n

          วันนี้ (15 ก.ย. 57) รศ.ดร.วีระพงษ์  แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำคณะผู้บริหารกระทรวงฯ ให้การต้อนรับ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคนใหม่  โดยในช่วงเช้า รมว.วท. พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงได้ถวายสักการะพระราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 4 บริเวณหน้ากระทรวงฯ หลังจากนั้น รมว.วท. ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน

             ในโอกาสนี้ ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันฯ และนายเมธี โสภณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ นำของที่ระลึกมอบให้ท่าน รมว.วท. เพื่อเป็นการแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งในวาระนี้ และรับฟังนโยบายจากท่านรัฐมนตรีฯ โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงฯ เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง

Host by www.slri.or.thHost by www.slri.or.th
Host by www.slri.or.thHost by www.slri.or.th

          ตามที่ได้มีการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี โดย พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557 ที่ผ่านมานั้น รัฐบาลได้แบ่งนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเป็น 11 ด้าน โดยยึดตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 สานต่องานของ คสช. และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งนโยบายของรัฐบาล ได้ให้ความสำคัญต่อวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เป็นหนึ่งใน 11 ด้าน ซึ่งอยู่ในข้อที่ 8 การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม โดยให้ความสำคัญต่อการวิจัย การพัฒนาต่อยอดและการสร้างนวัตกรรมเพื่อนำสู่การผลิตและบริการที่ทันสมัย ดังนี้

       1.สนับสนุนการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย ให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของรายได้ประชาชาติและมีสัดส่วนรัฐต่อเอกชน 30:70 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันและมีความก้าวหน้าทัดเทียม กับประเทศอื่นที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงกัน และจัดระบบบริหารงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรมที่มีเอกภาพและประสิทธิภาพ โดยให้มีความเชื่อมโยงกับภาคเอกชน
    
    2.เร่ง เสริมสร้างสังคมนวัตกรรม โดยส่งเสริมระบบการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ การผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลน การเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้กับการทำงาน การให้บุคลากรวิจัยภาครัฐสามารถไปทำงานในภาคเอกชน และการให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมมีช่องทางได้เทคโนโลยีโดยความร่วม มือจากหน่วยงานและสถานศึกษาภาครัฐ

        3.ปฏิรูป ระบบการให้สิ่งจูงใจ ระเบียบและกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการนำงานวิจัยและพัฒนาไปต่อยอดหรือใช้ ประโยชน์ รวมทั้งส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาการวิจัยและพัฒนาในระดับภูมิภาคหรือกลุ่ม จังหวัด เพื่อให้ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น ผลักดันงานวิจัยและพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน

     4.ส่ง เสริมให้โครงการการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น ด้านพลังงานสะอาด ระบบราง ยานยนต์ ไฟฟ้า การจัดการน้ำและขยะ ใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมของไทยตามความเหมาะสม ไม่เพียงแต่จะใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ ส่งเสริมการใช้เครื่องมือ วัสดุ และสินค้าอื่นๆ ที่เป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาภายในประเทศในวงกว้าง โดยจัดให้มีนโยบายจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เอื้ออำนวย เพื่อสร้างโอกาสการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศ ในกรณีที่จำเป็นจะต้องจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ก็จะให้มีเงื่อนไขการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต

     5.ปรับ ปรุงและจัดเตรียมให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการวิจัยและพัฒนา และด้านนวัตกรรมซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาที่สำคัญในการต่อยอดสู่การ ใช้เชิงพาณิชย์ของภาคอุตสาหกรรมให้มีความพร้อม ทันสมัย และกระจายในพื้นที่ต่างๆ เช่นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การตั้งศูนย์วิเคราะห์ ห้องปฏิบัติการ สถาบันและศูนย์วิจัย เป็นต้น

     
Host by www.slri.or.thHost by www.slri.or.th

      ทั้งนี้ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.พิเชฐ  ดุรงคเวโรจน์ ได้มอบนโยบายให้แก่คณะผู้บริหาร 15 หน่วยงานของกระทรวงและคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่กำกับดูแลหน่วยงานในกระทรวง เน้นให้ทุกหน่วยงานของกระทรวงมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการปฏิรูปให้เป็น รูปธรรม เน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างวางรากฐานการพัฒนาและใช้ประโยชน์ จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้เกิดความยั่งยืนโดยการดำเนินงานต้องมีการบูรณาการกันทั้งภาย ในและระหว่างกระทรวง ร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ของประเทศ
ดร.พิเชฐ  ดุรงคเวโรจน์ ได้กล่าวว่า จากกรอบเวลาในการบริหารงานอันสั้นถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลและกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะดำเนินการ โดยเฉพาะการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เริ่มดำเนินการขั้นต้นไปแล้ว คือ การจัดเวทีปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อให้ได้แนวทางการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศทุกพื้นที่และทุกภาค ส่วน

        ทั้งนี้ การปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในเชิงโครงสร้างไว้ 3 ส่วน ประกอบด้วย การแสวงหาจุดร่วมในแผนพัฒนาระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับกระทรวง จนถึงรายสาขามีจุดร่วมที่เน้นการสร้างและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม การปรับโครงสร้างการกำกับดูแลและบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้มีความต่อเนื่องและมีการตัดสินใจในระดับสูง และการปรับโครงสร้างการจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มีประสิทธิผลสูงสุด  โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
    1) การกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่สามารถนำนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีมาเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทั้งในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ
     2) การสร้างเงื่อนไขการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของประเทศเพื่อให้มีการพัฒนาวิทยา ศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยไปพร้อมๆ กัน เช่น การลงทุนในระบบราง การบริหารจัดการน้ำ หรือพลังงานสะอาด เป็นต้น
       3) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

    นอก จากนี้ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ได้เร่งรัดให้ผู้บริหารหน่วยงานและคณะกรรมการที่กำกับดูแลหน่วยงานในกระทรวง เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ  จัดให้มีการบูรณาการภายในและระหว่างกระทรวง และรายงานผลการดำเนินการทุก 3 เดือน  ในตอนท้าย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กล่าวสรุปนโยบาย 3 ข้อ ที่มอบให้กับผู้บริหารและคณะกรรมการที่กำกับดูแลหน่วยงานในกระทรวงถือ ปฏิบัติ ประกอบด้วย
      1.  ทุกหน่วยงานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวเพื่อร่วมกันผลักดันการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศอย่างจริงจังรวดเร็ว วางรากฐานเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
       2.   เห็นผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการประชาชนและสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
       3.   ทำงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้