003 20150615 164518

         กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.)ร่วมกับ 2 องค์กรวิทยาศาสตร์ชั้นนำของไทย สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ผนึกกำลังสานต่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับ เซิร์น (CERN) หวังสร้างโอกาสนักวิจัยไทย สัมผัสห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ระดับโลก

Host by www.slri.or.thHost by www.slri.or.th


         ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการ สซ. เปิดเผยว่า  “องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป หรือ “เซิร์น” เป็นหนึ่งในสถาบันวิจัยทางฟิสิกส์ชั้นนำของโลกที่นักวิทยาศาสตร์หัวกะทิของมนุษยชาติไปรวมตัวกันเพื่อค้นหาคำตอบของจักรวาลผ่านอนุภาคเล็กๆ  และด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงสนพระทัยในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเซิร์น เห็นได้จากการที่พระองค์ท่านเสด็จเยือนเซิร์นถึง 4 ครั้ง และทางเซิร์นได้ กราบบังคมทูลถวายทุนให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของประเทศไทยไปศึกษาดูงานที่เซิร์น จำนวน 12 ทุน  โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น จำนวน 3  ทุน และครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น จำนวน 3 ทุน นับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับทุนร่วมสัมผัสประสบการณ์การทำงานกับนักวิจัยระดับโลก สร้างแรงบันดาลใจให้ในการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองต่อไป  ซึ่งคณะกรรมการจะคัดเลือกผู้ที่มีศักยภาพและคุณสมบัติเหมาะสม นำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงคัดเลือกในขั้นตอนสุดท้าย”


Host by www.slri.or.thHost by www.slri.or.th


         “เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา คณะผู้บริหาร ฝ่ายไทยนำโดย ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์  รองประธานกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการ สซ. รศ.ดร.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการ สดร. และ ดร.วิภู รุโจปการ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประชุมหารือแผนความร่วมมือ ณ เซิร์น สมาพันธรัฐสวิส โดยมี Prof.Emmanuel Tessimilis ให้การต้อนรับ การประชุมในครั้งนี้ ได้มีข้อสรุปแนวทางที่ประเทศไทยจะทำความร่วมมือ ในกรอบ 7 initiatives ของ CERN ได้แก่  1) การออกแบบ Medical Accelerator 2) การพัฒนา Biomedical Facility 3) Detectors and Beam Control  4) Diagnosis and Dosimetry for Radiation Control  5) Radio-isotopes and Imaging  6) Large Scale Computing (Therapy Planning)  7) Others Related to Medical Applications และ จะเน้นความร่วมมือในการอบรมนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก หรือ Postdoc และยิ่งไปกว่านั้นยังจะได้มีการลงนาม MOU ระหว่าง สซ. กับ Accelerators for Medical Applications Project ของ CERN ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ต่อไป” ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการ สซ. กล่าวทิ้งท้าย

Host by www.slri.or.thHost by www.slri.or.th
Host by www.slri.or.thHost by www.slri.or.th
Host by www.slri.or.thHost by www.slri.or.th
Host by www.slri.or.thHost by www.slri.or.th
Host by www.slri.or.thHost by www.slri.or.th
Host by www.slri.or.thHost by www.slri.or.th
Host by www.slri.or.thHost by www.slri.or.th



ส่วนงานประชาสัมพันธ์  เบอร์ 0-4421-7040 ต่อ 1601,1252  โทรสาร 0-4421-7047
อีเมลล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.