7

แสดงความเค้นดึง (tensile stress) ที่ระยะยืดต่างๆและภาพการกระเจิงของรังสีเอกซ์ของยางธรรมชาติ
(NR) และยางธรรมชาติคอมพอสิท ที่เสริมแรงด้วยเส้นใยใบสับปะรด (NR/10PALF) เขม่าดำ (NR/10CB)
และทั้งเส้นใยใบสับปะรดและเขม่าดำ (NR/10PALF/10CB)

mulogo72dpiรศ.ดร. ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย และ ฐาปณี วงศ์ปรีดี มหาวิทยาลัยมหิดล

         ยางธรรมชาติมีสมบัติเด่นด้านสมบัติเชิงกล และยังมีความสามารถในการตกผลึกที่การดึงยืดสูงๆ ทำให้เกิดความแข็งแกร่ง เพิ่มขึ้น สมบัติเชิงกลของยางธรรมชาติสามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยการเติมสารตัวเติมต่างๆ เช่น เขม่าดำ ซิลิกา ดินเหนียว เส้นใย สังเคราะห์ และเส้นใยธรรมชาติ เส้นใยจากใบสับปะรดเป็นหนึ่งในเส้นใยที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากใบสับปะรดเป็นของเหลือ ทิ้งจากการเกษตร ซึ่งมีอยู่มากในประเทศไทย นอกจากนี้ เส้นใยใบสับปะรดจัดว่ามีค่าทางคุณสมบัติเชิงกลสูงเมื่อเทียบกับเส้นใย ธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ชนิดอื่นๆ นอกจากนี้แล้วการใช้สารตัวเติมร่วม (Hybrid fillers) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการ ปรับเปลี่ยนสมบัติเชิงกลของยางธรรมชาติ เพื่อรวมสมบัติที่ดีจากสารตัวเติมแต่ละตัวมารวมไว้ด้วยกัน
         งานวิจัยนี้ศึกษาโครงสร้างภายในของยางธรรมชาติ และยางธรรมชาติคอมโพสิทระหว่างการถูกยืดออกด้วยระยะต่างๆ ด้วยเทคนิคการกระเจิงรังสีเอกซ์ที่มุมกว้าง (Wide Angle X-ray Scattering, WAXS) โดยใช้แสงซินโครตรอน ณ ระบบสำเลียงแสง BL1.3W เพื่อศึกษาการเสริมแรงของยางธรรมชาติด้วยเส้นใยใบสับปะรดร่วมกับเขม่าดำ ผลการทดลองพบว่า เส้นใยสัปปะรด ช่วยเร่งการตกผลึกของยางธรรมชาติขณะที่มีการดึงยืด ขณะที่เขม่าดำนั้นช่วยเพิ่มเฉพาะความแข็งแรงของยางธรรมชาติที่ร้อยละ การดึงยืดสูงๆ ดังนั้นการเติมสารตัวเติมทั้งสองชนิดลงไปพร้อมๆกัน จึงเป็นแนวทางในการเสริมคุณสมบัติที่ดีให้กับยางธรรมชาติ งานวิจัยนี้จึงเป็นประโยชน์ในแง่การปรับปรุงความแข็งแรงของยางธรรมชาติคอมโพสิท ซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยางของ ไทยอย่างยิ่ง