- รายละเอียด
-
โรคใบขาวอ้อยเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรงต่อการปลูกอ้อย อีกทั้งยังเป็นโรคที่ยากแก่การป้องกัน และกำจัดเมื่อเกิดการระบาด สาเหตุของโรคนั้นเกิดจากการติดเชื้อไฟโตพลาสมา ซึ่งทำให้พืชเกิดใบขาวซีด เนื่องจาการสูญเสียคลอโรฟิลด์ ใบพืชมีขนาดเล็ก สั้น และแตกเป็นกอ เป็นสาเหตุให้ผลผลิตที่ได้ลดต่ำลงกว่า 50 % ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีในการรักษาต้นที่เป็นโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากการขุดถอนต้นพืชทิ้งเพื่อลดแหล่งเพาะเชื้อโรค
คณะนักวิจัยได้ประยุกต์ใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด (Infrared Microspectroscopy) ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เพื่อตรวจสอบการติดโรคในระยะเริ่มต้น ก่อนการแสดงอาการของโรค โดยผลการวิเคราะห์ที่ได้จะใช้สำหรับการจัดทำรูปแบบของโรค ซึ่งให้ผลรวดเร็ว แล้วยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ และทำให้สามารถหาแนวทางในการควบคุม หรือยับยั้งการถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมาของโรคใบขาวอ้อยได้อย่างทันท่วงทีต่อไป

ภาพโรคใบขาวในอ้อยโดย รศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง
คณะนักวิจัย
รศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง(1) นางสาวชนาณัฐ แก้วมณี(1) และ ดร. วราภรณ์ ตัณฑนุช(2)
(1)สาขากีฏวิทยา ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(2)สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคอินฟราเรดไมโครสเปกโครสโกปีได้ ที่นี่