สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการประชุมงานวิจัยแสงซินโครตรอนแห่งภาคพื้นเอเชีย-โอเชียเนีย ครั้งที่ ๖

aof2

            เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2555 เวลา 16.30 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปยัง โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ ปาร์ค กรุงเทพ

มหานคร ทรงเปิดการประชุมงานวิจัยแสงซินโครตรอนแห่งภาคพื้นเอเชีย-โอเชียเนีย ครั้งที่ ๖ : 6th Asia-Oceania Forum for Synchrotron Radiation Research (AOFSRR 2012)” จัด

ขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 12 สิงหาคม 2555 ซึ่งประเทศไทยโดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

ในอกาสนี้ ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศาสตราจารย์ไพรัช ธัชยพงษ์ พร้อมคณะผู้บริหารของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

ศาสตราจารย์ มูน ฮอ ลี ประธานคณะกรรมการซินโครตรอนภาคพื้นเอเชีย-โอเชียเนีย และศาสตราจารย์ เฮลหมุด ดอชช์ ประธานบริหารสถาบันวิจัยซินโครตรอนเดซี ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐ

เยอรมัน ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จ

aof3  aof4

          ทรงประทับพระราชอาสน์ ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตรและเอกสารประกอบการประชุม

ทรงเป็นองค์ประธานการลงนามบันทึกความร่วมมือความเข้าใจทางวิชาการ ระหว่าง สถาบันวิจัยซินโครตรอนเดซี (Deutsches Elektronen-Synchrotron DESY) ประเทศสหพันธ์

สาธารณรัฐเยอรมัน กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดยมีเป้าหมายเพื่อร่วมกัน

ดำเนินกิจกรรมสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นด้านฟิสิกส์เครื่องเร่งอนุภาค การใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน เพื่อการวิจัยพื้นฐาน และวิจัย

ประยุกต์

aof6  aof5

             ทรงมีพระราชดำรัสเปิดการประชุม งานวิจัยแสงซินโครตรอนแห่งภาคพื้นเอเชีย-โอเชียเนีย ครั้งที่ ๖ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยประเทศสมาชิกเวียนกันเจ้าภาพ เพื่อเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ ความร่วมมือเพื่อพัฒนาบุคลากร การพัฒนาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านแสงซินโครตรอนระหว่างนักวิจัยประเทศสมาชิก

             จากนั้น เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการ “แสงซินโครตรอนกับการศึกษาผลงานวิจัยกระจกเกรียบวัดพระศรีรัตนศาสดาราม” โดยนักวิจัยได้ใช้แสงซินโครตรอนศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและโครงสร้างอะตอมของกระจกเกรียบโบราณของไทย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำกระจกเกรียบยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นขึ้นมาใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมือนเดิม เพื่อการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการของ AOFSRR โครงการเกี่ยวกับการศึกษา ฝึกอบรมและพัฒนานักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ด้านแสงซินโครตรอน ผลงานวิจัยด้านแสงซินโครตรอนในรอบปีที่ผ่านมา ครอบคลุมงานด้านฟิสิกส์ ชีวะวิทยา เคมี และวัสดุศาสตร์ จากนักวิจัยภาคพื้นเอเชีย-โอเชียเนีย กว่า ๒๐๐ คน

aof1

           สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตแสงซินโครตรอนในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย (Asia and Oceania) เมื่อปี 2549ประกอบด้วย สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน สาธารณรัฐเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และประเทศไทย ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ การร่วมมือพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร และการพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านแสงซินโครตรอนร่วมกัน โดยกลุ่มสมาชิกได้กำหนดให้มีการประชุม “เวทีวิจัยด้านแสงซินโครตรอนภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย (Asia-Oceania Forum for Synchrotron Radiation Research หรือ AOFSRR)” ขึ้นเป็นประจำทุกปี และในปี พ.ศ. 2555 นี้ สถาบันฯ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม AOFSRR ครั้งที่ 6 ขึ้นที่ประเทศไทย ในวันที่ 8-12 สิงหาคม 2555 ซึ่งถือเป็นการประชุมที่สำคัญในระดับนานาชาติของนักวิจัยด้านแสงซินโครตรอน ครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จำนวนกว่า 200 คน โดยจัดให้มีกิจกรรมบรรยายพิเศษเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแสงซินโคร ตรอน เครื่องเร่งอนุภาค และการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน โดยนักวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับโลกได้นำเสนอพัฒนาการเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนสู่รุ่นที่ 4 Free Electron Laser จาก Prof. Moonhor Ree ห้องปฏิบัติการแสงซินโครตรอน Pohang Light Source ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้และเป็นประธาน AOFRSS, Prof. Helmut Dosch ห้องปฏิบัติการวิจัย DESY ประเทศเยอรมนี และ Prof. Tetsuya Ishikawa ห้องปฏิบัติการแสงซินโครตรอน SPring-8 ประเทศญี่ปุ่น ห้องปฏิบัติการแสงซินโครตรอนที่มีความก้าวหน้าและใหญ่ที่สุดในโลก การเสนอผลงานวิจัยเด่นที่ครอบคลุมทางด้าน ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และวัสดุศาสตร์ การเสนอผลความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสมาชิกต่อที่ประชุม