6

ผักกาดเขียวปลีที่คลุกเมล็ดก่อนปลูกและฉีดพ่น ด้วยสิ่งกระตุ้นก่อนถูกเชื้อสาเหตุโรคเน่าเละ (A)
และผักกาดเขียวปลีที่คลุกเมล็ดก่อนปลูกและฉีด พ่นด้วยน้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อก่อนปลูกเชื้อสาเหตุโรค เน่าเละ (B)


sut logo jpgผศ.ดร. ณัฐธิญา เบือนสันเทียะ และ นายชานนทร์ แสงจันทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

         คณะนักวิจัยนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐธิญา เบือนสันเทียะ และผู้ช่วยวิจัย นายชานนทร์ แสงจันทร์ จากสำนักวิชา เทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมกับ ดร. วราภรณ์ ตัณฑนุช และ ดร. กาญจนา ธรรมนู นักวิจัยจากสถาบันฯ ทำการศึกษาเกี่ยวกับกลไกและความต้านทานโรคเน่าเละของผักกาดเขียวปลี (induced resistance mechanism) โดยใช้เทคนิค “Micro-beam Synchrotron X-ray Fluorescence (μ-SXRF)” พบว่า ผักกาดเขียวปลีที่ถูกกระตุ้นด้วยสิ่งกระตุ้นก่อนถูกเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora pv. carotovora ที่เป็นสาเหตุของโรคเน่าเละ สามารถทนทานการเกิดโรค (ดูในรูปที่ 79(A)) โดยจากการวิเคราะห์ธาตุที่สะสมของผักกาดเขียวปลีในกรรมวิธีที่ถูกกระตุ้นด้วยสิ่ง กระตุ้น พบว่ามีการสะสมของธาตุ Ca เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม ธาตุ Ca เป็นส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์ พืช รวมถึงกลไกการทำงานของเอนไซม์ภายในพืช ดังนั้นจากผลงานวิจัยนี้จึงสามารถสรุปได้ว่าเมื่อพืชถูกเชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลาย จะ เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณธาตุภายในเซลล์พืช ทำให้ผนังเซลพืชอ่อนแอจนเน่าเสียหาย และสิ่งกระตุ้นที่ทีมวิจัยคิดค้นขึ้นสามารถช่วย ให้ผักกาดเขียวทนทานต่อโรคเน่าเละได้อย่างมีประสิทธิผล