ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีมากมาย และการที่จะสืบหาผู้กระทำผิดที่แท้จริงมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมนั้นเป็น เรื่องที่สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะจะต้องมีการรวบรวมพยานหลักฐานมายืนยันให้สามารถพิสูจน์ความผิดได้ อย่างชัดเจน ดังนั้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ประเทศญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา จึงมีการนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาใช้ในการตรวจพิสูจน์หลักฐานต่างๆ ให้ได้ผลที่ถูกต้องแท้จริงตามหลักวิทยาศาสตร์


แสงซินโครตรอน ชี้ชัด สารหนูในหม้อแกงกะหรี่ หลักฐานมัดตัวแม่บ้านหวังฆาตกรรมหมู่ (ประเทศญี่ปุ่น)
         เมื่อปี พ.ศ.2541 เกิดเหตุสะเทือนขวัญที่จังหวัดวาคายามะ ทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น นางมาซูมิ ฮายาชิ แม่บ้านวัย 47 ปี โกรธแค้นที่เพื่อนบ้านรังเกียจ จึงลอบใส่สารพิษลงไปในแกงกะหรี่และนำไปแจกจ่ายงานเทศกาลอาหารพื้นเมือง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และล้มป่วยกว่า 60 ราย ภายหลังเหตุการณ์นี้นางฮายาชิถูกจับกุมตัวแต่ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา จากบันทึกการสอบสวนของตำรวจ ไม่พบลายนิ้วมือของผู้ต้องหา อีกทั้งพยานก็ไม่ชัดเจน มีแต่ภาชนะที่ใช้ในการทำอาหาร แต่จากการตรวจหลักฐานด้วยวิธีการทั่วไปในห้องปฏิบัติการ กลับไม่พบสาร Arsenic หรือจุดเชื่อมโยงใดๆ เนื่องจากสามีของนางฮายาชิมีอาชีพเป็นช่างกำจักปลวก  นางฮายาชิได้ช่วยเหลือสามีในการล้างทำความสะอาดแปรงและอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้เธอรู้วิธีกี่ล้างสาร Arsenic ออกจากอุปกรณ์ และเธอใช้วิธีนี้ในการล้างภาชนะที่เธอใช้ทำอาหารด้วยเช่นกัน จนกระทั้งมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านแสงซินโครตรอนและโลหะ ที่ทราบว่าสาร Arsenic เมื่อสัมผัสกับโลหะจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในระดับโมเลกุล ซึ่งทำให้ไม่สามารถตรวจหาโดยวีธีทั่วไปได้ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้จีงได้ติดต่อขอวัตถุพยานต่างๆ นำไปวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอน และพบว่าอุปกรณ์การทำอาหารทุกอย่างของนางฮายาชิต่างปนเปื้อนสาร Arsenic ทั้งสิ้น ผลคือนางฮายาชิ ถูกตัดสินประหารชีวิต  

forensic1



ไขปริศนา ม้าฟ้าแลบ ด้วยแสงซินโครตรอน (ประเทศออสเตรเลีย)
         ฟ้าแลบเป็นม้าแข่งฝีเท้าดีที่สุดในโลกตัวหนึ่งมีอายุอยู่ในช่วง ค.ศ.1926 – 1932  ที่ถือได้ว่าเป็นขวัญใจของชาวออสเตรเลียและชาวนิวซีแลนด์ ลงแข่งเมื่อไร ชนะทุกครั้ง สมัยนั้น ใครๆจึงอยากล้มม้าฟ้าแลบตัวนี้ แต่ทั้งเจ้าของฟ้าแลบ รวมไปถึงจ๊อกกี้ ต่างไม่ยอมให้ล้มม้า (การติดสินบนในการแข่งขัน เพื่อให้แพ้) เด็ดขาด ฟ้าแลบจึงเป็นเป้าหมายของกลุ่มนักพนันเป็นอย่างมาก เคยถูกลอบฆ่าด้วยปืนไรเฟิลถึง 2 ครั้ง แต่สามารถรอดมาได้ จนครั้งสุดท้าย ฟ้าแลบล้ม (ตาย) ในคอกของตัวเอง ด้วยอาการน้ำลายฟูมปาก จากการพิสูจน์ซากโดยสัตวแพทย์พบว่าอวัยวะภายในของฟ้าแลบ บวม พอง และหยุดทำงาน แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าตายเพราะเหตุใดอย่างแน่ชัด ระยะเวลาผ่านไปซากม้าฟ้าแลบ โครงกระดูก และหัวใจ ถูกสต๊าฟและกระจายอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ ต่างๆ ในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ.2000 มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ให้ข้อสรุปการตายของฟ้าแลบว่า เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเข้ากระแสเลือดอย่างรุนแรง แต่แล้ว เมื่อปี ค.ศ.2006 นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียได้ใช้แสงซินโครตรอนในย่างรังสีเอกซ์ ตรวจหาสาเหตุการตายของฟ้าแลบอีกครั้ง โดยวิเคราะห์จากขนแผงคอขอม้าทั้งหมด 6 เส้น  พบสาร Arsenic จึงสามารถสรุปได้ว่าม้าถูกวางยาหรือวาง Arsenic อย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังสามารถพิสูจน์ได้ว่า กระบวนการสต๊าฟม้าที่ต่างก็มีการใช้สาร Arsenic ด้วยนั้น สาร Arsenic ที่อยู่ตามเส้นขนของม้าจะมีรูปแบบของโมเลกุลที่แตกต่างไปจากสาร Arsenic ที่อยู่ในกระแสเลือดอย่างสิ้นเชิง การที่ม้าถูกวางยาด้วยสาร Arsenic เนื่องจากในยุคนั้นเป็นยุคที่มีการทำเหมืองแร่อยู่มาก จึงไม่ยากนักกับการหาซื้อ สาร Arsenic ที่จะมีขายอยู่ทั่วไปตามร้านขายยาและสารเคมี (หรือร้าน Chemist ในอดีต)

forensic2

p99m3.1m4.1m2.1m5.1m7.1m6.1m8m93gm10m11