bl3.2b

ระบบลำเลียงแสง 3.2Ub เปิดใช้งานเมื่อต้นปี พ.ศ. 2554 ให้บริการแสงซินโครตรอนในย่านรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) และรังสีเอกซ์พลังงานต่ำ (soft x-ray) เพื่อใช้ในการถ่ายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบโฟโตอิมิสชั่น - Photoemission Electron Microscopy (PEEM) ซึ่งเป็นเทคนิควิเคราะห์พื้นผิวขั้นสูง ที่นำโฟโต้อิเล็กตรอนที่หลุดจากตัวอย่าง มาเร่งให้เคลื่อนที่ผ่านเลนส์และโฟกัสบนฉากเรื่องแสง และได้ภาพพื้นผิวของตัวอย่างออกมา คอนทราสท์ (contrast) บนภาพที่ได้เกิดจากความแตกต่างของโฟโต้อิเล็กตรอนที่หลุดจากตัวอย่างเพราะ 1) ลักษณะรูปทรงบนพื้นผิว และ 2) ปริมาณการดูดกลืนแสงบนแต่ละบริเวณของพืนผิวแตกต่างกัน จึงสามารถศึกษาชนิดและสถานะทางเคมีของธาตุองค์ประกอบ รวมถึงลักษณะโครงสร้างทางกายภาพรอบอะตอมของธาตุที่สนใจ บนบริเวณนั้นของภาพได้ โดยวิเคราะห์คอนทราสท์ที่เปลี่ยนแปลงตามค่าพลังงานโฟตอนที่ฉายบนตัวอย่าง คล้ายกับ เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์

กล้องจุลทรรศ์ที่ใช่บันทึกภาพคือ Spectroscopic Photoemission and Low Energy Electron Microscope (SPELEEM หรือ LEEM-III equipped with an imaging energy analyzer) ของบริษัท Elmitec GmbH ซึ่งใช้สำหรับศึกษาพื้นผิวของตัวอย่างซึ่งมีพื้นผิวที่เรียบนำไฟฟ้า หรือ ตัวอย่างขนาดเล็กซึ่งบนพื้นพื้นผิวที่เรียบนำไฟฟ้าตัวอย่าง ด้วยเทคนิค Photoemission Electron Microscopy (PEEM) และ Low Energy Electron Microscopy (LEEM)

ข้อมูลทางเทคนิค

Radiation Source:   Plana Halbach-type undulator U60, 41 periods
 0.5467 Tesla at gap 26.5mm
Monochromator:   Varied Line Spacing Plane Grating Monochromator (VLS-PGM)
Photon Energy:   40-160eV and 220-1040eV
     Beam size at samle positon:   800 μm x 100 μm (HxV)
Resolving Power:   ΔE/E =10-5 at 1x1010 ph/s
End Station:   Spectroscopic Photoemission and Low Energy Electron Microscope (SPELEEM)  
 Manufactured by Elmitec GmbH
Imaging Modes:   1. Real space imaging e.g. X-PEEM, UV-PEEM, MEM and bright/dark field LEEM     
 2. Reciprocal space imaging e.g. PEEAD, PED, LEEM and μ-LEEM
 3. Energy dispersion e.g. XPS, EELS
Field of View:   2-100 μm (for real space imaging)
Pressure Condition:   UHV (ultra-high vacuum) < 10-9 mbar
Temperature Variation:   From room temperature upto 1600°C

เจ้าหน้าที่ประจำ

  1. ดร.ชนรรค์ เอื้อรักสกุล - นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง
  2. น.ส.ทิพย์อุษา วงศ์พินิจ - นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการ

ติดต่อสอบถาม: ดร.ชนรรค์ เอื้อรักสกุล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

kmslrikmslri2


11
bl1 1
bl1 2
bl1 3
bl2 2 2
bl3 2
bl4 1
b5 1W 3
b5 2 2
b5 3 3
b6
bl7 2
bl8


p1
p2
p3
p4
p5
p6
p7

 


stap
training

3g