สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มีพันธกิจส่งเสริมการถ่ายทอดและการเรียรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน จึงดำเนินการจัดกิจกรรมอบรม สัมมนา ฝึกอบรมเชิงวิชาการและปฏิบัติการ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา และในปีงบประมาณ 2553 สถาบันฯ ได้ยกระดับการถ่ายทอดเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนสู่เป็นระดับอาเซียนและระดับนานาชาติ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนและเทคนิคที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

             1) การอบรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงวิชาการและปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเทคนิคที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การถ่ายทอดเทคโนโลยีซินโครตรอน (Synchrotron User Promotion Activity: SUPA) การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน (Workshop/ Training on Synchrotron)
             2) ค่ายแสงซินโครตรอน (Synchrotron Science Camp) ประกอบด้วย ค่ายวิทยาศาสตร์ซินโครตรอนอาเซียน (ASEAN Synchrotron Science Camp) และค่ายซินโครตรอนเพื่อครูวิทยาศาสตร์ (Synchrotron Science Camp for Science Teachers)
             3) การจัดประชุมกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน (Annual User Meeting)
             4) การจัดประชุมวิชาการ (Conference)

โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 - 2566 ดังแสดงในรูปที่ 1

 

รูปที่ 1 ข้อมูลสถิติแสดงจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547-2566

 

1. การอบรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงวิชาการและปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเทคนิคที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การถ่ายทอดเทคโนโลยีซินโครตรอน (Synchrotron User Promotion Activity: SUPA) การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน (Workshop/ Training on Synchrotron)

           เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์เทคนิคต่าง ๆ เพื่อสร้างกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนรายใหม่ รวมถึงการอบรมเพื่อให้เข้าใจวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ซึ่งสถาบันฯ จะดำเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าว  เพื่อให้ความรู้แก่นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา สามารถเข้าใช้บริการแสงซินโครตรอนเพื่อการวิจัย พัฒนา สร้างนวัตกรรม นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานวิจัยทางวิชาการในวารสารระดับนานาชาติ ตลอดจนการแนะนำแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยขอใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอนให้กับสถาบันฯ ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าอบรม โดยแบ่งตามรายไตรมาส 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2566 ดังแสดงในรูปที่ 2

 

รูปที่ 2  แสดงข้อมูลสถิติอบรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงวิชาการและปฏิบัติการด้านเทคโนโลยี
แสงซินโครตรอนและเทคนิคที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งตามประเภทการจัดอบรม 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2562 – 2566)

 

           โดยข้อมูลสถิติจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงวิชาการและปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเทคนิคที่เกี่ยวข้อง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าอบรมแบ่งตามกลุ่มประเทศ ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 แสดงข้อมูลสถิติจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงวิชาการและปฏิบัติการด้านเทคโนโลยี
แสงซินโครตรอนและเทคนิคที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งตามกลุ่มประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2566

 

2. ค่ายแสงซินโครตรอน (Synchrotron Science Camp) ประกอบด้วย ค่ายวิทยาศาสตร์ซินโครตรอนอาเซียน (ASEAN Synchrotron Science Camp) และค่ายซินโครตรอนเพื่อครูวิทยาศาสตร์ (Synchrotron Science Camp for Science Teachers) โดยแบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาและนักวิจัยจบใหม่ และกลุ่มครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

              ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2566 ทางสถาบันฯได้ชะลอการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ที่ร่วมกลุ่มคนหมู่มากจากหลายพื้นที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโคโรน่าไวรัส 19 ประกอบกับในปี พ.ศ. 2566 สถาบันฯ ขาดแคลนงบประมาณสำหรับการจัดค่ายวิทยาศาสตร์และค่ายครูในระดับอาเซียน จึงทำให้ไม่มีการจัดกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 นั้น ได้ปรับการจัดอบรมจาก onsite เป็นรูปแบบ Online จึงได้ดำเนินจัดโครงการ High-School Teacher Workshop โดยมีข้อมูลสถิติดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 แสดงข้อมูลสถิติการจัดกิจกรรม High-School Teacher Workshop

 

3. การจัดประชุมกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน (Annual User Meeting)

           สถาบันฯ ได้ดำเนินการจัดการประชุมกลุ่มผู้ใช้แสงซินโครตรอนประจำปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพาอรายงานสถานะปัจจุบันของห้องปฏิบัติการแสงสยาม ความก้าวหน้าในการสร้าง ติดตั้ง และให้บริการของระบบลำเลียงแสงซินโครตรอน และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอน ได้ระดมความคิดเห็นต่อการให้บริการของสถาบันฯ ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2566 สถาบันฯ ได้เปิดโอกาสผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอนได้แสดงความคิดเห็นและความต้องการด้านเทคนิคแสงซินโครตรอนของเครื่องกำหนดแสงเครื่องใหม่ในอนาคตอีกด้วย โดยจำนวนผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอนเข้าร่วมกิจกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2566 ดังแสดงในรูปที่ 5

รูปที่ 5 แสดงข้อมูลสถิติของผู้เข้าร่วมการประชุมผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน (Annual User Meeting)

 

          ทั้งนี้ยังสามารถจำแนกสถานภาพของผู้เข้าร่วมงานประชุมกลุ่มผู้ใช้ประโยชย์แสงซินโครตรอน ประจำปี พ.ศ. 2566 ดังรูปที่ 6

รูปที่ 6 แสดงขอ้มูลสถิติผู้เข้าร่วมงานประชุมกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน ประจำปี พ.ศ. 2566 (Annual User Meeting 2023)

 

4. การจัดประชุมวิชาการ (Conference)

           สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เป็นเจ้าภาพจัดโครงการ The 4th AOFSRR School ในระหว่างวันที่ 12 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2566  ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิก The Asia-Oceania Forum for Synchrotron Radiation (AOFSRR) นั้น โดย AOFSRR มีสมาชิกรวม 11 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศอินเดีย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศมาเลเซีย ประเทศนิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สาธารณรัฐสิงค์โปร์ ไต้หวัน ประเทศเวียดนาม และประเทศไทย ซึ่ง AOFSRR จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือและส่งเสริมการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาคสำหรับงานวิจัยร่วมกันของกลุ่มประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กิจกรรมครั้งนี้ ประกอบด้วย

  1. การบรรยายถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและการประยุกต์ใช้แสงซินโคร
    ตรอนใน งานวิจัยด้านต่างๆ และเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค และวิศวกรรมขั้น
  2. กิจกรรมกลุ่มย่อยเชิงปฏิบัติการในรูปแบบ practical session ณ ระบบลำเลียงแสงห้องปฏิบัติการแม่เหล็ก และห้องควบคุม จำนวนทั้งสิ้น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย

        - Group: XAS and XRF

        - Group: SAXS/WAXS

        - Group: XTM

        - Group: Accelerator Magnet and Beam Measurement

        - Group: PES/PEEM/XPS

  1. กิจกรรมแนะนำตนเองของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (flash talk)
  2. กิจกรรมสันทนาการเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วม (social event) ทัศนศึกษานอกสถานที่ (excursion) เพื่อเพิ่มเติมประสบการณ์ และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมของประเทศ         สมาชิก13 ประเทศ ณ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โดยกิจกรรมนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 53 คน จากประเทศสมาชิก 12 ประเทศ สามารถแบ่งตามประเทศผู้เข้าร่วมได้ดังรูปที่ 7

 รูปที่ 7 แสดงข้อมูลสถิติผู้เข้าร่วมโครงการ The 4th AOFSRR School โดยแบ่งตามประเทศผู้เข้าร่วม

 

ปรับปรุงล่าสุดวันที่ 4 เม.ษ. 2567
โดย ส่วนบริการผู้ใช้ ฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร โทรศัพท์ 044-217-040 ต่อ 1602-1605

svst3st4


123456891011สำหรบเจาหนาท 11011 13