“XAS Application for Advanced Chemical and Structural Analyses”
การประยุกต์ใช้เทคนิค XAS เพื่อการวิเคราะห์เชิงลึก สำหรับองค์ประกอบธาตุและโครงสร้างของสารประกอบ
ในวันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ 2559
ณ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ความสำคัญและที่มาของโครงการ
ด้วย ระบบลำเลียงแสงที่ 8 สำหรับเทคนิค X-ray Absorption Spectroscopy (XAS) ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้เปิดให้บริการทางด้านเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์แก่นักวิจัยในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 จากการปรับปรุงทางเทคนิคการตรวจวัดมาอย่างสม่ำเสมอและการสะสมประสบการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ที่ดูแลระบบลำเลียงแสง ทำให้ขณะนี้สถานการณ์ให้บริการของสถานีวิจัย BL8: XAS อยู่ในระดับที่ได้รับการยอมรับจากเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้บริการในประเทศและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ โดยสเปกตรัมที่วัดได้มีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพสัญญาณเพียงพอต่อการวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุและโครงสร้างของสารประกอบขั้นสูง สามารถตรวจวัดองค์ประกอบธาตุที่มีความเข้มข้นต่ำได้ถึงระดับ 50 ppm ด้วยฟลักซ์ของโฟตอนสูงสุดในระดับ 1011 photon.s-1.100mA-1 โดยสารตัวอย่างไม่ถูกทำลายระหว่างการวัดและสามารถอยู่ได้ทั้งในสถานะของแข็งและของเหลว ในขณะนี้สามารถตรวจวัดได้สองระบบ คือ การตรวจวัดแบบส่องผ่านและการตรวจวัดแบบ
ฟลูโอเรสเซนส์
อย่างไรก็ดี เครือข่ายกลุ่มผู้ใช้บริการสำหรับเทคนิค XAS ยังคงสามารถขยายได้อีกมาก เนื่องจากเป็นเทคนิคที่ประยุกต์ใช้กับงานวิจัยได้หลากหลายสาขา ทั้งนี้ เพื่อรองรับการให้บริการแสง ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8: XAS ที่ยังคงมีอยู่ใกล้เคียงอย่างเพียงพอต่อกลุ่มผู้ใช้ใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งมีกลุ่มวิจัยและศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านต่างๆ อยู่หลายกลุ่ม แต่ยังมีผู้ใช้บริการเทคนิค XAS ในสัดส่วนน้อย ในการนี้ ได้เชิญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรนันต์ นาคบรรพต ผู้ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2552 สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษด้วย
เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ทางเทคนิคและสนับสนุนการเข้าถึงรายละเอียดสำหรับการประยุกต์ใช้ XAS สำหรับงานวิจัยในด้านต่างๆ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการที่ติดปัญหาด้านการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถนำข้อมูลที่วัดแล้วมาปรึกษาและเรียนรู้ตัวอย่างในการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม ดังนั้น กลุ่มนักวิจัยของสถานีวิจัย BL8: XAS จึงได้จัดกิจกรรมการอบรม “การประยุกต์ใช้เทคนิค XAS เพื่อการวิเคราะห์เชิงลึก สำหรับองค์ประกอบธาตุและโครงสร้างของสารประกอบ (XAS Application for Advanced Chemical and Structural Analyses)” ในระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2559 ณ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ให้กับกลุ่มอาจารย์และนักวิจัยที่สนใจ โดยมีหัวข้อที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
1. แนะนำแสงซินโครตรอน ระบบลำเลียงแสงที่ 8 และเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์
2. การประยุกต์ใช้ XAS ในงานวิจัยสาขาต่างๆ
3. การสาธิตการใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล Athena, Linear Combination Fit, Artemis
4. การวิเคราะห์สถานะออกซิเดชัน โครงสร้างโมเลกุล โครงสร้างผลึก โครงสร้างอสัณฐาน
5. การอภิปรายข้อซักถามและความเป็นไปได้ของโครงการวิจัยใหม่
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนของสถาบันในเทคนิค XAS
2. เพื่อให้คำปรึกษากับกลุ่มผู้ใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ภายหลังจากที่ได้สเปคตรัมจากการวัด
ณ ระบบลำลำเลียงแสงที่ 8
3. สร้างกลุ่มผู้ใช้รายใหม่ให้กับระบบลำเลียงแสง
4. เพื่อช่วยให้ผู้ใช้มีความชำนาญในการวิเคราะห์ข้อมูล XAS มากขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย 40 คน
1. นักวิจัยและอาจารย์ (วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก)
2. นักศึกษา (กำลังศึกษาระดับปริญญาโทและเอก)
กำหนดการ
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 |
|
08:30 - 09:00 น. |
ลงทะเบียน |
09:00 - 09:10 น. |
พิธีเปิด |
09:10 - 10:10 น. |
การบรรยายเรื่อง “แนะนำแสงซินโครตรอน ระบบลำเลียงแสงซินโครตรอน และเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (XAS)” |
10:10 - 10:55 น. |
การบรรยายเรื่อง "การประยุกต์ใช้ XAS ในงานวิจัยสิ่งแวดล้อม" |
|
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรนันต์ นาคบรรพต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
10:55 - 11:10 น. |
รับประทานอาหารว่าง |
10:55 - 12:00 น. |
การบรรยายเรื่อง “การประยุกต์ใช้ XAS ในงานวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์” |
12:00 - 13:00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13:00 - 14:00 น. |
การสาธิตการใช้โปรแกรม Athena เพื่อการประมวลผลข้อมูลเบื้องต้น |
14:00 - 14:30 น. |
การสาธิตการวิเคราะห์สถานะออกซิเดชันและโครงสร้างเคมีของธาตุดูดกลืนรังสีเอกซ์ด้วยโปรแกรม Athena |
14:30 - 14:45 น. |
รับประทานอาหารว่าง |
14:45 - 16:00 น. |
แบบฝึกหัดใช้โปรแกรม Athena |
16:00 - 16:30 น. |
แนะนำขั้นตอนการสมัครขอใช้บริการเทคนิค XAS ของระบบลำเลียงแสงที่ 8 และการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอให้บริการเทคนิค XAS |
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 |
|
09:00 - 10:30 น. |
การสาธิตการใช้โปรแกรม Artemis เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างอะตอมล้อมรอบธาตุดูดกลืนรังสีเอกซ์ |
10:30 - 10:45 น. |
รับประทานอาหารว่าง |
10:45 - 12:00 น. |
แบบฝึกหัดใช้โปรแกรม Artemis |
12:00 - 13:00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13:00 - 14:00 น. |
อภิปรายความเป็นไปได้ของโครงการวิจัยใหม่และแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคนิค XAS ในงานวิจัยของผู้เข้าร่วมอบรม |
14:00 น. |
ปิดการอบรม |