alt



สซ. ได้จัดกิจกรรม SPL Interdisciplinary Seminar (SiS) ครั้งที่18 ในหัวข้อ “Investigation of charge separation in semiconductor quantum dot layer systems by surface photovoltage” บรรยายโดย Miss Elisabeth Zillner จาก Helmholtz-Zentrum Berlin for Materials and Energy ณ สถาบัน- วิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2554 เวลา 15.00 . ห้องบรรยาย(A 402) ชั้น4 โซน A อาคารสิรินธร-        วิชโชทัย โดยมีนักวิจัย และบุคลากรสถาบันฯ สนใจเข้าฟังบรรยายครั้งนี้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

เนื่องจากสารกึ่งตัวนำควอนตัมดอทมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติด้านไฟฟ้าจึงเป็นตัวเลือกสำหรับการใช้งานในโฟโต้โวลทาอิก ความน่าสนใจของการใช้ควอนตัมดอทในเซลล์แสงอาทิตย์คือ การควบคุมการแยกประจุและการเคลื่อนย้ายประจุโฟโต้โวลต์เตจมีการตอบสนองไวมากในการแยกประจุซึ่งสามารถถูกตรวจสอบได้ทั้งชั้นเดียวหรือหลายๆ ชั้นโดยไม่ต้องมีการเตรียมของอุปกรณ์แคดเมียมซัลไฟด์ควอนตัมดอทถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบของระบบเพื่อตรวจสอบการแยกประจุเนื่องจากมีเสถียรภาพสูงและการสังเคราะห์ซ้ำหลายๆ ครั้งโดยเน้นศึกษาถึงผลกระทบของการดูแลรักษาพื้นผิวที่แตกต่างกันปฏิกิริยาของสารตั้งต้นและอิทธิพลของอุณหภูมิดังนั้นขนาด 5 นาโนเมตรถูกรักษาไว้ให้คงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงความหนาที่แตกต่างกันของชั้นต่างๆ (น้อยกว่า 1 ถึง15 ชั้น) บนสารตั้งต้นหลายๆ ชนิดถูกเตรียมไว้ผลของการศึกษาสารลดแรงตึงผิวหลายชนิดนำไปสู่การพบรอยตำหนิที่แตกต่างกันซึ่งเกิดบนควอนตัมดอท ระยะห่างของสารตั้งต้น และระหว่างชั้นของควอนตัมดอทจากการศึกษาการแยกประจุภายในอนุภาคการแยกประจุ-        ระหว่างควอนตัมดอท และการใส่ประจุเข้าไปยังสารตั้งต้นแสดงให้เห็นว่าการแยกประจุในระบบชั้นควอนตัมดอทขึ้นอยู่กับความหนาของโครงสร้างสารลดแรงตึงผิวที่มีเสถียรภาพซึ่งสังเกตได้จากความหนาแน่นการมีตำหนิบนพื้นผิวควอนตัมดอท นอกจากนี้การแยกประจุยังขึ้นอยู่กับการใช้สารตั้งต้นการศึกษาการแยกประจุ ณ อุณหภูมิที่แตกต่างกันให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการรวมกันของประจุและอุณหภูมิที่ต่างกันชั่วขณะหนึ่งสามารถทำปรับได้โดยการขยายเอ็กซ์โพเทนเชียลและใช้พลังงานการกระตุ้นที่ 0.9 อิเล็กตรอนโวลต์ซึ่งพบว่ามีการแยกของประจุภายในหนึ่งชั้นของควอนตัมดอทที่ดีเท่ากับการส่งผ่านประจุจากชั้นควอนตัมดอทไปสู่ชั้นถัดไปของแคดเมียมซัลไฟด์



 

alt