cowhf

 “เทคโนโลยีการโคลนนิ่งโคนม” เป็นการผลิตโคนมสายพันธุ์แท้มีลักษณะทั้งทางกายภาพและพันธุกรรมเหมือนกับโคนมที่ใช้เป็นต้นแบบซึ่งช่วยลดทั้งระยะเวลาและต้นทุนการผลิตโคนมสายพันธุ์ดีปัญหาที่พบได้บ่อยของการโคลนนิ่ง คือตัวอ่อนไม่สามารถพัฒนาไปถึงขั้นที่พร้อมจะฝังตัวในมดลูกได้รวมทั้งพบอัตราการเกิดความพิการและอัตราการตายหลังคลอดของลูกโคนมโคลนนิ่งสูงดังนั้นนักวิจัยจึงทำการปรับปรุงกระบวนการโคลนนิ่งโดยกระตุ้นตัวอ่อนของโคนมด้วยสารไตรโคสเตติน (Trichostatin,TSA) เพื่อปรับให้ยีนมีการแสดงออกเช่นเดียวกับการปฏิสนธิปกติที่เกิดจากไข่และสเปิร์ม ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือความสำเร็จของการโคลนนิ่งมากขึ้นยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยใช้แสงซินโครตรอนในย่านอินฟาเรดเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ของตัวอ่อนโคนมโคลนนิ่ง ภายหลังได้รับการกระตุ้นด้วยสารไตรโคสเตตินโดยทำการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระยะ 1 เซลล์ 2 เซลล์ จนถึงระยะตัวอ่อนที่พร้อมจะฝังตัวในมดลูกได้

 

 
 

untitled-2

 

 


.

ดร.วราภรณ์ ตัณฑนุช,ดร.กาญจนา ธรรมนู,ดร.จันทร์เจ้า ล้อทองพานิชย์, นายอนวัช แสงมาลี,

 น.ส. กนกวรรณ ศรีรัตนา, Dr. Philip Heraud, และ ผศ.ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

MonashUniversity