แนวทางการวิจัย
งานวิจัยนี้สนใจที่จะศึกษาปฏิกิริยาการเกิดรีดักชันและการเจือทางเคมีของกราฟีนออกไซด์ด้วยวิธีพลาสมา แรงจูงใจในการทำงานนี้เกิดขึ้นจากความน่าสนใจของการประยุกต์ใช้วัสดุที่ทำจากกราฟีนซึ่งเป็นหนึ่งในงานวิจัยทางวัสดุศาสตร์ที่มีการวิจัยมากที่สุดในขณะนี้ ในการศึกษาเพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของวิธีการผลิตของวัสดุนี้ จะใช้เทคนิค XPS และ UPS ของBL3.2a ในการศึกษาคุณสมบัติของพันธะเคมีและโครงสร้างอิเล็กทรอนิกส์ของกราฟีนออกไซด์หลังการเกิดรีดักชัน และกราฟีนออกไซด์ที่เจือด้วยไนโตรเจนตามลำดับ โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส เป็นต้น


ผลได้จากงานวิจัย
         •    จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XPS ที่ตำแหน่งสเปกตรัมของ C1s พบว่ามีการสร้างพันธะคู่ของคาร์บอน (C=C)เกิดขึ้นแสดงว่าหมู่ฟังก์ชันของออกซิเจนบริเวณขอบและบนระนาบทั้งสองด้านถูกกำจัดออกอย่างมีประสิทธิภาพ
         •    งานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จในการควบคุมการเจือไนโตรเจนในกราฟีน (N-rGO) โดยวิธีการอาบกราฟีนออกไซด์หลังการเกิดรีดักชัน (reduced graphene oxide, rGO) ในพลาสมาของไนโตรเจน จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XPS ที่ตำแหน่งสเปกตรัมของ N1s พบความแตกต่างของปริมาณไนโตรเจนที่ถูกเจือที่เงื่อนไขต่างๆ
         •    ได้มีการสร้างอุปกรณ์ตรวจจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกราฟีนออกไซด์หลังเกิดการรีดักชันที่อุณหภูมิห้องด้วยพลาสมาของไฮโดรเจน
         •    อุปกรณ์ตรวจจับที่ทำจากกราฟีนออกไซด์หลังจากเกิดการรีดักชัน มีการตอบสนองต่อการตรวจวัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดที่ 71% และ 15% ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น 37% และความเข้มข้นของไนโตรเจน 1,500 ppm  อุปกรณ์ตรวจจับมีประสิทธิภาพดีในการวัดซ้ำโดยไม่ต้องมีการช่วยเหลือจากภายนอกในการคืนสภาพโดยมีเวลาการการคืนสภาพประมาณ 4 นาที เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมภายในห้องที่มีความชื้น 68% และมีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 750 และ 769 ppm ตามลำดับ
         •    ด้วยความง่ายของกระบวนการเกิดรีดักชันที่อุณหภูมิห้อง ความสามารถในการตรวจวัด รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต่ำในการผลิตอุปกรณ์ตรวจจับจากกราฟีนอาจนำไปสู่การสร้างระบบการตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในห้องที่ใช้งานได้จริง

Host by www.slri.or.th Host by www.slri.or.th