สืบเนื่องจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (สซ.) ได้มีการบันทึกความเข้าใจตกลงที่จะทำการวิจัยและพัฒนาในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องร่วมกัน ซึ่งโครงการจัดสร้างและพัฒนาระบบเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์สำหรับหอดูดาวแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติเป็นโครงการแรกที่ใช้ประโยชน์จากการบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โดยจะมีการร่วมกันจัดสร้างและพัฒนาระบบเคลือบฟิล์มบางในสุญญากาศสำหรับกระจกกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร ซึ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิล์มบางอลูมิเนียมที่เคลือบลงบนกระจกสะท้อนแสงจะมีความหนาประมาณ 80 นาโนเมตร และมีความเรียบสม่ำเสมอเพื่อให้มีสมบัติการสะท้อนแสงที่ดีตามความต้องการ ซึ่งจะต้องทำการเคลือบกระจกสะท้อนแสงอย่างน้อยทุกๆ สองปี

ศักยภาพของ สซ. ในการจัดสร้างและพัฒนาระบบเคลือบกระจกฯ

               การจัดสร้างระบบเคลือบฟิล์มบางดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ทางด้านเทคโนโลยี ตลอดจนฝีมือช่างทีสะสมมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงจะมีขีดความสามารถเพียงพอในการผลิตชิ้นงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ตลอดระยะเวลาไม่ต่ำกว่าสิบปี บุคลากร ของ สซ. ได้ออกแบบ พัฒนา จัดสร้างอุปกรณ์และเครื่องมือสุญญากาศระดับสูง (UHV) ทั้งนี้ได้ดำเนินการให้บริการแก่หน่วยงานภายใน และภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้น สซ. จึงมีศักยภาพเพียงพอในการจัดสร้างและพัฒนาระบบเคลือบกระจกดังกล่าว

2

แนวคิดเบื้องต้นในการออกแบบและพัฒนาระบบเคลือบกระจกฯ

               องค์ประกอบของหอดูดาวแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ มีกระจกสะท้อนแสงกล้องโทรทรรศน์ขนาด 2.4 เมตร ติดตั้งอยู่ภายใน ซึ่งจำเป็นต้องทำการเคลือบอลูมิเนียมใหม่ทุกๆ 1-2 ปี

 กระบวนการล้างและเคลือบกระจกฯ

4

5