BL


 ระบบลำเลียงแสงที่ 1.1W: Multiple X-ray Techniques

BL1 1resize

เป็นระบบลำเลียงแสงที่รวมเทคนิคการทดลองที่ใช้รังสีเอ็กซ์ ทั้งการดูดกลืน การแทรกสอด และการเรืองรังสีเอ็กซ์ สามารถให้ข้อมูลธาตุองค์ประกอบ โครงสร้างผลึก และโครงสร้างระดับอะตอมของตัวอย่างได้


 ระบบลำเลียงแสงที่ 1.2W: X-ray Tomography

BL1 2resize

เป็นระบบลำเลียงแสงที่สามารถถ้ายภาพภายในของวัตถุตัวอย่างได้โดยใช้รังสีเอกซ์ และไม่ทำลายตัวอย่างสามารถวิเคราะห์ทราบถึงองค์ประกอบของธาตุ ณ บริเวณต่างๆได้


 ระบบลำเลียงแสงที่ 1.3W: Small/Wide Angle X-ray Scattering

BL1 3resize

เป็นระบบลำเลียงแสงที่ใช้การกระเจิงของรังสีเอกซ์ บอกถึงการจัดเรียงตัวของโมเลกุล ขนาด รูปร่าง โครงสร้างของตัวอย่างได้ในระดับนาโนเมตร


 ระบบลำเลียงแสงที่ 2.2: TR-XAS

BL2.2 XAS 58

เป็นระบบลำเลียงแสงใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์ ใช้ศึกษาโครงสร้างของตัวอย่างในระดับอะตอม ติดตามการเปลี่ยนแปลงของตัวอย่างภายใต้อิทธิพลของสภาวะแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความดันแก๊ส กระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ เพราะใช้ในการศึกษาพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี เซลล์เชื้อเพลิง แบตเตอรี่เป็นต้น


 ระบบลำเลียงแสงที่ 3.2Ua: PES

BL3.2Ua 58

เป็นเทคนิควัดการปลดปล่อยอิเล็กตรอน โดยใช้แสงซินโครตรอนในย่านอัลตราไวโอเลตและรังสีเอกซ์พลังงานต่ำ เพื่อศึกษาค่าพลังงานอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาพื้นผิวของตัวอย่างเมื่อแสงซินโครตรอนมาตกกระทบ เช่น การตรวจหาการเจือปนและโครงสร้างทางเคมีบริเวณพื้นผิวของตัวอย่าง เป็นต้น


 ระบบลำเลียงแสงที่ 3.2Ub: PEEM

BL3 2Ub resize

เป็นระบบลำเลียงแสงที่สามารถสร้างภาพจากอิเล็กตรอนที่ปลดปล่อยออกจากผิวหน้าตัวอย่างเมื่อแสงซินโครตรอนตกกระทบ สามารถเลือกถ่ายภาพเฉพาะบริเวณที่สนใจได้ในระดับนาโนเมตร ทั้งยังศึกษาองค์ประกอบทางเคมีในบริเวณต่างๆที่กำลังถ่ายภาพได้ทันที เช่น การศึกษาลายและตำหนิบนพื้นผิวโลหะการกัดกร่อนของพื้นผิวโลหะต่างๆ ฟิล์มบาง และการเคลือบผิว


 ระบบลำเลียงแสงที่ 4.1: IR Spectroscopy and Imaging

BL4.1 58

เป็นเทคนิคการดูดกลืนแสงในย่านรังสีอินฟราเรด เพื่อใช้วิเคราะห์ ตรวจสอบและศึกษาโครงสร้างหมู่อะตอมที่แสดงคุณสมบัติเฉพาะ (functional group) ของโมเลกุลสารประกอบอินทรีย์ ทำให้สามารถจำแนกชนิดของโครงสร้าง และพันธะเคมีได้ เช่น สารชีวโมเลกุล พอลิเมอร์ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง อาหาร ยาและเครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคนิคกล้องจุลทรรศน์อินฟราเรดในการศึกษาสารตัวอย่างที่มีขนาดเล็ก เช่น เซลล์พืช เซลล์สัตว์ เส้นผม และเส้นใย เป็นต้น


 ระบบลำเลียงแสงที่ 5.2: XAS

BL5resize

เป็นเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ สามารถศึกษาชนิดและองค์ประกอบทางเคมีของธาตุที่อยู่ในตัวอย่าง ทั้งยังสามารถบอกการจัดเรียงตัวจองอะตอมรอบๆ ได้ เหมาะสำหรับการวิจัยที่หลากหลาย วิจัยตัวอย่างได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส


 ระบบลำเลียงแสงที่ 6a: DXL

BL6a resize

เป็นเทคนิคการอาบรังสีเอกซ์ เพื่อการผลิตชิ้นส่วนจุลภาคสามมิติระดับไมโครเมตร (1 ใน 1,000 มิลลิเมตร) เทคนิคนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนจักรกลขนาดเล็ก เฟืองนาฬิกา เซนเซอร์ แม่พิมพ์ชิ้นส่วนจุลภาค รวมถึงศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางการยภาพเมื่อวัตถุถูกอาบด้วยรังสีเอกซ์


 ระบบลำเลียงแสงที่ 6b: micro-XRF

BL6b 58

เป็นเทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ เพื่อใช้ตรวจสอบและติดตามองค์ประกอบของธาตุในระดับอะตอม เช่น หิน โลหะ หรือตัวอย่างของสิ่งมีชีวิต เช่น ใบไม้ ต้นไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาการกระจายตัวของธาตุต่างๆ ได้โดยการสร้างภาพการเรืองรังสีเอกซ์


 ระบบลำเลียงแสงที่ 7.2W: MX

BL7 2resize

เป็นเทคนิคเพื่อศึกษาโครงสร้างสามมิติของสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่ ได้แก่โปรตีนต่างๆ ทำให้สามารถเข้าใจถึงโครงสร้าง และฟังค์ชันการทำงานของโปรตีน และสารต่างๆ ที่เข้าทำปฏิกิริยากับโปรตีน อันมีความสำคัญยิ่งต่อการวิจัยทางด้านการแพทย์ ชีววิทยา เช่น การปรับปรุงการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ เป็นต้น


 ระบบลำเลียงแสงที่ 8: XAS

BL8 58

เป็นเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ สำหรับการศึกษาชนิดของธาตุและการจัดเรียงตัวของอะตอมรอบๆ อะตอมของธาตุที่สนใจ นอกจากนั้นยังใช้ในการระบุสถานะออกซิเดชันของธาตุได้ รวมถึงศึกษาลักษณะพันธะเคมีสมมาตร โคออดิเนชัน  เป็นต้น ตัวอย่างงานวิจัยที่สามารถทำได้ ณ ระบบลำเลียงแสงนี้ เช่น เซรามิกส์ไฟฟ้า สารเร่งปฏิกิริยา สารกึ่งตัวนำ เซลล์เชื้อเพลิงและวัตถุโบราณ รวมถึงกลุ่มธาตุแคลเซียม ซัลเฟอร์ ในผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและฟอสฟอรัสในดิน เป็นต้น

 

 

p99m3.1m4.1m2.1m5.1m7.1m6.1m8m93gm10m11