สาขา |
การประยุกตใช้สถานีทดลองที่ SLRI |
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
|
ศึกษา สถานะออกซิเดชันและโครงสร้างในระดับอะตอมของธาตุจากตารางธาตุได้มากกว่า 57 ธาตุ ประยุกต์ใช้ในงานวิจัยพื้นฐานทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยาได้อย่างกว้างขวาง |
สิ่งแวดล้อม |
1.วิเคราะห์ธาตุได้ทั้งในตัวอย่างดินและน้ำ เช่น ธาตุฟอสฟอรัสในดิน กำมะถันในน้ำเสีย เพื่อช่วยในกระบวนการจัดการดินและน้ำ รวมถึงการบำบัดของเสีย 2.วิเคราะห์สถานะเคมีของธาตุโลหะที่ตกค้าง(มีปริมาณน้อย)ในสิ่งแวดล้อม เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท 3.วิเคราะห์ธาตุโลหะตกค้างในบรรยายากาศในรูปของฝุ่นละอองหรือ smog ได้ |
บรรพชีวินวิทยา |
วิเคราะห์องค์ประกอบและโครงสร้างธาตุบางชนิดในฟอสซิล หิน ดิน หรือตัวอย่างที่มีความสำคัญทางด้านธรณีวิทยา |
การเกษตร |
1.ศึกษาตัวอย่างดินและน้ำที่มีผลจำเพาะต่อการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ 2.ศึกษาและพัฒนาการเปลี่ยนแปลงสภาพดินจากแหล่งเสื่อมโทรมไปเป็นแหล่งเพาะปลูก เช่น การศึกษารูปแบบและโครงสร้างของฟอสฟอรัสที่พืชสามารถนำไปใช้ได้เปรียบเทียบกันสองแหล่ง การตรวจวัดธาตุหรือสารพิษที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของพืช เป็นต้น 3.พัฒนาคุณภาพปุ๋ยและอาหารเสริมสำหรับพืช การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างปุ๋ยที่พืชนำไปใช้ได้ง่าย |
การแพทย์ |
1.วิเคราะห์ สารเคมีบางชนิดในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหรืออาการผิดปกติ, สารประกอบบางชนิดที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้ของการเกิดโรค เช่น สารหนู ตะกั่ว แคดเมียม 2.วิเคราะห์สารประกอบบางชนิดที่ใช้รักษาโรคหรือเป็นอาหารเสริม โดยต้องมีธาตุองค์ประกอบที่ตรวจวัดได้ เช่น วิตามิน เกลือแร่ อาหารเสริมธาตุเหล็ก สังกะสี |
โบราณคดี |
1. วิเคราะห์ธาตุให้สีในแก้วโบราณ 2. วิเคราะห์องค์ประกอบสำริดโบราณ 3. วิเคราะห์องค์ประกอบในเครื่องเคลือบ กระเบื้อง เครื่องปั้นดินเผาโบราณ 4. จำแนกแยกแยะของโบราณบางชนิดจากของเลียนแบบ 5. ศึกษาและสืบเสาะหาที่มาและแหล่งผลิตทางประวัติศาสตร์ของวัตถุทางโบราณคดี |