banner kku

พบกับ "สัมมนาวิชาการซินโครตรอน รูปแบบใหม่ "คลินิกวิจัยสัญจร" ได้ที่

ณ ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ในวันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2561 นี้

           ด้วย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความร่วมมือจัดโครงการสัมมนาเชิงวิชาการและคลินิกวิจัยสัญจร Synchrotron Radiation Applications ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 ณ ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยในกิจกรรมนี้ประกอบด้วยการแบ่งกลุ่มบรรยายซึ่งมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอน และการอภิปราย ถาม-ตอบจากนักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสงที่มีความเชี่ยวชาญในเทคนิคต่างๆ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) และกลุ่มงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Science) พร้อมทั้งแนะนำการเขียนใบสมัครขอใช้บริการแสงซินโครตรอน สำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการรายใหม่ และให้บริการรับคำปรึกษาการวิเคราะห์ผลการทดสอบกับกลุ่มผู้ใช้บริการปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการตีพิมพ์ผลงานวิจัย

วันเวลา/สถานที่ 

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2561 ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์

1. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนของสถาบัน

2. สร้างกลุ่มผู้ใช้รายใหม่ให้กับระบบลำเลียงแสง

กลุ่มเป้าหมาย 60 คน 

1. นักวิจัยและอาจารย์

2. นักศึกษา (กำลังศึกษาระดับปริญญาโทและเอก)

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมการอบรม ได้ที่ E-mail Address : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โดยแจ้งข้อมูล ดังนี้ 

1. ชื่อ- นามสกุล (พร้อมคำนำหน้า นาย นาง นางสาว หรือตำแหน่งทางวิชาการ)

2. สถานภาพ (ระดับการศึกษา/ภาควิชา/คณะ หรือ ตำแหน่งงาน)

3. สถาบันการศึกษา / หน่วยงาน

4. E-mail address

5. หมายเลขโทรศัพท์มือถือ

กำหนดการรับสมัคร : ตั้งแต่วันนี้ - ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2561   

กำหนดการจัดอบรม ในวันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2561

กำหนดการ 

เวลา กิจกรรม
8.30 - 9.00 ลงทะเบียน
9.00 - 9.10 พิธีเปิด
9.10 - 9.30 การบรรยายแนะนำระบบลำเลียงแสงและเทคนิคที่ติดตั้ง ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดย ดร.แพร จิรวัฒน์กุล ผู้จัดการระบบลำเลียงแสงที่ 1.1W Screenshot 10
9.30 - 10.00 การบรรยายเรื่อง “ ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนและมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเทคนิคที่ติดตั้ง ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 1.1W ” โดย ดร.แพร จิรวัฒน์กุล Screenshot 10
10.00 - 10.15 รับประทานอาหารว่าง
10.15 - 12.00 การสัมมนา และอภิปรายถาม - ตอบ “ การประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนกับงานวิจัย ” โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ดังนี้
(1) ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) เช่น งานด้านโลหะ พอลิเมอร์ เซรามิกส์ ตัวเร่งปฏิกิริยา
  • เทคนิค X-ray Absorption Spectroscopy (XAS), X-ray Fluorescence (XRF) และ X-ray Diffraction (XRD) โดย ดร. ชาตรี ไสยสมบัติ ·      
  • เทคนิค X-ray Tomographic Microscopy (XTM) โดย ดร. ภัคนนันท์ ภัควนิตย์ ·Screenshot 10      
  • เทคนิค Small Angle X-ray Scattering (SAXS) และ Wide Angle X-ray Scattering (WAXS) โดย ดร. ศิริวัช สุนทรานนท์ ·      
  • เทคนิค Photoemission Electron Microscopy (PEEM) โดย ดร.พัฒน์ โพธิ์ทองคำ ·Screenshot 10          
  • เทคนิค Deep X-ray Lithography (DXL) โดย ดร.พัฒนพงศ์ จันทร์พวง
(2) ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (life Science) เช่น งานด้านสิ่งแวดล้อม การเกษตร การแพทย์ เภสัชวิทยา ·      
  • เทคนิค X-ray Tomographic Microscopy (XTM) โดย ดร. แคทลียา โรจน์วิริยะ Screenshot 10 · 
  • เทคนิค Small Angle X-ray Scattering (SAXS) โดย ดร. สุทธิพงษ์ วรรณไพบูลย์ Screenshot 10· 
  • เทคนิค Micro X-ray Fluorescence (µ-XRF) โดย ดร. จิตริน ชัยประภา ·      
  • เทคนิค Infrared Spectroscopy and Imaging (IR) โดย ดร. ศิรินาฏ ศรีจันทร์ ·     
  • เทคนิค Macromolecular Crystallography (MX) โดย ดร. ณัฐธวัล ประมาณพล Screenshot 10
12.00 - 13.00 รับประทานอาหารกลางวัน 
13.00 - 16.30 การแบ่งกลุ่มย่อย การบรรยายและคลินิกวิจัย สำหรับผู้ใช้บริการ
 

(1)  สำหรับผู้ใช้บริการใหม่ 

  • การบรรยายเรื่อง “การเขียนใบสมัครขอใช้แสงซินโครตรอนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ” โดย ดร. พัฒนพงศ์  จันทร์พวง นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง 6a /หัวหน้าส่วนบริการผู้ใช้
  • Proposal Workshop

(2)   สำหรับผู้ใช้บริการปัจจุบัน ·        

  • คลินิกวิจัยสัญจร สำหรับเทคนิคที่ติดตั้ง ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน โดย นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง

* 15.00 น. รับประทานอาหารว่าง