การสงเคราะหวสดดดซบนำมน copy

การรั่วไหลของน้ำมันลงสู่แหล่งน้ำทั้งขนาดใหญ่และเล็กเป็นปัญหาสำคัญที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน เพราะไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อระบบชีววิทยาในน้ำยังส่งผลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่อุปโภคและบริโภคน้ำปนเปื้อนเหล่านั้นด้วย วัสดุมากมายจึงถูกคิดค้นและพัฒนาอยู่เสมอเพื่อกำจัดน้ำมันเหล่านี้

 

ยกตัวอย่างผลงานวิจัยจาก รศ.ดร.สุปรีดิ์ พินิจสุนทร อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและคณะ ได้สังเคราะห์เส้นใยคาร์บอนระดับนาโนที่มีสมบัติความเป็นแม่เหล็กจากแบคทีเรียเซลลูโลส (magnetic carbon nanofiber, MCF) เพื่อใช้เป็นวัสดุดูดซับน้ำมันที่ปนเปื้อนในน้ำเสีย สามารถนำกลับมาใช้ได้โดยอาศัยการดูดจากแม่เหล็กและยังมีน้ำหนักเบามาก (รูป a) โดยส่วนประกอบที่ให้สมบัติความเป็นแม่เหล็กในวัสดุ MCF นี้มีโครงสร้างเป็นแบบ core shell


เพื่อยืนยันผลสำเร็จในการสังเคราะห์วัสดุโครงสร้างดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้เทคนิคทางสเปกโตรสโกปีโฟโตอิเล็กตรอนด้วยรังสีเอกซ์ (X-ray Photoelectron spectroscopy, XPS) ที่ระบบลำเลียงแสงที่ 5.3 ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและพันธะเคมีบริเวณพื้นผิวของวัสดุ จากผลการทดลอง (รูป b) สามารถยืนยันได้ว่าพบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ถึงความสำเร็จในการพัฒนาโครงสร้างดังกล่าว

carbon nano

รูปภาพแสดง (a) การดูดซับน้ำมันและน้ำหนักของวัสดุ MCF และ (b) ผลการทดลองที่ได้จากเทคนิค XPS

 

บทความโดย

ดร.สุภิญญา นิจพานิชย์ นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง

 


เอกสารอ้างอิง : Pinitsoontorn, S. et. al. ACS Appl. Nano Mater. 2020, 3, 3939−3950.