โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
การประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนกับการคำนวณโครงสร้างวัสดุสถานะของแข็งด้วยฟิสิกส์ทฤษฎี
Synchrotron Radiation Applications Workshop on Computational & Experimental Materials Physics (COMPEX2018)
ระหว่างวันที่ 23 – 24 กรกฎาคม 2561
ณ ห้อง 103 อาคารอำนวยการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) จังหวัดปทุมธานี
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก || แบบตอบรับเข้าร่วมการอบรม
ความสำคัญและที่มาของโครงการ
ตามที่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้สนับสนุนการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนเป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนสำหรับรองรับงานวิจัยของประเทศ ซึ่งประสบผลสำเร็จด้วยดีตลอดมา ทั้งนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 คณะผู้ดำเนินโครงการสนับสนุนการคำนวณโครงสร้างวัสดุสถานะของแข็งด้วยฟิสิกส์ทฤษฎี มีความประสงค์ที่จะดำเนินการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนกับการคำนวณโครงสร้างวัสดุสถานะของแข็งด้วยฟิสิกส์ทฤษฎี หรือ Synchrotron Radiation Applications Workshop on Computational & Experimental Materials Physics (COMPEX2018) ในระหว่างวันที่ 23 – 24 กรกฎาคม 2561 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) จังหวัดปทุมธานี ซึ่งกิจกรรมนี้จะประกอบไปด้วยการบรรยายวิชาการความรู้เบื้องต้นในการคำนวณโครงสร้างวัสดุสถานะของแข็งด้วยฟิสิกส์ทฤษฎีและการอบรมปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้งานการคำนวณโครงสร้างวัสดุสถานะของแข็งด้วยฟิสิกส์ทฤษฎี โดยใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์สมรรถนะสูงของสถาบันฯ ในการสนับสนุนและส่งเสริมการประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนในการวิจัย ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างศักยภาพของผู้ใช้ให้มีความชำนาญพื้นฐานในการใช้ทฤษฎีคำนวณ เพื่อการวิเคราะห์โครงสร้างวัสดุสถานะของแข็ง และยังสร้างเครือข่ายการวิจัยระหว่างนักคำนวณเชิงทฤษฎีและนักทดลอง เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการผลิตผลงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติหรือผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อสังคมและภาคอุตสาหกรรม
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากการคำนวณโครงสร้างวัสดุสถานะของแข็งด้วยฟิสิกส์ทฤษฎี เพื่อสนับสนุนการใช้แสงซินโครตรอนและพัฒนาความสามารถของผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ
2. พัฒนาความสามารถของผู้ใช้ในการวิเคราะห์ผลการทดลองจากการใช้แสงซินโครตรอน
3. สร้างกลุ่มผู้ใช้รายใหม่ให้กับสถาบันฯ
4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัย อาจารย์ ระหว่างนักคำนวณเชิงทฤษฎีและนักทดลอง
กลุ่มเป้าหมาย 50 คน
1. นักวิจัยและอาจารย์ (วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก)
2. นักศึกษา (กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี โทและเอก)
ตัวชี้วัด (Indicator)
1. ความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม (จากผลการประเมินแบบสอบถาม)
2. ผู้เข้าอบรมที่คาดว่าจะขอใช้บริการระบบลำเลียงแสง และคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ในฐานะผู้ใช้รายใหม่
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมการอบรม ได้ที่ E-mail Address : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โดยแจ้งข้อมูล ดังนี้
1. ชื่อ- นามสกุล
2. ระดับการศึกษา
3. คณะ
4. สถานศึกษา
5. E-mail address
6. หมายเลขโทรศัพท์มือถือ
7. ระบุชื่อการอบรม วันเวลา และสถานที่
กำหนดการรับสมัคร และ ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือก
- กำหนดการรับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 15 กรกฎาคม 2561
- ช่องทางการประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกใน วันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ทาง website : www.slri.or.th และทาง e-mail
ผู้ประสานงานโครงการ
ส่วนบริการผู้ใช้ ฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจองค์กร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
โทรศัพท์ 044-217-040 ต่อ 1602-1605 E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
กำหนดการ
Time | July 23, 2018 |
8:30 – 9:00 | Registration (Department of Engineering, TU) |
9:00 – 9:15 | Welcome (Assoc. Prof. Dr.Wanchai Phaijitrojana, TU) |
9:15 – 10:00 | Comp I: Structure Determinations: When Computations meet Experiments @SLRI (Dr.Wutthikrai Busayaporn, SLRI) |
10.00 - 11.00 | Exp I: Synchrotron X-ray Absorption Spectroscopy as an Advanced Characterization Technique in Materials Physics and Materials Science: an Experimental Approach (Prof. Dr.Rattikorn Yimnirun, VISTEC) |
11:00 – 11:15 | Break I |
11.15 - 12.00 | Comp II: Local Structure Evolution in AlN Thin Film Studied by Soft X-ray Absorption Spectroscopy and 1st Principle Calculation (Dr.Wutthigrai Sailuam, Rajamangala University of Technology ISAN, Khon Kaen Campus, RMUTI) |
12.00 - 13.00 | Lunch |
13.00 - 13.45 | Exp II: TBA (Dr. Mati Horprathum, National Electronics and Computer Technology Center, NECTEC) |
13.45 - 14.45 | Comp III: (Assoc. Prof. Dr.Wanchai Phaijitrojana, TU) |
14.45 - 15.00 | Break II |
15.00 - 15.45 | Exp III: In Situ XAS Characterization and DFT study of CuFe2O4 Stream Reforming Catalyst (Dr. Pongtanawat Khemthong, National Nanotechnology Center, NANOTEC) |
15:45 - 16:30 | Discussion |
Time | July 24, 2018 |
8:30 – 9:00 | Registration (TU) (by SLRI-CMP & RMUTI) |
9:00 – 10:30 | Theory of Density Functional Theory, DFT - Workshop overview - Density functional therory (DFT) (Dr.Wutthigrai Sailuam, RMUTI) |
10.30-10.45 | Break |
10:45 – 12:00 | VASP Basics: -Basic Linux command - Input and output files - Density of states and band structure calculation (DOS) (Dr.Wutthigrai Sailuam, RMUTI & Dr.Maneerat Chotsawat, SLRI) |
12.00 – 13:00 | Lunch |
13:00 – 14:00 | Basic theory of X-ray Absorption Spectroscopy, XAS (Dr. Athipong Bootchanont, Rajamangala University of Technology, Thanyaburi, RMUTT) |
14:00 – 14:15 | Break |
14.15 - 16.30 | Introduction to FEFF -Athena / Download and Installation/ Hand on/ Example simulations (Dr. Athipong Bootchanont, RMUTT) |