ข่าวสำคัญ

MOPH 1

 


สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกันวิจัยพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย

...

ข่าววิจัย


Methane 10

 

“มีเทน” เป็นองค์ประกอบหลักของแก๊สธรรมชาติโดยมีสัดส่วนประมาณ 75% แก๊สมีเทนมีคุณสมบัติไวไฟ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาหรือดมกลิ่น จึงต้องใช้อุปกรณ์จำเพาะที่เรียกว่า “แก๊สเซ็นเซอร์” ตรวจสอบการมีอยู่ของแก๊สชนิดนี้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดการรั่วไหล ซึ่งแก๊สเซ็นเซอร์คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบ...

ข่าววิทยาศาสตร์ทั่วไป

FB เสนผมมนษยยคโรมน


“เมืองจูลิโอโปลิส” (Juliopolis) เป็นเมืองโบราณ ที่ปัจจุบันอยู่ในเขตนัลลิฮาน ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจากเมืองหลวงอังคารา ประเทศตุรกี และเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ผ่านหลายยุคสมัยตั้งแต...

ข่าวพัฒนา

 

วันพุธที่ 29 พ.ค. 67 ทีมนักฟิสิกส์และวิศวกร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) นำทีม ประกอบแม่เหล็กต้นแบบสำหรับเครื่องเร่งอนุภาคแนววงกลม (Booster Synchrotron) ของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV จำนวน 3 ตัว ได้แก่ 1. แม่เหล็กสี่ขั้วชนิด QD (Defocusing Quadrupole Magnet) 2. แม่เหล็กหกขั้วชนิด SF/SD (Focusing/Defocusing Sextupole Magnet) และ 3. แม่เหล็กสี่ขั้วผสมหกขั้วชนิด QF (Quadrupole-Sextupole Magnet) โดยแม่...

scatter  page2 h1

คือ เทคนิคการตรวจสอบคุณสมบัติของสาร โดยอาศัยการกระตุ้นอะตอมด้วยรังสีเอ็กซ์ที่มีความยาวคลื่นเหมาะสม เมื่ออะตอมของสารตัวอย่างถูกกระตุ้น คลื่นพลังงานของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเกิดการแกว่ง และเกิดปฏิกิริยากับสนามพันธะของอิเล็กตรอนภายในอะตอม ส่งผลให้อิเล็กตรอน เหล่านั้นได้รับพลังงานกระตุ้น และเคลื่อนย้ายตำแหน่ง โดยย้ายระดับพลังงานพร้อมๆกับการปลดปล่อยพลังงานในรูปของแสง 

(a) กลไกการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ทำให้อะตอมอยู่ในสถานะกระตุ้น

XRF Auger

(b) กลไกการเกิดการเรืองแสงในย่านรังสีเอกซ์   (c) กระบวนการเกิดการแผ่รังสีออเจอร์

Photoelectric Effect: An x-ray is absorbed by an atom when the energy of the x-ray is transferred to a core-level electron (K,L or M shell) which is ejected from the atom. The atom is left in an excited state with an  empty electronic level (a core hole). Any excess energy from the x-ray is given to the ejected photoelectron.

X-ray Fluorescence: An x-ray with energy = the difference of the core-levels is emitted.                          

Auger Effect: An electron is promoted to the continuum from another core-level. 

        page2 h2

          หลักการของเทคนิค XAS คือ การฉายรังสีเอกซ์บนสารที่ต้องการศึกษาและวัดอัตราส่วนการดูดกลืนรังสีเอกซ์ที่พลังงานต่างๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้บ่งบอกถึงโครงสร้างของสารตัวอย่างในระดับอะตอมได้ ระบบลำเลียงแสงและสถานีทดลองนี้สามารถทำงานได้ในช่วงพลังงานแสงซินโครตรอนย่านรังสีเอกซ์ตั้งแต่ 1,240 – 12,100 อิเล็กตรอนโวลต์ (eV) โดยใช้เครื่องคัดเลือกพลังงานแสงแบบผลึกคู่ (Double Crystal Monochromator หรือ DCM) ระบบลำเลียงแสงที่ 5.2 ถูกออกแบบโดยทีมนักวิจัยและวิศวกรของสถาบันฯโดยอุปกรณ์ส่วนใหญ่จัดสร้างขึ้นเองภายในสถาบันฯซึ่งได้ทำการติดตั้งและทดสอบแล้วเสร็จและได้เริ่มเปิดให้บริการแสงแก่โครงการที่ได้รับการจัดสรรจากหน่วยงานทั้งสามองค์กร (มทส. นาโนเทค สซ) ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2556 โดยโควตาที่เป็นส่วนของสถาบันฯได้จัดสรรให้แก่ผู้ใช้ภายนอกซึ่งสามารถสมัครเข้ามาใช้ได้โดยทั่วไป

BL5 TM mode

รูปที่ 2 แสดงกระบวนการเกิดการดูดกลืนรังสีเอกซ์ เมื่อผ่านการคัดเลือกพลังงาน

      ในการวัดแบบทะลุผ่าน  (รูปที่ 2) เราจะวัดการดูดกลืนรังสีเอกซ์จากความเข้มของรังสีเอกซ์ที่ลดลงหลังจากที่เดินทางผ่านตัวอย่าง ความเข้มของรังสีก่อน (I0) และหลังตัวอย่าง (I) มีความสัมพันธ์ตามสมการ

equation

        โดยที่ตัวแปร µ และ x คือ สัมประสิทธิ์ของการดูดกลืนรังสีเอกซ์และความหนาของตัวอย่าง ตามลำดับ เราใช้สมการนี้ เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนรังสีที่แต่ละพลังงานโฟตอน โดยในการทดลองเราจะปรับค่าพลังงานโฟตอนของรังสีเอกซ์ด้วยเครื่องคัดเลือกพลังงานแสง (x-ray monochromator) เมื่อนำค่า µ(E) มาแสดงเป็นกราฟกับค่าพลังงานโฟตอน E เราจะได้สเปกตรัม XAS ของตัวอย่าง (รูปที่ 3)EXAFS

 รูปที่ 3 สเปกตรัมการดูดกลืนรังสีเอกซ์ในชั้น K (K-edge absroption) ของอะตอมคอปเปอร์ (Cu metal)

ข่าวเยี่ยมชม/ข่าวกิจกรรม

 

IMG 7511


สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดอบรมการประยุกต์ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนและแสงสุญญากาศอัลตราไวโอเลต (VUV) สำหรับเทคนิค Angle-resolved Photoemission (ARPES) เพื่อศึกษาตัวอย่างทางด้านสารกึ่งตัวนำและวัสดุ 2 มิติ เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 68 ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 3.2U ให้แก่ผู้สนใจทั้งภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งการอบรมครั้งนี้นำโดย Dr.Hideki Nakajima รักษาการหัวหน้าส่วนศึกษาโครงสร้างพื้นผิว

...

LINE ALBUM organ on a chip 1 เม.ย.68 250410

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “Workshop on Microfabrication Techniques for Organ on-a-Chip Development” ระหว่างวันที่ 31 มี.ค.-1 เม.ย.68 ณ ศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีการแพทย์ทันสมัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ดร.พัฒนพงศ์ จันทร์พวง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเทคนิคและวิศวกรรม พร้อมนักวิจัยจากส่วนพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิทยากรในการอบรม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิค Microfabrication ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างอุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิกส์สำหรับเป็นโมเดลจำลองอวัยวะสำหรับเลี้ยงเซลล์ประสาทและเซลล์กล้ามเนื้อ เพื่อศึกษาการตอบสนองของยา การพัฒนาตัวยาใหม่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามอ่อนแรง

...