alt

หญ้าแฝกเป็นพืชตระกูลหญ้า ขึ้นเป็นกอหนาแน่น ลักษณะใบแคบยาวประมาณ75 เซนติเมตร ความกว้าง ประมาณ 8 มิลลิเมตร ค่อนข้างแข็ง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานพระราชดําริให้มีการปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดิน และน้ำ เนื่องจากหญ้าแฝกมีระบบรากประสานติดต่อกันแน่นเสมือนม่าน หรือกําแพงใต้ดินสามารถช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ ช่วยให้ดินมีความชื้น นอกจากการใช้ประโยชน์ในการรักษาหน้าดิน และเก็บกักน้ำแล้ว ก็ได้มีการศึกษาและวิจัยในการนําหญ้าแฝกมาสกัดเป็นเส้นใย หรือบดเป็นผงเพื่อใช้เป็นสารตัวเติม(filler) ให้กับวัสดุพอลิเมอร์ ปัจจัยหนึ่งของหญ้าแฝกที่มีผลโดยตรงต่อสมบัติทางกายภาพของวัสดุพอลิเมอร์ คือ สมบัติทางกล และสมบัติทางความร้อน ซึ่งสมบัติทั้งสองนี้ขึ้นอยู่กับชนิด และปริมาณขององค์ประกอบของหญ้าแฝก 

 

 

 

คณะนักวิจัยได้ศึกษาองค์ประกอบของหญ้าแฝก และศึกษาผลของการทําอัลคาไลน์เซชันต่อองค์ประกอบของหญ้าแฝกโดยวัดการสั่นของโมเลกุลภายในหญ้าแฝกเมื่อกระทบกับแสงย่านอินฟราเรด ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม พบว่าหญ้าแฝกมีเซลลูโลส    เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน เป็นองค์ประกอบสําคัญ หลังจากผ่านกระบวนการทําอัลคาไลน์เซชันแล้ว หญ้าแฝกมีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบปรากฏชัดเจนขึ้น อาจเนื่องมาจากเฮมิเซลลูโลส และ/หรือลิกนินได้ถูกกําจัดออกไปโดยการทําอัลคาไลน์เซชัน 

 

alt

 ภาพสเปกตรัมของหญ้าแฝกก่อน และหลังการทำอัลคาไลน์เซชัน

 

 

ผศ.ดร.วิมลรัตน์ สุตะพันธ์

สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์  สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

 

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคอินฟราเรดสเปกโตรสโกปี คลิกที่นี่