รายละเอียด
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2562
สถานีทดลองย่อย XPS
เปิดให้บริการหลักสำหรับเทคนิค XPS และ XAS สถานีทดลองนี้ประกอบไปด้วย
Electron energy analyser แบบ angle-integral (Thermo VG Scientific, CLAM2)
Ar+ sputtering gun (3 keV) สำหรับเทคนิคสปัตเตอริ่งด้วยไอออนของแก๊สซอาร์กอน
Total Electron yield สำหรับเทคนิค XAS
Fluorescence detector สำหรับเทคนิค XAS
Electron flooding gun สำหรับเทคนิค XPS (ลดการเกิด charging effect ในการทดลอง)
Residual Gas Analyser (RGA) สำหรับการวิเคราะห์แก๊สในระบบสุญญากาศ
ระบบนำเข้าแก๊สสู่สุญญากาศเพื่อการทดลอง He, Ar, N2 และ O2
ระบบสุญญากาศสำหรับการทดลองที่ระดับความดัน 10-9 ถึง 10-10 mbar
ระบบนำส่งตัวอย่างและปรับระดับสุญญากาศ (load-lock system) ทำงานระหว่างความดันบรรยากาศ - 10-7 mbar
sample holder และการเตรียมสารตัวอย่างสำหรับสถานีทดลอง :
ลักษณะตัวอย่าง : ของแข็งหรือผง
ขนาดตัวอย่าง : 5 mm × 5 mm
การเตรียมชิ้นงาน : สารตัวอย่างที่มีลักษณะเป็นของแข็งติดลงบนแผ่นสเตนเลสขนาด กว้าง 28 mm × ยาว 94 mm × หนา 2 mm ด้วยเทปคาร์บอน (carbon tape) หากสารตัวอย่างมีลักษณะเป็นผงต้องทำการอัดเม็ดก่อนติดลงบนแผ่นสเตนเลส
ข้อควรระวัง : สารตัวอย่างที่มีความชื้นสูง หรือมี outgassing rate สูงไม่เหมาะสมกับระบบสุญญากาศไม่สามารถนำมาทำการทดลองได้
ภาพแสดงการเตรียมตัวอย่างผงลงบน sample holder สำหรับสถานีทดลอง XPS
สถานีทดลองย่อย ARPES
เปิดให้บริการเทคนิค XPS และ ARPES (เฉพาะตัวอย่างประเภทฟิล์มบาง) โดยสถานีทดลองยังเชื่อมต่อกับระบบปลูกระบบเตรียมฟิล์มบางด้วยเทคนิค Molecular beam epitaxy (MBE) ภายใต้สูญญากาศที่ความดันประมาณ 10-10 mbar สถานีทดลองนี้ประกอบไปด้วย
Electron energy analyser (VG Scienta R4000)
Electron gun (5 keV) สำหรับเทคนิค AES
ระบบทำความเย็นแก่สารตัวอย่างด้วย Cryostat สามารถทำความเย็นได้ต่ำสุด 18 เคลวิน
Ar+ sputtering gun (3 keV) สำหรับเทคนิคสปัตเตอริ่งด้วยไอออนของแก๊สซอาร์กอน
Residual Gas Analyser (RGA)
ระบบนำเข้าแก๊สสู่สุญญากาศเพื่อการทดลอง He, Ar, N2 และ O2
ระบบสุญญากาศสำหรับการทดลองที่ระดับความดัน 10-10 mbar
sample holder และการเตรียมสารตัวอย่างสำหรับสถานีทดลอง :
ลักษณะตัวอย่าง: ฟิล์มบางหรือผลึก
ขนาดตัวอย่าง: กว้าง 5 mm × ยาว 19 mm × หนา 1 mm
การเตรียมชิ้นงาน: สารตัวอย่างที่มีลักษณะเป็นของแข็งติดตั้งบนตัวยึดจับสารตัวอย่าง
ข้อควรระวัง: สารตัวอย่างที่มี outgassing rate สูงไม่เหมาะสมกับระบบสุญญากาศไม่สามารถนำมาทำการทดลองได้
Sample holder สำหรับตัวอย่างที่เป็นผลึก ของสถานีทดลอง ARPES
Sample holder สำหรับตัวอย่างที่เป็นฟิล์มบาง ของสถานีทดลอง ARPES
ระบบปลูกฟิล์มบางด้วยเทคนิค Molecular Beam Epitaxy (MBE)
ประกอบไปด้วย
Effusion cell (HTEZ )
Crusibles : 430-00-002 / Al2O3 10-32 MB: 15 mm (diameter) x 85 mm (depth) 435-00-002 / BeO 10-32: 15 mm (diameter) x 86 mm (depth) 420-00-032 / PG 10-32: 15 mm (diameter) x 85 mm (depth) Optimum flaked sample: < 5 mm in dimension Maximum operating temperature 1900 deg. C depending on crucible and evaporant
Mini e-beam evaporator (Oxford Applied Research: Model EGCO4 )
Rod: 2 mm (diameter) x 23.5 mm (length) 4-channel source Maximum operating temperature > 3000 deg. C (200 W)
LEED
Low temperature effusion cell (MBE-Komponenten GmbH) สำหรับสาร organic
Crucible: Quartz 10 ccm Operating temperature : 350 - 700 deg. C
Electron beam evaporator (Tectra)
คำแนะนำและข้อควรระวังก่อนเข้าใช้บริการ
การเตรียมตัวอย่าง
ตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์จะต้องมีขนาดเหมาะสมกับขนาดของลำแสงที่ตำแหน่งทดลองและขนาดของตัวยึดจับ (ขนาดอย่างน้อย 5 มม. x 5 มม. สำหรับการเทคนิค XPS และ XAS)
ตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ต้องมีความเหมาะสมกับระบบสุญญากาศต่ำกว่า 10-9 mbar
ตัวอย่างมีลักษณะเป็นผงจำเป็นจะต้องมีการอัดเป็นเม็ดก่อนการทดลอง
ตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ต้องมีคุณสมบัตินำไฟฟ้า (conductive) หากตัวอย่างไม่นำไฟฟ้าอาจเกิด charging effect ซึ่งส่งผลต่อการวัด เช่น ไม่สามารถระบุค่าพลังงานยึดเหนี่ยว (binding energy) จากสเปกตรัมได้ ปัญหานี้อาจแก้ไขได้โดยการใช้ electron flooding gun หรือลดความเข้มแสงแต่จะส่งผลต่อสัญญาณและความแม่นยำในการวิเคราะห์
ธาตุที่ต้องการตรวจวัดต้องมีองค์ประกอบอย่างต่ำร้อยละ 5 ของสารตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์การขอเข้าใช้บริการ
ผู้สนใจสามารถขอเข้าใช้บริการได้โดยส่งโครงการมายังส่วนให้บริการผู้ใช้ (http://beamapp.slri.or.th/)
ผู้ขอใช้บริการจะต้องส่งโครงการวิจัยในระยะเวลาที่กำหนด โดยทุกโครงการวิจัยจะถูกพิจารณาและจัดสรรเวลาการทดลองให้ตามเหมาะสมโดยคณะกรรมการจากภายในและนอกสถาบัน
ผู้ขอใช้จะต้องกรอกรายละเอียดข้อมูลในโครงการให้ครบถ้วนเพื่อความปลอดภัยในการเข้าใช้บริการ
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อมายังหัวหน้าส่วนงานระบบลำเลียงแสง (e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ) หรือ ส่วนงานบริการผู้ใช้ (e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ โทร 044-217-040 ต่อ 1603 - 1605)ข้อแนะนำในการเตรียมตัวก่อนการทดลอง
การทดลองเทคนิค XAS ที่สถานีทดลองที่ 3.2Ua: PES ใช้เวลานานกว่าปกติเนื่องจากการทำงานของระบบคัดเลือกพลังงาน
ควรเตรียมสารตัวอย่างด้วยความระมัดระวังจากการปนเปื้อนบนพื้นผิว (surface contamination) เนื่องจากเทคนิค XPS เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ระดับพื้นผิว (surface sensitive)
การนำสารตัวอย่างสู่ระบบสุญญากาศอาจใช้เวลา โดยเฉพาะสารตัวอย่างที่มี outgassing rate สูง ผู้เข้าใช้บริการควรเตรียมเวลาการทดลองล่วงหน้าให้เหมาะสม
ผู้เข้าใช้บริการควรศึกษาข้อมูลเบื่้องต้นเกี่ยวกับสารตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ก่อนการทดลอง เช่น สเปกตรัมมาตรฐานของธาตุในสารตัวอย่าง (ถ้ามี)
ผู้เข้าใช้บริการควรเตรียมสารมาตรฐาน (standard sample) สำหรับการวัดเปรียบเทียบกับสารตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ในการวิเคราะห์ผลการทดลอง
ควรสอบเทียบ (calibrate) ค่าพลังงานของแสงและอุปกรณ์วัดกับสารตัวอย่างมาตรฐาน เช่น ทอง (ทางสถานีทดลองมีให้บริการ) ก่อนการทดลองทุกครั้ง
เทคนิคเพิ่มเติม เช่น depth profile จำเป็นต้องใช้เวลาเพิ่มเติมในการทดลอง ผู้ขอใช้บริการควรคำนึงถึงการขอเวลาการใช้แสงในโครงการให้เหมาะสม
ผู้เข้าใช้จะต้องผ่านการอบรมเรื่องความปลอดภัยก่อนการเข้าใช้บริการ
ผู้เข้าใช้ต้องมีบัตรประจำตัวและเครื่องตรวจวัดรังสี (radiation detector) หากมีข้อสงสัยกรุณาติดต่อส่วนงานความปลอดภัย
ข้อมูลจากการทดลองจะอยู่ในรูปแบบของ ascii หรือ text file
ทางระบบลำเลียงแสงจะจัดเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือระหว่างการทดลอง หากผู้เข้าใช้มีข้อสงสัยหรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมกรุณาติดต่อส่วนงานระบบลำเลียงแสงล่วงหน้าข้อแนะนำหลังการทดลอง
กรุณาส่งแบบฟอร์ม end-of-run report และ รายงานการทดลอง (U60) ทุกครั้งหลังการทดลอง