ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงมานานในเรื่องของอัญมณี โดยเป็นแหล่งสำคัญแห่งหนึ่งของโลกที่มีอัญมณีหลากหลายชนิด เช่น ทับทิม ไพลิน บุษราคัม เพทาย โกเมน ไข่มุก เป็นต้น ดังนั้นอุตสาหกรรมการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยจึงได้รับการยกย่อง ทั้งในด้านคุณภาพและราคาจากนานาประเทศทั่วโลก ซึ่งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับนับเป็นสินค้าส่งออกหมวดหนึ่งของไทยที่ทำรายได้สูงให้แก่ประเทศและยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี
 

DSC06588                        

                                           ไข่มุกพิมพ์ลาย (โดยได้รับพระราชานุญาต)                                                              ไข่มุกสีทอง


         เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์ (X-ray Absorption Spectroscopy) ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8 ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มีความพิเศษที่มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ชนิดของอะตอมที่มีปริมาณน้อยและโครงสร้างของสารประกอบได้อย่างละเอียด ซึ่งสีสันอันสวยงามของอัญมณีนั้นเกิดจากชนิดของแร่ รูปแบบโครงสร้างของสารประกอบ และอะตอมของธาตุชนิดต่างๆ ที่เจือปนอยู่ในผลึก โดยธาตุเจือปนบางชนิดนั้นมีอยู่ในปริมาณน้อยมาก ตรวจสอบได้ยากโดยวิธีทั่วๆ ไป แต่เป็นตัวการสำคัญในการเกิดสี การที่เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์สามารถวิเคราะห์ชนิดธาตุ โครงสร้างสารประกอบ รวมถึงสถานะออกซิเดชันของอะตอมที่สนใจได้อย่างชัดเจน จึงทำให้เราสามารถศึกษาหาองค์ประกอบของธาตุและสารประกอบที่มีผลต่อสีและความงามของอัญมณีแต่ละชนิดได้ ในอุตสาหกรรมอัญมณีปัจจุบัน มีความพยายามที่จะสรรหากรรมวิธีในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพอัญมณีให้มีการกระจายตัวของสีสม่ำเสมอขึ้น มีความสวยงามและความแวววาวมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การหุงพลอย การใช้ความร้อนและความดันสูง การซ่านสี และการอาบรังสี เป็นต้น ซึ่งแต่ละกรรมวิธีรวมถึงขั้นตอนและปัจจัยต่างๆของกระบวนการเหล่านี้ ล้วนมีผลต่อความสวยงามของอัญมณีทั้งสิ้น

Host by www.slri.or.th Host by www.slri.or.th Host by www.slri.or.th Host by www.slri.or.th Host by www.slri.or.th


         นอกจากการใช้แสงซินโครตรอนในการศึกษาองค์ประกอบต่างๆ เพื่อความเข้าใจในความงามของแร่อัญมณีแล้ว เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์ยังมีบทบาทและความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอะตอมด้วยกรรมวิธีต่างๆ เหล่านี้ รวมถึงการใช้แยกแยะ ตรวจสอบ และการนำมาซึ่งความรู้ใหม่ๆ สำหรับศึกษากระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณีให้สวยงามและเป็นที่ยอมรับได้  

ผู้อำนวยการสถาบัน ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร, ดร.วันทนา คล้ายสุบรรณ์ หัวหน้าส่วนงานระบบลำเลียงแสง BL8 และ ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ ให้สัมภาษณ์รายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ช่วงเจาะข่าวเด่น


         กลุ่มนักวิจัยระบบลำเลียงแสงที่ 8 ได้ทำการค้นคว้าวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีไทยอย่างต่อเนื่อง เช่น ความร่วมมือกับ อาจารย์สรพงศ์ พงศ์กระพันธุ์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์ศึกษาพลอยไพลิน การศึกษากระบวนการเปลี่ยนสีของทับทิม การทำความเข้าใจองค์ประกอบที่มีผลต่อสีของโทแพซ และการหาธาตุที่เป็นองค์ประกอบในกลไกการเปลี่ยนสีของไข่มุกดำ เป็นต้น และจากการใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์ศึกษาไข่มุกนั้น ทำให้ได้องค์ความรู้ใหม่ที่นำมาสู่นวัตกรรมการวิจัยเพื่อผลิตไข่มุกสีทองและการพิมพ์ลวดลายสีทองลงบนไข่มุกด้วยแสงซินโครตรอน ซึ่งเป็นนวัตกรรมจากเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนที่จะช่วยทำให้ไข่มุกน้ำจืดซึ่งปกติมีราคาต่ำ สามารถเปลี่ยนสีเป็นไข่มุกสีทองที่โดดเด่น สวยงาม ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก โดยการนำของ ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ นักวิจัยหัวโครงการผลิตต้นแบบไข่มุกสีทองโดยใช้แสงซินโครตรอน

ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์


         การเปลี่ยนไข่มุกน้ำจืดสีขาวเป็นสีทองนั้น ยังคงความสวยงามของไข่มุกตามธรรมชาติ และสามารถเพิ่มประกายความแวววาวดุจทองคำ พร้อมกับการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่สำหรับถ่ายทอดลวดลายสีทองลงบนไข่มุก เพื่อสร้างสรรค์ความงามอันเป็นเอกลักษณ์ตามเพียงหนึ่งเดียวในแบบฉบับที่ต้องการ ลายพิมพ์ที่สร้างจากความละเอียดของลายเส้นได้ในระดับไมโครเมตร (เล็กกว่าเส้นผม) จึงสามารถพิมพ์ลายที่วิจิตรปราณีต เหมาะสำหรับการมอบเป็นของขวัญพิเศษที่ทรงคุณค่า ให้กับคนสำคัญอันเป็นที่รักและเป็นหนึ่งเดียวในโลก....