169092366 3963752873672027 5594335710827148388 n

 

      6 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ จับมือ 6 สถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรม เกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศไทย สร้าง “ดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศ พัฒนาคน พัฒนาชาติ เปลี่ยนประเทศจาก “ผู้ซื้อ” เป็น “ผู้สร้าง” พร้อมดึงเอกชน หนุนสตารท์อัพ ยกระดับอุตสาหกรรมไทย สร้างแรงบันดาลใจให้คนในชาติ

  169486295 3963752853672029 8319838418378819902 n 169256863 3963752997005348 8509924445488753738 n

   ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานเลขานุการภาคีฯ กล่าวว่า ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย มีเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร ยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงในประเทศไทย การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จะเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรรุ่นใหม่ ได้ร่วมกันสร้างและพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กโดยใช้องค์ความรู้ภายในประเทศ เรียนรู้ ลงมือทำโดยตรง ทดสอบและควบคุมการใช้งานโดยฝีมือคนไทย รวมถึงออกแบบ และสร้างอุปกรณ์ Payload เพื่อใช้งานด้านต่างๆ เช่น กล้องถ่ายภาพที่มีความสามารถในการถ่ายภาพในหลายความยาวคลื่น สามารถประยุกต์ใช้กับด้านการเกษตร การใช้พื้นที่ของประชากร และบรรยากาศ

 168998989 3963752850338696 2098247763903696553 n 168994012 3963752863672028 336647351796983079 n

      "เราใช้กระบวนการพัฒนาดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ เป็นความท้าทายในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศในประเทศไทย ยกระดับขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมอวกาศของไทย และสร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้ให้กับคนในชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศ ร่วมแรงร่วมใจพลิกโฉมประเทศไทยให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง โครงการนี้ถือเป็นวาระแห่งชาติที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เป็นโจทย์ที่ท้าทายการยกระดับองค์ความรู้ ของประเทศที่สำคัญมาก และจะพลิกโฉมประเทศไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

168953515 3963753073672007 3997379133610565801 n 168882524 3963753067005341 5232248150784561714 n

          ทั้ง 12 หน่วยงาน จะมีบทบาทสนับสนุนการทำงานของภาคีฯ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 5 ด้าน ได้แก่ งานวิศวกรรม งานแอปพลิเคชั่น งานวิจัยและพัฒนา งานสนับสนุนการศึกษา และงานสนับสนุนภาค อุตสาหกรรม โดยใช้โครงสร้างพื้นฐาน ห้องปฏิบัติการ ความเชี่ยวชาญ และกำลังคนที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่"

          "นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า ตลาดอุตสาหกรรมอวกาศทั้งโลกจะมีมูลค่าประมาณ 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นมูลค่าหลายเท่าของตลาดเซมิคอนดักเตอร์ในปัจจุบัน นับได้ว่าอุตสากรรมอวกาศอยู่ในช่วงขาขึ้น และไทยต้องใช้ห้วงเวลานี้ตักตวงโอกาสพัฒนาศักยภาพการผลิตให้ทันท่วงที เมื่อ 30 ปีก่อนไทยตกขบวนเซมิคอนดักเตอร์ แต่วันนี้เราจะไม่ตกขบวนอวกาศ" ดร. ศรัณย์ กล่าวปิดท้าย

169295240 3963752847005363 6930096251607062108 n 168718325 3963753023672012 7563149390891142844 n

      ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม ประธานในพิธี กล่าวว่า เทคโนโลยีอวกาศ โดยเฉพาะดาวเทียม เป็นสิ่งที่เราใช้ประโยชน์กันมายาวนานเป็นปกติกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร ดู ถ่ายทอดรายการสด และต่อไปในอนาคต อันใกล้เรื่องของ internet of things ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนจากเทคโนโลยีจาก เสาสัญญาณ มาเป็นส่งสัญญาณจากดาวเทียม ที่กว้างไกลและครอบคลุมกว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราอุปโภคกันเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการใช้เทคโนโลยีที่ซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท และในบางกรณีข้อมูลเชิงพื้นที่ก็เกี่ยวข้องกับความมั่นคงที่ไม่สามารถหาซื้อได้ ดังนั้นประเทศไทยควรจะต้องพึ่งพาตัวเองได้ในเทคโนโลยีอวกาศอย่างยั่งยืน เทคโนโลยีอวกาศ เช่น ดาวเทียมที่เป็น earth observation และยานอวกาศที่จะส่งไปโคจรรอบดวงจันทร์ล้วนเป็นเรื่องที่ยาก ท้าทาย และ ผิดพลาดไม่ได้ เรื่องนี้ยิ่งใหญ่เกินกว่าคนๆ เดียว หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะรับมือได้ จำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และความร่วมมือจากหลายฝ่าย ที่จะนำองค์ความรู้ ความสามารถและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ มาร่วมทำงานให้เกิด ผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม แม้หนึ่งในเป้าหมายของ TSC คือไปดวงจันทร์ สิ่งที่เป็น output หลักคือผลพลอยได้ระหว่างทางไปเป้าหมายคือได้สร้างคนเก่ง สร้าง startup ที่จะเป็น seeds ของ supply chain ของ TSC สร้าง space economy ในประเทศให้เกิดขึ้นได้

    "วันนี้ ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นการผนึกกำลังเป็น ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย ของผู้เชี่ยวชาญ. ในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันอุดมศึกษา ที่จะร่วมมือกันพัฒนากำลังคน โครงสร้างพื้นฐาน และระบบนิเวศน์สำหรับพัฒนาเทคโนโลยีและเศรษฐกิจอวกาศของประเทศให้เกิดขึ้นและยืนหยัดต่อไปได้อย่างยั่งยืน"

168829324 3963753220338659 7414530701252326080 n 168656999 3963752920338689 6601468098845381113 n

    พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรม เกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564 ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม มาเป็นประธานในพิธีและร่วมเป็นสักขีพยาน มีหน่วยงานร่วมลงนามทั้งสิ้น 12 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ 6 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษา 6 แห่ง ดังนี้

1. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

2. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

3. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

6. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

7. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

8. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

9. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

10. มหาวิทยาลัยมหิดล

11. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

12. สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

168424567 3963752943672020 1447639240763990806 n 168488193 3963753017005346 1740138923444654 n 168901960 3963752913672023 6311769476236449438 n

168919210 3963752910338690 3450464247784663932 n 169084841 3963752937005354 6192475303231447713 n 169144559 3963753037005344 4493344707885268668 n

169409591 3963752993672015 3703659655256807998 n 169471511 3963753007005347 7975511342519632522 n 169650371 3963753003672014 386984834447129952 n

170018104 3963752897005358 3167816468817585195 n S 55353574 S 55353576

S 55353577 S 55353578 S 55353579

S 55353580 S 55353581 S 55353582

 

 

ข่าวโดย..