MX) endstation ซึ่งงานวิจัยนี้จะนำไปสู่การพัฒนาสารสกัดเล็กตินจากเห็ดรับประทานได้เพื่อประโยชน์ทางอาหารและการแพทย์
รูป 4 ผลึกโปรตีนเล็กตินของเห็ดแครง (4ก และ 4ข) และเห็ดฟาง (4ค 4ง 4จ และ 4ฉ) และแบบแผนการหักเหรังสีเอกซ์ที่ระดับความแยกแยะ 3 อังสตรอมของเห็ดฟาง (4ช)
คณะผู้วิจัย
นฤมล โม้ทองและดร. ชมภูนุช ส่งสิริฤทธิกุล (สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน)
ดร. ผ่องพรรณ ศิริพงษ์ (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ)
ดร. สิทธิรักษ์ รอยตระกูล (สถาบันจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ)
ผศ. ดร. สุรีลักษณ์ รอดทอง (สาขาวิชาจุลชีววิทยา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)
เอกสารอ้างอิง
1) Mothong,N., Songsiriritthigul, C., & Rodtong, S. (2010). Crystallization of a monomeric lectin from straw mushroom for structural analysis. TSB 2010 International Conference on Biotechnology for Health Living, Prince of Songkla University, Trang Campus, Thailand, 20th-22nd October, 2010.
2) Mothong,N., Songsiriritthigul, C., Roytrakul,S., Siripong, P. & Rodtong, S. (2010). Biological activity of straw mushroom lectin. National Science and Technology Fair 2010, Bangkok International Trade & Exhibition Centre (BITEC), Bangkok, Thailand, 7th-22nd August, 2010.
3) Mothong,N., Songsiriritthigul, C., & Rodtong,S. (2010). Crystallization and x-ray diffraction studies of a low molecular weight-monomeric lectin from straw mushroom. The 5th Annual Symposium of Protein Society of Thailand “Protein Research: From Basic Approaches to Modern Technologies”; Bangkok, Thailand, 23rd-25th June, 2010.
4) Mothong, N., Songsiriritthigul, C., & Rodthong, S. Variation in lectin accumulation of straw mushroom fruit bodies collected from different locations. 2nd SUT Graduate Conference, Nakhon Ratchasima, Thailand, 21st January, 2009.
5) Mothong, N., Songsiriritthigul, C., & Rodthong, S. Purification and characterization of lectin from straw mushroom. The third annual meeting of Thai mycological association (TMA) and mycology conference in Thailand, Khonkaen, Thailand, 11th October, 2008.