มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาเนื้อไก่โคราชซึ่งมี รศ.ดร.อมรรัตน์ โมฬี อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และหัวหน้าโครงการ จัดการประชุมสัมมนานานาชาติ หัวข้อ “Chicken Embryonic Stem Cell and Synchrotron Light Technology for Jumping the s curve of Chicken Production Technology” ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา
โดยมี ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนกล่าวปาถกฐาพิเศษในหัวข้อ “Sycnhrotron Light, role in jumping the s curve of research and innovation” และ ดร.กาญจนา ธรรมนู นักวิทยาศาสตร์สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนและนักวิจัยในโครงการ มาร่วมเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “The emergence of Synchrotron Light for biochemical application” ซึ่งการประชุมในครั้งนี้เป็นการะประชุมนานาชาติที่มุ่งสร้างเครือข่ายในการพัฒนางานวิจัย Chicken Embryonic Stem Cell เพื่อสร้างการแข่งขันระดับระเทศร่วมด้วยนักวิชาการชื่อเสียงระดับโลกจากญี่ปุ่น ฝรั่งเศสและเกาหลี
การพัฒนาไก่โคราชจำเป็นต้องค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่มาพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพันธุ์และอาหารไก่แบบก้าวกระโดดบน S curve เพื่อนำไปสู่การเป็นที่หนึ่งในธุรกิจพันธุ์ไก่ (slow growing chicken) ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่ง Chicken embryonic stem cell (CES) เป็นการทำงานด้านพันธุกรรมที่จะพัฒนาไก่ไปตามลักษณะพึงประสงค์ที่รวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อผนวกกับเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ซึ่งเป็นแสงที่มีพลังงานงานสูงและสามารถศึกษาในระดับอะตอมโดยไม่ทำลายตัวอบ่าง จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้าน stem cell ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การวิจัยด้านไก่โคราชระหว่างซินโครตรอนและ มทส. ที่ผ่านมาได้ประสบความสำเร็จในการจำแนกไก่เนื้อโคราชจากไก่สายพันธุ์ทางการค้าและไก่พื้นเมืองด้วยเทคนิคจุลทรรศน์อินฟราเรด ทำให้พบว่าไก่เนื้อโคราชมีปริมาณไขมันและคาร์โบไฮเดรตต่ำกว่าไก่ทั้งสองสายพันธุ์ ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการป้องกันการเลียนแบบเนื้อไก่ โดยได้นำร่องทดสอบในไก่เนื้อโคราช ซึ่งเป็นไก่ภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนาสายพันธุ์ไก่เนื้อโคราช เพื่อการผลิตเป็นอาชีพวิสาหกิจชุมชนระยะที่ 1” เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพของกลุ่มเกษตรกร ทั้งยังสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าและเป็นทางเลือกในการบริโภคได้อีกด้วย