เมื่อแบรนด์นาฬิกาหรูระดับโลกอย่าง Rolex นำเทคโนโลยี LIGA มาใช้ในการควบคุมเวลาระดับมิลลิวินาที สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเพิ่มความยอดเยี่ยมที่เหนือกว่าแก่ผู้สวมใส่และก้าวเข้าสู่มิติที่โลกไม่เคยเป็นมาก่อน โดยการอัพเกรดชิ้นส่วนฟันเฟืองขับเคลื่อนระดับวินาทีของ Rolex Daytona Cal. 4130
จากปัญหาการสะดุด (Stutter) ของฟันเฟืองวินาทีเนื่องจากใช้เทคโนโลยีดั่งเดิมในการผลิต ส่งผลให้ฟันเฟืองแต่ละซี่มีระยะห่าง เป็นผลให้เข็มวินาทีสะดุดหรือไม่ตรงแนวกับเครื่องหมายบนหน้าปัด ซึ่งเป็นข้อจำกัดของคลัตช์แนวตั้งแบบเดิมที่ทำหน้าที่ช่วยให้เข็มวินาทีหยุดและเริ่มต้นใหม่อีกครั้งเมื่อมีการจับเวลา
บริษัท Rolex จึงได้ออกแบบฟันเฟืองแบบใหม่ใน Cal. 4130 ที่มีความซับซ้อนพิเศษ โดยฟันแต่ละซี่มีสามส่วนประกอบด้วยสปริงที่ยื่นออกมาและโค้งงอเข้าด้านในเพื่อทำหน้าที่เติมช่องว่างระหว่างฟันเฟืองของล้อทำให้มั่นใจได้ว่าไม่มีช่องว่างระหว่างพื้นผิวสัมผัส (backlash) ระหว่างการจับเวลา โดยฟันเฟืองพิเศษนี้ซ่อนอยู่ใต้สะพานที่ไขลานอัตโนมัติที่ไม่มีใครมองเห็นวงล้อนี้นอกจากช่างทำนาฬิกา
รูปทรงที่น่าทึ่งดังกล่าวเป็นผลมาจากการประดิษฐ์สมัยใหม่ที่เรียกว่าระบบกลไฟฟ้าจุลภาค (MEMS) โดยการใช้เทคนิคการสร้างโครงสร้างจุลภาคด้วยแสงอัลตราไวโอเลตหรือรังสีเอกซ์จากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน (UV – X-ray LIGA) มาผลิตชิ้นส่วนโลหะที่มีความซับซ้อนในแม่พิมพ์เรซินขนาดเล็กและสามารถขึ้นรูปได้ครั้งละหลายร้อยชิ้นในเวลาเดียวกัน
การอัพเกรดที่สำคัญในชิ้นส่วนที่มองไม่เห็นในรอบหลายสิบปีของ Rolex เป็นการยืนยันถึงการเคลื่อนไหวใหม่ๆ ในแผนระยะยาวของบริษัทที่จะนำเทคโนโลยี LIGA มาเป็นส่วนหนึ่งในจุดเด่นของวัฒนธรรมของบริษัทในการ “อัพเกรด” เพิ่มขึ้นแทนที่จะใช้ความสามารถใหม่ทั้งหมดดังสุภาษิตโบราณ: ถ้ายังไม่พังทำไมต้องแก้ไข (If it ain't broke, don't fix it)
เรียบเรียงโดย ดร.รุ่งเรือง พัฒนากุล นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง
อ้างอิง: https://watchesbysjx.com/2020/11/rolex-daytona-movement-4130-liga.html