ลูกปัดแก้วสีแดงอายุ 1300-2000 ปีได้ถูกค้นพบในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี 4 แหล่งชายฝั่งทะเลอันดามัน คือ ทุ่งตึก และนางย่อน จังหวัดพังงา คลองท่อม จังหวัดกระบี่ และภูเขาทองจังหวัดระนอง (แสดงโดย TT, NY, KT และ PKT ในแผนที่)
แสดงที่ตั้งแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีที่พบลูกปัดโบราณ
ภาพแสดงลูกปัดโบราณ
ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกองทัพบก ได้ใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์ที่ระบบลำเลียงแสงที่ 8 ของห้องปฏิบัติการแสงสยามศึกษารูปแบบของธาตุทองแดงในลูกปัด ซึ่งเป็นตัวให้กำเนิดสีแดงของลูกปัดดังกล่าว และพบว่าทองแดงในลูกปัดโบราณอยู่ในรูปของผลึกทองแดงผสมกับอนุภาคของธาตุทองแดงที่มีประจุ +1
ภาพสเปคตรัมที่ได้จากเทคนิค X-ray Absorption Near Edge Spectroscopy (XANES) ที่ระบบลำเลียงแสงที่ 8
ภาพแสดงผลจากเทคนิค Extended X-ray Absorption Fine Structure (EXAFS) ที่ได้จากระบบลำเลียงแสงที่ 8
แบบจำลองของรูปแบบธาตุทองแดงที่แปรผลจากการวัด
รูปแบบของทองแดงที่พบมีความคล้ายคลึงกับที่ปรากฎในลูกปัดโบราณอายุ 600-700 ปีที่ขุดค้นพบในประเทศอิตาลี บ่งบอกว่าลูกปัดจากทั้งสองแหล่งอาจจะมีแหล่งกำเนิดเดียวกัน โดยนักวิจัยได้ชี้ว่า “ผลการศึกษานี้อาจแสดงถึงความสัมพันธ์ทางการค้าอันยาวนานในอดีตระหว่างภาคใต้ของประเทศไทยและแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน”
เอกสารอ้างอิง: งานวิจัยข้างต้นได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Analytical Bioanalytical Chemistry ฉบับเดือนตุลาคม 2553
(W. Klysubun, Y. Thongkam, S. Pongkrapan, J. T-Tienprasert and P. Dararutana, Anal. Bioanal. Chem., October 2010.)