DSC 0094-re

        

         ซินโครตรอน กระทรวงวิทย์ฯ ประสบผลสำเร็จในการขยายกิจกรรมสู่อาเซียน จัด“ค่ายวิทยาศาสตร์ซินโครตรอนอาเซียน” ครั้งที่ 2 เปิดห้องปฏิบัติการแสงสยามให้นักศึกษาทั้งไทยและ 10 ประเทศสมาชิกกว่า 100 คน ร่วมสัมผัสเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนแห่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค หวังนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ร่วมสรรค์สร้างงานวิจัยด้วยแสงซินโครตรอน

         ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่มีภารกิจหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน เพื่อให้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงที่เอื้อต่อการพัฒนางานวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆสู่สังคม โดยทางสถาบันฯเป็นที่ตั้งของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งเดียวของไทยและ ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และห้องปฏิบัติการแสงสยามยังเป็นศูนย์กลางใน ภูมิภาคอาเซียนด้วย โดยมีสถานีทดลองทั้งหมด 10 สถานี และสามารถขยายเพิ่มได้อีกเพื่อรองรับงานวิจัยในหลากหลายสาขาวิชาที่ครอบคลุม ตั้งแต่วิทยาศาสตร์พื้นฐานไปถึงวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งที่ผ่านมากิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์แสงสยามได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดย มุ่งสร้างกำลังคนตั้งแต่ระดับเยาวชน ปริญญาตรี ไปจนถึงปริญญาเอก เพื่อเปิดมุมมองการเรียนการสอนสำหรับเทคโนโลยีระดับสูง การร่วมปฏิบัติการทดลองจริง รวมถึงเกิดการถ่ายทอดประสบการณ์วิจัยจากนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง

        โดยในปีนี้ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) ได้จัดค่ายวิทยาศาสตร์ซินโครตรอนอาเซียน ครั้งที่ 2 (The 2nd ASEAN Synchrotron Science Camp) ซึ่งประกอบไปด้วย นักศึกษาระดับปริญญาตรี ถึงปริญญาเอกของประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน รวมจำนวนกว่า 100 คน ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม อาคารสิรินธรวิชโชทัย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จังหวัดนครราชสีมา โดยกิจกรรมนี้จัดต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน ตั้งแต่ วันที่ 29 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2556

         ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในปีนี้ ทางสถาบันฯมีเป้าหมายขยายฐานการสร้างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ไปสู่ประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียน เพื่อต้อนรับการเข้าสู่ AEC โดยมี ประเทศที่ตอบรับเข้าร่วมกิจกรรม อาทิ เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ได้มาสัมผัสกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในห้องปฏิบัติการวิจัยระดับ ภูมิภาคอาเซียนแห่งนี้ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ก่อ ให้เกิดการสร้างเครือข่ายกับสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มในประเทศสมาชิกอาเซียน ผ่านความร่วมมือในการศึกษาวิจัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา และจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน ซึ่งสถาบันฯ มุ่งขยายฐานการให้บริการแสงซินโครตรอนสู่สมาคมวิจัยอาเซียนในอนาคต


 DSC 0080-re DSC 0120-re

DSC 0298-re DSC 0348-re

DSC 0409-re DSC 0425-re

DSC 4154-re DSC 4360-re

DSC 4177-re DSC 4391-re