ข่าวสำคัญ

S 129155135


“เครื่องสังเคราะห์กราฟีนในระดับอุตสาหกรรม” ผลงานนักวิจัย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) คว้ารางวัล Bronze Award จากการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมและพัฒนาเศรษฐกิจ ภายในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ Thailand Research Expo 2025

...

ข่าววิจัย


Methane 10

 

“มีเทน” เป็นองค์ประกอบหลักของแก๊สธรรมชาติโดยมีสัดส่วนประมาณ 75% แก๊สมีเทนมีคุณสมบัติไวไฟ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาหรือดมกลิ่น จึงต้องใช้อุปกรณ์จำเพาะที่เรียกว่า “แก๊สเซ็นเซอร์” ตรวจสอบการมีอยู่ของแก๊สชนิดนี้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดการรั่วไหล ซึ่งแก๊สเซ็นเซอร์คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบ...

ข่าววิทยาศาสตร์ทั่วไป

อนภาคแมเหลกขนาดจวฆาเซลลมะเรง copy


การรักษาโรคมะเร็งยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับงานวิจัยด้านการแพทย์ การนำอนุภาคนาโนแม่เหล็กมาใช้ประโยชน์เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจ โดยเฉพาะแนวทางในการฆ่าเซ...

ข่าวพัฒนา

FB Cover


ประเทศไทยกำลังจะมีการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนเครื่องใหม่พลังงาน 3 GeV ในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จ.ระยอง เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนดังกล่าวจะเป็นเครื่องที่สองของไทย ที่จะขยายขีดความสามารถในการยกระดับงานวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยในอนาคต ต่อเนื่องจากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนเครื่องปัจจุบันพลังงาน 1.2 GeV ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จังหวัดนครราชสีมา<...

ระบบของไหลจุลภาค (Micro-fluidics)


alt

ปัจจุบันอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ส่วนมากจะถูกย่อขนาดให้เล็กเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์อื่่น สะดวกต่อการพกพา แต่ยังคงไว้ซึ่งความแม่นยำและรวดเร็วในการวิเคราะห์ผล หนึ่งในโครงสร้างที่ถูกใช้งานมากที่สุดในเทคโนโลยีระบบของไหลจุลภาค (microfluidics) คือช่องทางไหลจุลภาค (microchannel) ซึ่งเป็นช่องทางไหลขนาดเล็กสำหรับของเหลวหรือสารละลายประเภทต่างๆ ในระดับไมโครลิตร โดยส่วนมากจะถูกประยุกต์ใช้ร่วมกับห้องปฏิบัติการบนชิพ (Lab on a chip) โดยขนาดของท่อเหล่านี้จะมีขนาดประมาณเส้นผมของคนเราเท่านั้น แสดงตัวอย่างของห้องปฏิบัติบนชิพดังรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่าบนชิพนั้นจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆมากมาย โดยมีช่องทางไหลจุลภาคเป็นส่วนเชื่อมต่อให้ทั่วถึงกัน
 

alt  
รูปที่ 1 ห้องปฏิบัติการบนชิพ (
http://www.niaid.nih.gov)
 

การสร้างช่องทางไหลจุลภาคเพื่อประยุกต์ใช้ในงานวิจัยต่างๆนั้นนิยมใช้วัสดุพอลิเมอร์ที่เรียกว่า PDMS (Polydimethylsiloxane) สำเนาโครงสร้างช่องทางเดินขนาดเล็กมาจากแม่แบบและนำไปประกบติดกับแผ่นซิลิคอนหรือกระจกด้วยการเชื่อมแผ่นผิวด้วยพลาสมาของออกซิเจน ซึ่งจะก่อให้เกิดการเชื่อมติดกันอย่างถาวรและป้องกันสารละลายไหลออกไปจากช่องทางไหลที่ต้องการ สำหรับการสร้างให้หน้าสัมผัสของ PDMS จากเดิมที่อยู่ในสถานะ hydrophobic เปลี่ยนเป็นสถานะ hydrophilic นั้นสามารถทำได้ด้วยการนำชิ้นงานไปพลาสมาด้วยก๊าซออกซิเจน ซึ่งส่งผลให้หยดน้ำที่กลิ้งบนผิว PDMS กระจายตัวออกไปดังรูปที่
 

alt
รูปที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของหยดน้ำบนชั้นฟิล์ม PDMS ที่ถูกหมุนเคลือบบนกระจกก่อนและหลังการทำพลาสมาด้วยก๊าซออกซิเจน
 

สถานะที่เปลี่ยนแปลงไปเป็น hydrophilic ของ PDMS จะก่อให้เกิดการเชื่อมต่อกันอย่างถาวรของของพันธะ Si-O-Si ระหว่างผิวหน้าสัมผัสของ PDMS-กระจก หรือ PDMS-Si หรือ PDMS-PDMS ดังแสดงในรูปที่ 3

alt
รูปที่ 3 โครงสร้างทางเคมีของ PDMS-PDMS ด้วยการพลาสมาด้วยก๊าซออกซิเจน


การสร้างแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปโครงสร้างช่องทางไหลจุลภาค PDMS นั้นนิยมดำเนินการอยู่ 2 วิธีการ ได้แก่ การสร้างเป็นแม่พิมพ์พอลิเมอร์สารไวแสงด้วยแสงอัลตราไวโลเลต (UV lithograpy) และการสร้างแม่แม่พิมพ์พอลิเมอร์สารไวแสงด้วยรังสีเอกซ์จากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน (X-ray lithography)  แสดงกระบวนการสร้างดังรูปที่ 4 โดยเริ่มจาก (1) เคลือบสารไวแสงบนฐานเรีบ (2) นำชิ้นงานไปอาบรังสีเอกซ์จากแสงซินโครตรอน โดยมีหน้ากากดูดซับรังสีทำหน้าที่กำหนดบริเวณที่จะเป็นโครสร้าง (3) ล้างชิ้นงานในสารเคมี จะปรากฏโครงสร้างสารไวแสงขึ้นซึ่งจะถูกใช้เป็นแม่พิมพ์ในการสำเนา PDMS (4) เท PDMS ลงบนแม่พิมพ์ (5) ลอก PDMS ออก และ (7) นำไปประกบกับฐานกระจก/ซิลิคอน ด้วยการเชื่อมต่อด้วยพลาสมาของออกซิเจน
 

alt

รูปที่ 4 กระบวนการสร้างช่องทางไหลจุลภาค PDMS จากการสำเนาจากแม่พิมพ์พอลิเมอร์ไวแสง

แต่อย่างไรก็ตาม แม่พิมพ์ที่ได้จากกระบวนการลิโธกราฟีนั้นจะมีความเปราะบางมากกว่าแม่พิมพ์โลหะที่ใช้ในงานขึ้นรูปวัสดุทั่วไป อีกทั้งเมื่อแม่พิมพ์เสียหาย ผู้สร้างจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการลิโธกราฟีอีกครั้ง ส่งผลให้สูญเสียทั้งทรัพยากรและเวลาในการเตรียมชิ้นงาน เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ผู้ใช้งานอาจจจำเป็นต้องวางแผนการผลิตแม่พิมพ์โลหะเพื่อใช้สำเนาโครงสร้างด้วยวิธีการ LIGA ดังแสดงในรูปที่ 5 โดยเริ่มจาก (1) เคลือบสารไวแสงบนฐานเรียบ (2) อาบรังสีเอกซ์จากแสงซินโครตรอน (หรือแสง UV) เพื่อกำหนดพื้นที่โครงสร้างผ่านหน้ากาก (3) ล้างชิ้นงานในสารละลายเพื่อให้ปรากฏโครงสร้างขึ้น (4) ทำการเติมโลหะลงไปด้วยกระบวนการทางเคมีไฟฟ้า (5) สกัดสารไวแสงทิ้ง เหลือไว้เพียงโลหะนิกเกิลที่จะถูกใช้เป็นแม่พิมพ์โลหะ (ต) เท PDMS ลงไป (10) ลอก PDMS ออกมาและ (11) นำไปประกบกับฐานกระจก/ซิลิคอน ด้วยการเชื่อมต่อด้วยพลาสมาของออกซิเจน
 

alt

 รูปที่ 5 กระบวนการสร้างช่องทางไหลจุลภาค PDMS จากการสำเนาจากแม่พิมพ์โลหะนิกเกิล


 

รูปที่ 6 แสดงโครงสร้างช่องทางไหลจุลภาคนิกเกิลที่ถูกใช้เป็นแม่พิมพ์ในการสำเนาโครงสร้างด้วย PDMS และนำไปประกบติดกับฐานกระจกด้วยพลาสมาของออกซิเจน โดยบนฐานกระจกจะมีวงจรการตรวจจับอนุภาคแขวนลอยไว้ โดยช่องของไหลจุลภาคสามารถดูได้จากภาพ SEM 

 

alt

รูปที่ 6 การสำเนาช่องทางไหลจุลภาคด้วย PDMS จากแม่พิมพ์นิกเกิลเพื่อใช้ในระบบของไหลจุลภาค

รูปที่ 7 แสดงขนาดของอนุภาคทดสอบและภาพการไหลของอนุภาคเมื่อผ่านเข้าไปในช่องทางไหลจุลภาค ซึ่งสามารถดูการทดสอบได้จากไฟล์วีดีโอ

alt

รูปที่ 7 ขนาดของอนุภาคทดสอบและการเคลื่อนที่ของอนุภาคในสารละลายผ่านช่องทางไหลจุลภาค

 

https://www.youtube.com/watch?v=qbEtdo5fInM

ผู้ประดิษฐ์ผลงาน

นส.สาทิตย์ ศรีมุงคุณ
ดร.นิมิต  ชมนาวัง

ข่าวเยี่ยมชม/ข่าวกิจกรรม

LINE ALBUM งานรบฟงความคดเหน 17668 250626 20


สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการเครื่องกำเนิดเครื่องกำเนิดแสงระดับพลังงาน 3 GeV เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2568 ซึ่งกิจกรรมนี้จัดขึ้นร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม คือ บริษัท เอนไวรอนเมนทัล มูฟเม้นท์ จำกัด ณ ห้องประชุม Auditorium อาคาร A สำนักงานใหญ่ EECi ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง โดยมีตัวแทนจากภาคประชาชน หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนโดยรอบพื้นที่โครงการเข้าร่วมกว่า 150 คน

...

BannerAUM2025

  

การประชุมกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน ครั้งที่ 13 ประจำปี 2568
The 13th SLRI Annual User Meeting 2025 (AUM2025)
ในวันที่ 8 – 9 กันยายน พ.ศ. 2568 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

 

ความสำคัญและที่มาของโครงการ   

          สถาบันฯ กำหนดให้มีการประชุมกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนประจำปี (Annual User...