โรคนิ่วไตเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากทั่วโลก และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ ชนิดของนิ่วมีด้วยกันหลายชนิด ขึ้นกับองค์ประกอบส่วนใหญ่ในก้อนนิ่ว เช่น แคลเซี่ยมออกซาเลต แคลเซียมฟอสเฟต ยูเรต แมกนีเซี่ยมแอมโมเนี่ยมฟอสเฟต เป็นต้น
ก้อนนิ่วในไตชนิดต่างๆ
งานวิจัยนี้ใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์ในการวิเคราะห์ ธาตุกำมะถัน (S) (รูปซ้ายล่าง) และแคลเซียม (Ca) (รูปขวาล่าง) ซึ่งเป็นสารประกอบที่สามารถพบได้จากก้อนนิ่วในไต ผลการทดลองนี้สรุปได้ว่า เทคนิคนี้สามารถนำมาใช้ตรวจสอบชนิดของสารประกอบของธาตุกำมะถันและแคลเซียมจากตัวอย่างได้ และดีกว่าการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XRD เนื่องจากปริมาณของตัวอย่างที่ใช้ในเทคนิค XAS ใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XRD และเป็นเทคนิคที่มีความถูกต้องแม่นยำสูงกว่า อีกทั้งสามารถนำมาใช้ตรวจหาชนิดของสารประกอบที่ปะปนอยู่ในตัวอย่างที่เป็นสารผสมหลายชนิดที่อยู่ในรูปของแข็งที่เป็นผลึกและ amorphous ได้
ผลงานวิจัยของ จารุวรรณ ศิริเทพทวี(1)วันวิสา พัฒนศิริวิศว(2)
(1) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(2)สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)