โรคนิ่วไตเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากทั่วโลก และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ ชนิดของนิ่วมีด้วยกันหลายชนิด ขึ้นกับองค์ประกอบส่วนใหญ่ในก้อนนิ่ว เช่น แคลเซี่ยมออกซาเลต แคลเซียมฟอสเฟต ยูเรต แมกนีเซี่ยมแอมโมเนี่ยมฟอสเฟต เป็นต้น
ก้อนนิ่วในไตชนิดต่างๆ
งานวิจัยนี้ใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์ในการวิเคราะห์ ธาตุกำมะถัน (S) (รูปซ้ายล่าง) และแคลเซียม (Ca) (รูปขวาล่าง) ซึ่งเป็นสารประกอบที่สามารถพบได้จากก้อนนิ่วในไต ผลการทดลองนี้สรุปได้ว่า เทคนิคนี้สามารถนำมาใช้ตรวจสอบชนิดของสารประกอบของธาตุกำมะถันและแคลเซียมจากตัวอย่างได้ และดีกว่าการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XRD เนื่องจากปริมาณของตัวอย่างที่ใช้ในเทคนิค XAS ใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XRD และเป็นเทคนิคที่มีความถูกต้องแม่นยำสูงกว่า อีกทั้งสามารถนำมาใช้ตรวจหาชนิดของสารประกอบที่ปะปนอยู่ในตัวอย่างที่เป็นสารผสมหลายชนิดที่อยู่ในรูปของแข็งที่เป็นผลึกและ amorphous ได้
ผลงานวิจัยของ จารุวรรณ ศิริเทพทวี(1)วันวิสา พัฒนศิริวิศว(2)
(1) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(2)สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และสหภาพสากลแห่งผลึกศาสตร์ (IUCr) ไ...
สารประกอบแซนโทน เป็นสารกลุ่มฟีนอล ซึ่งมีรายงานวิจัยว่าอนุพันธ์ของ...
ข้าวหอมมะลิ เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอ...
โปรตีนเป็นเป็นสารชีวโมเลกุลซึ่งมีความสำคัญในเ...
เล็กตินเป็นสารโปรตีนหรือไกลโคโปรตีนที่มีความจำเพาะคล้ายแอนติบอดีที่ทำให้เกิดการจับกลุ่มของเซลล์แต่ไ...
แมนแนนเนสเป็นเอนไซม์ในกลุ่มไกลโคซิลไฮโดรเลส (GH26) ซึ่งมีคุณสมบัติในการเร่งปฏิกริยาการย่อยน้ำตาลสาย...
![]() |
สอบถามข้อมูลทั่วไป : siampl@slri.or.th | งานรับส่งหนังสือ : saraban@slri.or.th | หมายเลขโทรศัพท์ : (+66) 044 217 040-1 |
![]() |
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) Synchrotron Light Research Institute (Public Organization) อาคารสิรินธรวิชโชทัย 111 ถ. มหาวิทยาลัย ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 |
หน่วยงานในกำกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation |
![]() |
Copyright © 2017 Synchrotron Light Research Institute. ALL RIGHTS RESERVED. Some Photos by Freepik |
|
แสดงผลได้ดีใน Microsoft Edge, Google Chrome, Firefox, Safari on Apple Device และรองรับการแสดงผลบน Moblie Devices | ![]() |
เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพทางด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนเพื่อสนับสนุนประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป |