ดาวน์โหลดไฟล์ วิทยากร

-  แสงซินโครตรอน กับการศึกษาโครงสร้างสสาร ดร.ศุภกร รักใหม่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

แนวทางการทำงานวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ ศาสตราจารย์ ดร. สันติ แม้นศิริ

- ANALYTICAL CHEMISTRY RESEARCH: ELEMENT DETERMINATION AND PARTICLE SIZE CHARACTERIZATION Atitaya Siripinyanond and PSAC Group


ดาวน์โหลดไฟล์ นำเสนอกลุ่ม

- Introduction to micro-XRF (micro beam X-ray Fluorescence)

- X-RAY FLUORESCENCE (XRF)

- Identification of heavy metal in plants การตรวจหาโลหะหนักในพืช

- การออกแบบและสร้างตัวทำความร้อนจิ๋ว



ดาวน์โหลดไฟล์วีดีโอ

- วิดีโอบรรยายโดยวิทยากร

- วีดีโอบรรยากาศการอบรม



หนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการ || ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก


[ กำหนดการ ]



 

โครงการค่ายซินโครตรอนเพื่อครูวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4
(4th Synchrotron Science camp for Science Teacher)

Poster อบรมครวทย 4th

 

         ปัจจุบันความรู้ทางด้านเทคโนโลยีซินโครตรอนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และมีการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอนเป็นอย่างมากในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยการขยายความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีซินโคร- ตรอนนั้น ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และบุคลากรที่มีความรู้ในการเผยแพร่เทคโนโลยีดังกล่าวก็ยังมีจำนวนน้อยอีกด้วย การส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนั้น เป็นภารกิจหนึ่งของสถาบันฯ ด้วยเหตุว่าคณาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมของไทยนั้นจะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจทางด้านซินโครตรอนลงสู่ระดับเยาวชนของไทยรวมไปถึงกลุ่มของประชาชนทั่วไปอีกด้วย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการค่ายซินโครตรอนเพื่อครูวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4 นี้ขึ้น เพื่อให้ครูที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้ร่วมวิจัยความรู้จากนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และวิทยากรด้านเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน และการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน อีกทั้งได้เข้าร่วมกิจกรรมสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับซินโครตรอนเพื่อใช้ประกอบในการเรียนการสอนระดับมัธยม โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้มุ่งส่งเสริมให้ครูวิทยาศาสตร์ไทยระดับมัธยม ได้มีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ ตลอดจนบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เข้าด้วยกัน และนำความรู้ที่ได้รับนี้ไปเผยแพร่ให้แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป
 

วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม

         1) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา
         2) เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ระหว่างครูวิทยาศาสตร์กับนักวิทยาศาสตร์
         3) เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีซินโครตรอน อีกทั้งเปิดโลกทัศน์ของครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ไปสู่การศึกษาวิจัยด้านเทคโนโลยีซินโครตรอน
 

กำหนดการ

         14-18 ตุลาคม 2556
 

สถานที่

         สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)อาคารสิรินธรวิชโชทัย อ.เมือง จ.นครราชสีมา
 

สถานที่พัก

         สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ. เมือง จ. นครราชสีมา
 

หน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานโครงการ

         ส่วนงานบริการผู้ใช้
         สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)


สิ่งที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับ
         1) ความรู้ความเข้าใจจากการบรรยายเกี่ยวกับแสงซินโครตรอน และการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนในด้านต่าง ๆ จากนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ
         2) ศึกษาดูงานวิจัย ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
         3) เข้าร่วมกิจกรรมสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับซินโครตรอน
         4) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันระหว่างครู และร่วมวิจัยกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศ
 

คุณสมบัติผู้สมัคร
         เป็นครูวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์/เคมี/ชีววิทยา) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ
หลักฐานการสมัคร
         1. ใบสมัคร
         2. รูปถ่ายขนาด 1 * 1 1/2 จำนวน 1 รูป (Photo)
         3. สำเนาบัตรข้าราชการ
         4. หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาโรงเรียนที่สังกัด
         5. สำเนาหนังสือรับรองการศึกษา หรือ Transcript
         6. สำเนาหลักฐานการดูงาน/ฝึกงาน (ถ้ามี)

การรับสมัคร

         เปิดรับสมัครถึงวันที่ วันนี้ – 27 กันยายน 2556 โดยส่งใบสมัครได้ที่ : โครงการค่ายซินโครตรอนเพื่อครูวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ตู้ ป.ณ. 93 ปณจ. นครราชสีมา 30000 Download ใบสมัคร ได้ที่..คลิก


แผนที่และการเดินทาง
         สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งตั้งอยู่ริมถนน นครราชสีมา – ปักธงชัย (ถนนสาย 304)

การเดินทางโดยรถยนต์
         เส้นทางจากกรุงเทพมายังนครราชสีมามี 2 เส้นทางหลัก คือ เส้นทาง พหลโยธิน – มิตรภาพ และเส้นทาง สุวินทวงศ์ – ฉะเชิงเทรา – นครราชสีมา


         เส้นทางพหลโยธิน – มิตรภาพ
         ท่านสามารถใช้ถนนวิภาวดีรังสิตเข้าสู่ถนนพหลโยธิน หรือใช้ถนนวงแหวนตะวันออก หรือวงแหวนตะวันตกเข้าสู่ถนนพหลโยธินที่ทางต่างระดับบางปะอิน เพื่อมุ่งสู่สระบุรี จากนั้นที่สระบุรีเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนมิตรภาพมุ่งสู่นครราชสีมา
ประมาณ 17 กิโลเมตรก่อนถึงตัวเมืองนครราชสีมา ถึงแยกต่างระดับ นครราชสีมา-ขอนแก่น-ปักธงชัย ออกซ้ายเข้าสู่ทางต่างระดับ เลี้ยวขวามุ่งสู่ปักธงชัย (ถนนสาย 304) จากนั้นประมาณ 7 กิโลเมตรจากแยก เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนมหาวิทยาลัย อีก 5 กิโลเมตรก็จะถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ระยะทางจากกรุงเทพมายังนครราชสีมา 250 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง


         เส้นทาง สุวินทวงศ์ – ฉะเชิงเทรา – นครราชสีมา
         จากถนนสุวินทวงศ์ มุ่งสู่ฉะเชิงเทรา (ถนนสาย 304) ไปตามถนนสาย 304 ผ่านฉะเชิงเทราไปยังปักธงชัย ผ่านปักธงชัยไปประมาณ 20 กิโลเมตรก็จะถึงทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนมหาวิทยาลัย มุ่งสู่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เส้นทางนี้ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 45 นาที

         เดินทางด้วยรถโดยสาร

         ท่าน สามารถใช้รถโดยสาร จากสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ (สถานีขนส่งสายเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ) มุ่งสู่สถานีขนส่งนครราชสีมา (บขส.ใหม่) มีรถโดยสาร ป.1 เดินทางมุ่งสู่ จ.นครราชสีมา  3 บริษัท คือ แอร์โคราชพัฒนา ราชสีมาทัวร์ และสุรนารีแอร์ โดยมีรถออกทุกครึ่งชั่วโมง ตลอด 24 ชั่วโมง รถโดยสารใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที อัตราค่าโดยสาร 198 บาท จากสถานีขนส่งนครราชสีมาเดินทางมาสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ซึ่งตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้โดยรถโดยสารประจำทาง(รถสองแถว) สาย 17 (สีขาวคาดสีม่วง) ซึ่งจะจอดที่ขนส่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (ค่าโดยสารประมาณ 15 บาท) หรือสามารถเดินทางโดยรถแท็กซี่ (อัตราค่าโดยสารแบบเหมา 250 บาท) เบอร์โทรแท็กซี่ 0-4437-0999

koratmap2