ออกแบบและพฒนายาตานวณโรค ลดเชอดอยา

การดื้อยาเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้การรักษาวัณโรคมีประสิทธิภาพลดลง ในปี พ.ศ.2560 มีรายงานพบประชากรโลกสูงถึง 400,000 กว่าคน เป็นวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (multidrug resistance TB: MDR-TB) ซึ่งมีการดื้อยาไรแฟมพิซิน (Rifampicin) และยาไอโซไนอาซิด (Isoniazid) อีกทั้งกลุ่มวัณโรคดื้อยาหลายขนานนี้ก็เป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องคิดค้นยาซึ่งมีโครงสร้างใหม่ๆ เพื่อรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพในอนาคต

สำหรับยารักษาวัณโรค (Anti-tuberculosis agents) เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย <I>Mycobacterium Tuberculosis </I>ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคที่มักก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ปอด โดยกลุ่มยารักษามีเป้าหมายในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ ได้แก่ ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ ยับยั้งการสร้างดีเอ็นเอ ยับยั้งการสร้างกรดไขมันและโปรตีนที่จำเป็นของเชื้อ

TB

โครงสร้างสามมิติของเอนไซม์ InhA เปรียบเทียบตำแหน่งระหว่างโมเลกุลของ compound 7 ซึ่งเป็นสารคัดเลือกยับยั้งจากงานวิจัยนี้กับสารยับยั้งไตรโคลซาน (Kamsri et al. 2019).

นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสงที่ 7.2 ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จึงใช้เทคนิค Macromolecular Crystallography จากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ศึกษาโครงสร้างโปรตีนของเอนไซม์ InhA ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่แบคทีเรีย <I>M. Tuberculosis</I> ใช้สังเคราะห์กรดมัยโคลิก (mycolic acid) อันเป็นส่วนประกอบหลักของผนังเซลล์ โดยมุ่งศึกษาส่วนที่จับกับสารคัดเลือกยับยั้ง เพื่อให้เข้าใจกลไกการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ อันมีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ นำไปสู่การพัฒนายาชนิดนี้ให้มีประสิทธิภาพด้วย คาดว่าในอนาคตจะได้สารที่น่าสนใจเพื่อใช้พัฒนายาขนานใหม่ และเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาผู้ป่วยวัณโรคได้ต่อไป

 

บทความโดย

ดร.ชมภูนุช ผู้จัดการระบบลำเลียงแสง

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Kamsri, et al. (2019). Discovery of new and potent InhA inhibitors as anti-tuberculosis agents: Structure based virtual screening validated by biological assays and X-ray crystallography. Journal of Chemical Information and Modelling, doi: 10.1021/acs.jcim.9b00918.