การศึกษาลูกปัดไทยโบราณอายุ 1300-2000 ปี

ลูกปัดแก้วโบราณสีแดงที่มีอายุประมาณ 1300-2000 ปี เป็นมรดกโลกที่สำคัญ ซึ่งถูกค้นพบในบริเวณชายฝั่งตะวันตก ทางตอนใต้ของประเทศไทย ในจังหวัดกระบี่จังหวัดพังงาและระนอง


                   alt        alt

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาธาตุทองแดง (Copper) ในลูกปัดแก้ว ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดสีแดงในลูกปัด ด้วยแสงซินโครตรอนย่านพลังงานรังสีเอ็กซ์และเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์ (X-ray Absorption Spectroscopy)  พบว่า ธาตุทองแดงส่วนหนึ่งเป็นอะตอมของโลหะที่อยู่รวมกันเป็นผลึก มีขนาดในระดับนาโน และอีกส่วนหนึ่งเป็นอะตอมที่มีประจุบวกหนึ่งกระจายตัวอยู่ในเนื้อแก้ว นอกจากนี้ยังพบว่าโครงสร้างอะตอมและสถานะทางเคมีของธาตุทองแดงในลูกปัดแก้วโบราณของประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกันมากกับลูกปัดแก้วโบราณของประเทศอิตาลีที่มีอายุประมาณ 600-700 ปี


งานวิจัยนี้นับเป็นงานวิจัยแรกที่นำแสงซินโครตรอนมาใช้วิเคราะห์ตัวอย่างโบราณคดีที่ค้นพบในประเทศไทย   ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการทำลูกปัดแก้วในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนและทางตอนใต้ของประเทศไทย และเป็นข้อพิสูจน์หนึ่งที่แสดงถึงการถ่ายทอดอารยธรรมจากการติดต่อค้าขายไปมาทางทะเลระหว่างดินแดนในสองทวีปที่มีมาช้านาน


ผลงานวิจัยของ วันทนา คล้ายสุบรรณ์ (1), พิศุทธิ์ ดารารัตน์(2-3), ญาติมา ทองคำ(4), สรพงษ์ พงษ์กระพันธุ์ (2),กฤษณ์ วันอินทร์ (2)   
(1) สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) (2) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(3) กองทัพบก (4) มหาวิทยาลัยศิลปากร
* R. Arletti, S. Quartieri, G. Vezzalini, et al., J. Non-crystalline Solids 354 (2008),4962-4969
 

Menu BL7.2W: MX

ระบบลำเลียงแสงที่ 7.2W: MX

         ระบบลำเลียงแสง 7.2 Macromolecular Crystallography...

ปีสากลแห่งผลึกศาสตร์ 2014

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และสหภาพสากลแห่งผลึกศาสตร์ (IUCr) ไ...

การประยุกต์ใช้ MX

โครงสร้างสามมิติของเอนไซม์เบนโซฟีโนนซินเทสจากเปลือกมังคุด

          สารประกอบแซนโทน เป็นสารกลุ่มฟีนอล ซึ่งมีรายงานวิจัยว่าอนุพันธ์ของ...

โครงสร้างสามมิติของเอนไซม์อัลโดคีโตรีดักเดสในข้าวขาวดอกมะลิ 105

          ข้าวหอมมะลิ เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอ...

โครงสร้างสามมิติของเอนไซม์แอสปาร์ทิลทีอาร์เอ็นเอซินทิเทสจากแบคทีเรีย Helicobacter pylori

          โปรตีนเป็นเป็นสารชีวโมเลกุลซึ่งมีความสำคัญในเ...

การศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สกัดจากเห็ดรับประทานได้

เล็กตินเป็นสารโปรตีนหรือไกลโคโปรตีนที่มีความจำเพาะคล้ายแอนติบอดีที่ทำให้เกิดการจับกลุ่มของเซลล์แต่ไ...

การศึกษาโครงสร้างและคุณสมบัติการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์แมนแนนเนส

แมนแนนเนสเป็นเอนไซม์ในกลุ่มไกลโคซิลไฮโดรเลส (GH26) ซึ่งมีคุณสมบัติในการเร่งปฏิกริยาการย่อยน้ำตาลสาย...

kmslrikmslri2


11
bl1 1
bl1 2
bl1 3
bl2 2 2
bl3 2
bl4 1
b5 1W 3
b5 2 2
b5 3 3
b6
bl7 2
bl8


p1
p2
p3
p4
p5
p6
p7

 


stap
training

3g