ข่าวสำคัญ

MOPH 1

 


สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกันวิจัยพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย

...

ข่าววิจัย


Methane 10

 

“มีเทน” เป็นองค์ประกอบหลักของแก๊สธรรมชาติโดยมีสัดส่วนประมาณ 75% แก๊สมีเทนมีคุณสมบัติไวไฟ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาหรือดมกลิ่น จึงต้องใช้อุปกรณ์จำเพาะที่เรียกว่า “แก๊สเซ็นเซอร์” ตรวจสอบการมีอยู่ของแก๊สชนิดนี้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดการรั่วไหล ซึ่งแก๊สเซ็นเซอร์คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบ...

ข่าววิทยาศาสตร์ทั่วไป

FB เสนผมมนษยยคโรมน


“เมืองจูลิโอโปลิส” (Juliopolis) เป็นเมืองโบราณ ที่ปัจจุบันอยู่ในเขตนัลลิฮาน ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจากเมืองหลวงอังคารา ประเทศตุรกี และเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ผ่านหลายยุคสมัยตั้งแต...

ข่าวพัฒนา

 

วันพุธที่ 29 พ.ค. 67 ทีมนักฟิสิกส์และวิศวกร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) นำทีม ประกอบแม่เหล็กต้นแบบสำหรับเครื่องเร่งอนุภาคแนววงกลม (Booster Synchrotron) ของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV จำนวน 3 ตัว ได้แก่ 1. แม่เหล็กสี่ขั้วชนิด QD (Defocusing Quadrupole Magnet) 2. แม่เหล็กหกขั้วชนิด SF/SD (Focusing/Defocusing Sextupole Magnet) และ 3. แม่เหล็กสี่ขั้วผสมหกขั้วชนิด QF (Quadrupole-Sextupole Magnet) โดยแม่...

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.) เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยมีพันธกิจเพื่อการวิจัยเกี่ยวกับแสงซินโครตรอนและการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน การให้บริการแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งดำเนินการส่งเสริมการถ่ายทอดและการเรียนรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน มีการให้บริการดังต่อไปนี้

  • บริการแสงซินโครตรอน
    สถาบันฯ มีความพร้อมให้บริการเทคนิคแสงซินโครตรอน 11 ระบบลำเลียงแสง และ 12 สถานีทดลอง ได้แก่ เทคนิคการกระเจิงรังสีเอกซ์ เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ เทคนิคการปลดปล่อยอิเล็กตรอน และเทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ ฯลฯ
  • บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

    สถาบันฯ ให้บริการวิเคราะห์และทดสอบ โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

    1. กลุ่มเครื่องมือวิเคราะห์และทดสอบทางด้านเคมี ชีวภาพ และกายภาพ
    2. กลุ่มเครื่องมือเตรียมตัวอย่าง เช่น เครื่องตัดชิ้นงาน ขัด-กัดผิวตัวอย่าง อัดตัวอย่าง บด/ย่อย เคลือบและฉาบผิวตัวอย่าง ฯลฯ
  • บริการวิจัยตอบโจทย์

    สถาบันฯ ให้บริการวิจัยร่วมกับภาคเอกชน ในลักษณะการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และวิเคราะห์ โดยใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ

  • บริการทางเทคนิคและวิศวกรรม

    สถาบันฯ ให้บริการเทคนิคและวิศวกรรม ได้แก่ การออกแบบ จัดสร้างชิ้นงาน ระบบควบคุมเพื่ออุตสาหกรรม เทคโนโลยีการผลิตระบบสุญญากาศ และการผลิตปั๊มสุญญากาศแบบสปัตเตอร์ไอออน

  • บริการให้คำปรึกษา

    สถาบันฯ ให้คำปรึกษา แนะนำด้านวิชาการ เผยแพร่ และถ่ายทอดเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

 

ข่าวเยี่ยมชม/ข่าวกิจกรรม

 

IMG 7511


สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดอบรมการประยุกต์ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนและแสงสุญญากาศอัลตราไวโอเลต (VUV) สำหรับเทคนิค Angle-resolved Photoemission (ARPES) เพื่อศึกษาตัวอย่างทางด้านสารกึ่งตัวนำและวัสดุ 2 มิติ เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 68 ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 3.2U ให้แก่ผู้สนใจทั้งภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งการอบรมครั้งนี้นำโดย Dr.Hideki Nakajima รักษาการหัวหน้าส่วนศึกษาโครงสร้างพื้นผิว

...

LINE ALBUM organ on a chip 1 เม.ย.68 250410

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “Workshop on Microfabrication Techniques for Organ on-a-Chip Development” ระหว่างวันที่ 31 มี.ค.-1 เม.ย.68 ณ ศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีการแพทย์ทันสมัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ดร.พัฒนพงศ์ จันทร์พวง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเทคนิคและวิศวกรรม พร้อมนักวิจัยจากส่วนพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิทยากรในการอบรม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิค Microfabrication ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างอุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิกส์สำหรับเป็นโมเดลจำลองอวัยวะสำหรับเลี้ยงเซลล์ประสาทและเซลล์กล้ามเนื้อ เพื่อศึกษาการตอบสนองของยา การพัฒนาตัวยาใหม่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามอ่อนแรง

...