ต้นยางพาราส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดจากลุ่มแม่น้ำอะเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อต้นยางพาราถูกนำมาเพาะปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจในประเทศไทยคือโรคเปลือกไม้ในยางพารา ซึ่งเป็นโรคที่มีผลกระทบอย่างมากต่อปริมาณของน้ำยาง จึงส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำยางพาราของประเทศไทย
คณะนักวิจัยได้ใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ศึกษาถึงสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าว รวมทั้งกระบวนการกระตุ้นกลไกการทำงานของโรคเปลือกไม้ที่เกิดขึ้นกับต้นยางพารา โดยวิเคราะห์และเปรียบเทียบองค์ประกอบของธาตุต่างๆ ได้แก่ ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และ แคลเซียม ในตัวอย่างใบไม้ยางพาราปกติและเป็นโรค จากผลการศึกษาพบว่ามีเพียงธาตุซัลเฟอร์ชนิดเดียวที่มีองค์ประกอบต่างกันระหว่างใบไม้ยางพาราปกติกับใบไม้ของต้นที่เป็นโรค โดยพบว่า ใบจากต้นยางที่เป็นโรคเปลือกไม้จะมีองค์ประกอบของซัลเฟต (SO42-) มากกว่าใบจากต้นยางปกติ ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากกระบวนการดูดซึมซัสเฟตในต้นยางที่เป็นโรคมีความผิดปกติ ทำให้ระดับการเปลี่ยนซัลเฟต (SO42-) ที่ได้จากดินไปเป็นซัลไฟต์ (SO32-) ลดลง  จึงพบซัลเฟตเหลืออยู่ในปริมาณที่สูงกว่า ข้อมูลที่ได้นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ทำสวนยางพารา เพื่อใช้หาแนวทางปรับปรุงต้นยางพาราให้มีความต้านทานต่อโรคได้ดียิ่งขึ้น

 
 
 
 alt
 Photo credit: http://www.live-rubber.com 



อ่านเพิ่มเติมเรื่องเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ได้ที่นี่


คณะผู้ร่วมวิจัย
ดร.วันวิสา  พัฒนศิริวิศว(1 ) ดร.นวลพรรณ ศิรินุพงศ์(1)  ดร.เปลื้อง สุวรรณมณี(2)  ดร.ชัชมณฑ์ แดงกนิษฐ์ (3)  และ ดร.จารุวรรณ ศิริเทพทวี(4)

(1)สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) 
(2)
มหาวิทยาลัยทักษิณ 
(3)ศูนย์วิจัยยางสุราษฏร์ธานี
(4)มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี



เอกสารอ้างอิง
Pattanasiriwisawa, W., Sirinupong, N., Suwanmanee, P., Daengkanit, C. and Siritapetawee, J. (2009). An Attempt to Analyze the Bark Disease in Havea Brasiliensis Using X-Ray Absorption Near-edge Spectroscopy. Journal of  Synchrotron Radiation 16.5: 622-627.