1

ในวันนี้ (10 พฤศจิกายน 2563) เวลา 09.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดระบบลำเลียงแสงที่ 1 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน จ.นครราชสีมา

 20 23

21 22

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2551 ดำเนินงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีพันธกิจในการวิจัยเกี่ยวกับแสงซินโครตรอน และการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน ตลอดจนส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง สถาบันสามารถพัฒนาระบบลำเลียงแสงขึ้นใช้เอง จนปัจจุบันมีระบบลำเลียงแสงทั้งสิ้น 12 ระบบลำเลียงแสง ผลิตผลงานวิจัยจากการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน ตอบโจทย์อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง รวมถึงช่วยผู้ประกอบรายย่อยและวิสาหกิจชุมชน

39 40

27 28

ระบบลำเลียงแสงที่ 1 เป็นระบบลำเลียงแสงที่จัดสร้างขึ้นใหม่ด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรของสถาบัน ประกอบไปด้วย ระบบลำเลียงแสงที่ 1.1 Multiple X-ray Techniques ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดให้บริการด้วยสามเทคนิคหลัก ได้แก่ เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ เทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ และเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ สามารถนำมาใช้กับงานวิจัยได้หลากหลายสาขา อาทิ วัสดุศาสตร์ เคมี สิ่งแวดล้อม โลหการ และวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ

37 38 

ระบบลำเลียงแสงที่ 1.2 X-ray Tomographic Microscopy เป็นระบบลำเลียงแสงที่ให้บริการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติด้วยแสงซินโครตรอน โดยไม่ต้องตัดหรือย้อมสีตัวอย่าง เหมาะสำหรับนำไปใช้วิเคราะห์ โครงสร้าง ความพรุน รอยแตกร้าว เส้นทางการไหล รวมถึงเฟสที่แตกต่างในวัสดุคอมโพสิต

 32 33  

และระบบลำเลียงแสงที่ 1.3 Small and Wide Angle X-ray Scattering สร้างจากความร่วมมือระหว่างสถาบันและ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด เป็นระบบลำเลียงแสงที่ใช้สำหรับบันทึกปรากฎการณ์การกระเจิงรังสีเอกซ์ ทั้งมุมแคบและมุมกว้าง ซึ่งจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปร่างและขนาดโครงสร้างระดับนาโนเมตร ลงไปถึงระดับอังสตรอม ช่วยให้นักวิจัยสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับคุณสมบัติของสาร เช่น ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น หรือลักษณะการทำปฏิกิริยากับสารอื่นเป็นต้น

10 11 

ในโอกาสนี้ ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการ ผลการดำเนินงานต่างๆ ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน อาทิ โครงการเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนเครื่องใหม่ที่ระดับพลังงาน 3 GeV ณ วังจันทร์วัลเล่ย์ จ.ระยองโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาคสำหรับประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ เกษตร และอุตสาหกรรม และโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาเครื่องเคลือบกระจกสำหรับโครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์เชเรนสคอฟ เป็นต้น

16 58

จากการพัฒนาเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนกว่า 20 ปี สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ประสบความสำเร็จทั้งด้านพัฒนาคน และเทคโนโลยี

ผลิตผลงานวิจัยจากการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน ที่ครอบคลุมในทุกด้าน ตอบโจทย์วิจัยจากทั้งภาครัฐและเอกชน จนสามารถสร้างเป็นนวัตกรรมให้กับประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน