banner nu

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ยกทัพนักวิจัยเพื่อจัดสัมมนาวิชาการ "การประยุกต์ใช้รังสีเอกซ์จากแหล่งกำเนิดแสงซินโครตรอนเพื่องานวิจัยทางเคมี วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Synchrotron Radiation Applications: Special Session on Synchrotron-based X-ray Techniques for Chemistry, Materials Science, Earth and Environmental Science)" ในวันที่ 4-5 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการแนะนำและให้ข้อมูลการประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนในงานวิจัย

 กิจกรรมประกอบด้วย

  • การบรรยายที่เน้นการประยุกต์ใช้เทคนิครังสีเอกซ์กับวัสดุในสาขาวิชาที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เช่น วัสดุพอลิเมอร์ ตัวเร่งปฏิกิริยา วัสดุรูพรุน แร่ ฟอสซิล และวัสดุที่เป็น nanocomposite และที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ รวมถึงการใช้แสงซินโครตรอนเพื่อตอบโจทย์การทดลองที่ท้าทาย เช่น การทดลองแบบ in-situ การทำ elemental mapping และถ่ายภาพแบบ 3 มิติ
  • การหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการ และสร้างความร่วมมืองานวิจัยการใช้แสงซินโครตรอน ระหว่างนักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสงและผู้ร่วมงาน รวมถึงการแนะนำขั้นตอนการขอใช้บริการแสงซินโครตรอน และทำ proposal development workshop


วันเวลา/สถานที่ 

  • ในวันที่ 4 - 5 มีนาคม พ.ศ. 2561 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก


วัตถุประสงค์ 

  • เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนในการประยุกต์ใช้รังสีเอกซ์จากแหล่งกำเนิดแสงซินโครตรอนเพื่องานวิจัยทางเคมี วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอน ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม
  • สร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการเกี่ยวกับงานวิจัย


คุณสมบัติผู้สมัคร (จำนวน 60 คน)

  • นักวิจัยและอาจารย์
  • นักศึกษา (กำลังศึกษาระดับปริญญาโทและเอก)


กำหนดการรับสมัคร 
 

  • ปิดรับสมัคร ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562
  • ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกในวันที่ 1 มีนาคม 2562
  • กำหนดการจัดอบรมในวันที่ 4-5 มีนาคม 2562


ขั้นตอนการรับสมัคร
 

  • ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการ ฟรี ผ่าน http://beamapp3.slri.or.th/  (ลงทะเบียนสมัครสมาชิกผู้ใช้แสงซินโครตรอน สำหรับผู้ใช้ใหม่)


ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

  • นางสาวสรินธร ทองหอม ส่วนบริการผู้ใช้ เบอร์โทรศัพท์ 044-217-040 ต่อ 1605 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.


กำหนดการ

วันจันทร์ ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562
เวลา รายละเอียด
08:30 – 09:00น. ลงทะเบียน
09:00 – 09:20 น. กล่าวเปิดงานโดยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
09:20 – 09:45 น. การบรรยายในหัวข้อ “Looking inside matter with synchrotron: from micron to angstrom” โดย ดร.ศุภกร รักใหม่, นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง 1.3W:SAXS  
09:45 – 10:10 น. การบรรยายในหัวข้อ “In-situ characterization of material structures” โดย ดร.แพร จิรวัฒน์กุล, ผู้จัดการระบบลำเลียงแสง 1.1W:MXT
10:10 – 10:30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10:30 – 10:55 น. การบรรยายในหัวข้อ “Synchrotron radiation as a tool for polymer nano-structural characterization” โดย ดร.ศิริวัช สุนทรานนท์ , ผู้จัดการระบบลำเลียงแสง 1.3W:SAXS
10:55 – 11:20 น. การบรรยายในหัวข้อ “Modelling nanocomposite with small angle X-ray scattering” โดย ดร.ศุภกร รักใหม่ , นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง 1.3W:SAXS 
11:20 – 11:45 น. การบรรยายในหัวข้อ “Revealing into short- and long-range structural ordering in advanced porous materials using synchrotron-based techniques” โดย ดร.สุทธิพงษ์วรรณไพบูลย์, นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง 1.1W:MXT   
12:00 – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 13:25 น. การบรรยายในหัวข้อ “Beauty and dirty study of earth materials by XRF and XAS: Gem stones and environmental contaminations” โดย ดร.ชาตรี ไสยสมบัติ, นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง 1.1W:MXT   
13:25 – 13:50 น. การบรรยายในหัวข้อ “Imaging of elemental distribution in materials by micro-XRF technique” โดย ดร.จิตริน ชัยประภา, นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง 6b: XRF   
13:50 – 14:15 น. การบรรยายในหัวข้อ “3D visualization without cutting open your materials by X-ray microtomography” โดย ดร.ภัคนนันท์ ภัควนิตย์ , นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง 1.2W:XTM
14:25 – 14:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14:45 – 17:45 น. หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการ และสร้างความร่วมมืองานวิจัยการใช้แสงซินโครตรอนระหว่างนักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสงและผู้ร่วมงาน แบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.       Chemistry and materials science 2.       Earth and environmental science
วันอังคาร ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562
เวลา รายละเอียด
09:00 – 09:30 น. การบรรยายหัวข้อ ข้อเสนอโครงการวิจัยและขั้นตอนการขอใช้บริการแสงซินโครตรอน ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
09:30 – 12:00 น.

- ร่วมกันกำหนดข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอใช้บริการแสงซินโครตรอนระหว่างนักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสงกับกลุ่มผู้ใช้ 

- ร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาสถานีทดลองและอุปกรณ์ทดลองต่างๆให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการ