image001

รูปที่ 1 แสดงภาพของโปรแกรมสำหรับควบคุมและเชื่อมต่อกับบอร์ดควบคุมหลัก

 

การพัฒนาโปรแกรมสำหรับควบคุมแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าสำหรับแม่เหล็ก 2 ขั้ว (Bending Magnet)

ของบูสเตอร์ซินโครตรอน (Booster Synchrotron)

เนื่องด้วยทางสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มีแผนเพิ่มศักยภาพการเร่งอนุภาคของบูสเตอร์ซินโครตรอนจากระดับพลังงาน 1.0 เป็น 1.2 กิกะอิเล็กตรอนโวลต์ (GeV) โดยภายใต้แผนดังกล่าวทางสถาบันฯ ได้จัดหาแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าสำหรับแม่เหล็ก 2 ขั้ว ของบูสเตอร์ซินโครตรอนตัวใหม่ ขนาด 1,700 แอมแปร์ 700 โวลต์ อัตราการทำงานทุก 3 วินาที จากบริษัท Danfysik ประเทศเดนมาร์ก

image002

รูปที่ 2 แสดงโปรแกรมสำหรับควบคุมหลัก ซึ่งถูกติดตั้งบนจอสัมผัส (Touch Screen)บริเวณหน้าเครื่องแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า

ในการนี้ทางสถาบันฯ ได้ร่วมมือกับ Danfysik พัฒนาโปรแกรมสำหรับควบคุมแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าขึ้นมาใหม่ โดยเลือกโปรแกรม National Instruments LabVIEW เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา ซึ่งตัวโปรแกรมได้แบ่งเป็นส่วนสำคัญ 2 ส่วน ส่วนแรกคือ โปรแกรมสำหรับควบคุมและเชื่อมต่อกับบอร์ดควบคุมหลัก ทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลระหว่างจอสัมผัส (Touch Screen) และบอร์ดควบคุมหลักยี่ห้อ Danfysik รุ่น System8500 ผ่านมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบอนุกรม RS-232 (รูปที่ 1 และ 2) และในส่วนที่สองเป็นโปรแกรมสำหรับควบคุมระยะไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยผ่านมาตรฐานของการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แบบ TCP/IP และในการใช้งานจริงตัวโปรแกรมนี้ถูกติดตั้งไว้ที่ห้องควบคุม เพื่อให้ผู้ดูแลระบบเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนสามารถควบคุมและตรวจสอบสถานะของแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า ดังแสดงในรูปที่ 3

image004

รูปที่ 3 โปรแกรมสำหรับควบคุมระยะไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ทางสถาบันฯ ได้ดำเนินการทดสอบการทำงานและประสิทธิภาพของโปรแกรมทั้งสองส่วนดังที่กล่าวมาข้างต้นกับเครื่องแหล่งจ่ายกำลังตัวจริง ที่บริษัท Danfysik เมือง Taastrup ประเทศเดนมาร์ก (รูปที่ 4) ก่อนที่จะดำเนินการส่งเครื่องมาติดตั้งและใช้งานจริงที่ประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม 2558 (รูปที่ 5)

image006

รูปที่ 4 ทีมงานของสถาบันฯ และบริษัท Danfysik ร่วมกันทดสอบการทำงานและโปรแกรมควบคุม

ณ บริษัท Danfysik เมือง Taastrup ประเทศเดนมาร์ก

image008

รูปที่ 5 ทีมงานของสถาบันฯ และผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท Danfysik ถ่ายรูปร่วมกันหลังจากได้ติดตั้งและทดลองใช้งานสำเร็จ

ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จังหวัดนครราชสีมา

image010 image012 image014

image016

แบบขาตั้งสำหรับยึดจอ Touch Screen