เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2554 สถาบันฯ ได้จัดกิจกรรม SPL Interdisciplinary Seminar (SiS) ครั้งที่14 ในหัวข้อ “การวัดการสับเปลี่ยนของโดเมนเฟร์โรอิเล็กทริก และเฟร์โรอิลาสติกในสารเลดเซอร์เนตไททาเนตภายใต้สนามไฟฟ้าและแรงเชิงกลโดยใช้ลำแสงเอ็กซเรย์ซินโครตรอน (In-situ measurement of ferroelectric and ferroelastic domain switching in lead zirconate titanate under electrical field and mechanical stress using synchrotron X-Ray)”  ณ ห้องบรรยาย 402 ชั้น4 โซน A อาคารสิรินธรวิชโชทัย โดยมีผู้บริหารสถาบันฯ และนักวิจัยสนใจเข้าฟังบรรยายครั้งนี้ โดยวิทยากร อ.ดร.สุดเขต พจน์ประไพ สาขาวิศวกรรมเซรามิก สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งเป็นผู้เข้าใช้บริการแสงซินโครตรอน ณ สถาบันฯ ได้นำเสนอเทคนิคที่ใช้ในการทดลอง 3 แบบ ซึ่งใช้ลำ-แสงเอ็กซเรย์ซินโครตรอนเพื่อศึกษาพฤติกรรมการสับเปลี่ยนของโดเมนเฟร์โรอิเล็กทรอนิกและเฟร์โรอิลาสติก โดยเก็บข้อมูลแบบ in-situ ดังต่อไปนี้

 

1.   การใช้เทคนิคลำแสงเอ็กซ์แบบเลี้ยวเบนในการเก็บข้อมูลแบบการแก้ปัญหาด้านเวลา (Time Resolved) โดยใช้วิธีสโตรโบสโคปิก(Stroboscopic) เพื่อเก็บข้อมูลของการสับเปลี่ยนโดเมนเฟร์โรอิเล็กทริกของสารเลดเซอร์โคเนตไททาเนต (PZT) ภายใต้สนามไฟฟ้ากระแสสลับ (ดำเนินการทดลอง ณ Advance Photon Source, Argonne National Laboratory, Chicago, USA)


2. การใช้เทคนิคลำแสงไมโครเอ็กซเรย์แบบเลี้ยวเบนในการเก็บข้อมูลแบบ in-situ เพื่อเก็บข้อมูลของการสับเปลี่ยนโดเมนเฟร์โรอิลาสทริกของสารเลดเซอร์โคเนตไท-ทาเนต (PZT) ภายใต้แรงเชิงกล (ดำเนินการทดลอง ณ Advanced Photon Source, Argonne National Laboratory, Chicago, USA)

3. การใช้เทคนิคลำแสงเอ็กซเรย์แบบดูดกลืนในการเก็บข้อมูลแบบ in-situ เพื่อศึกษาการบิดเบี้ยวของโครงสร้างหน่วยเซลล์ของสารเลดเซอร์โค-เนตไททาเนต(PZT) ภายใต้สนามไฟฟ้าแรงสูง (ดำเนินการทดลอง ณ Synchrotron Light Research Institute, Nakorn Ratchasima Thailand)


 

altalt

 

กิจกรรมนี้จึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เข้าใช้บริการแสงซินโครตรอนและนักวิจัยภายในสถาบันฯ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการสร้างงานวิจัยต่อไปในอนาคต

ส่วนงานบริการผู้ใช้