สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ซินโครตรอนอาเซียน ครั้งที่ 6 (The 6th ASEAN Synchrotron Science Camp) ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2560 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จ.นครราชสีมา
กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายกับสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ผ่านความร่วมมือในการศึกษาวิจัยและพัฒนา อีกทั้งเพื่อให้นิสิต นักศึกษา เข้าใจถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ซึ่งในปีนี้สถาบันฯ ได้รับการตอบรับการเข้าร่วมจากกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างมาก โดยมีนักศึกษาอาเซียนเข้าร่วมกว่า 62 คน ประกอบไปด้วย ประเทศพม่า เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และนักศึกษาไทย 18 คน รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นกว่า 80 คน
กิจกรรมค่ายฯในครั้งนี้เป็นการถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ทั้งในส่วนของภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ประกอบไปด้วยการเรียนรู้ผ่านการบรรยายหัวข้อพิเศษด้านเทคโนโลยีนิวตรอน ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวิทยาการจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) การบรรยายเทคนิคต่างๆด้านแสงซินโครตรอนโดยนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันฯ อีกทั้งมีการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรจากสถาบันชั้นนำในไทยและต่างประเทศ อาทิ Dr. Daniel Hausermann จาก Australian Synchrotron บรรยายในหัวข้อ “Why you should not build a Medical Beamline at the SLRI” และการบรรยายโดย รศ.ดร.กิตติวิทย์ มาแทน จากมหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อ “Applications of neutron scattering in the study of magnetic systems นอกจากนี้ยังได้เป็นเวทีให้นักศึกษาที่ได้รับทุนโปรแกรมภาคดูร้อน CERN และ DESY และ HGS-HIRe มาร่วมแชร์ประสบการณ์ในเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการในสถาบันวิจัยระดับโลก
ในส่วนของการทำภาคปฏิบัติ เป็นการแบ่งกลุ่มย่อยทำปฏิบัติการตามสถานีทดลองต่างๆ เพื่อฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม อาทิ the Secret of Sapphires, Microtomography of our skeleton: An inside look at bone, SAXS analysis of gold nanoparticle, Structural-related photovotaic property of titamium dioxide studied by X-Ray absorption spectroscopy and cyclic votammetry, Characterizes the diamond-like carbon (DLC) films by using XPS and NEXAFS techniques, Surface Analysis with Photoemission and Low Energy Electron Microscope, Synchrotron based FTIR microspectroscopy and its advantage, the study of the uptake and distribution of Zn element in bean sprout, Protein X-ray diffraction, Radio Frequency Technology for Accelerator, Magnet Technology และ SLRI Beam Test Facility เป็นต้น ในโอกาสนี้ยังได้ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้กระบวนการนำเสนอผลงาน ด้วยการรายงานกลุ่มต่อที่ประชุมนักวิจัยพี่เลี้ยง และผู้เข้าร่วมกิจกรรมในด้านประสบการณ์การเรียนรู้และความประทับใจในการเข้ารว่มค่ายฯในครั้งนี้อีก