altalt


สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยจึงให้การสนับสนุน และเข้าร่วมกิจกรรมของการจัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 37 (วทท37) ภายใต้แนวคิด “วิทยาศาสตร์สร้างสรรค์เพื่อสรรค์สร้างอนาคต” ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2554 โดยรศ.ดร.ประยูร ส่งสิริฤทธิกุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันฯ ได้เข้าร่วมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีซึ่งเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในวันพิธีเปิดวันที่ 10 ตุลาคม 2554 พร้อมกันนี้สถาบันฯ ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศนำเสนอเรื่องแสงซินโครตรอน และประโยชน์แสงซินโครตรอนในงานวิจัย รวมทั้งส่งตัวแทนสถาบันฯ เข้าร่วมรับฟังการบรรยายเพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้มาช่วยในการพัฒนาสถาบันฯ ต่อไป
 

การจัดวทท 37  ในปีนี้ตรงกับ “ปีสากลแห่งเคมี” (The International Year of Chemistry 2011: IYC 2011) ภายใต้แนวคิด “เคมี-ชีวิตเราอนาคตเรา” (Chemistry—our life, our future) โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมงานอาทิ Prof. Dr. Jörg Hacker อธิการบดี German National Academy of Science บรรยายพิเศษเรื่อง “งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของโรคติดเชื้อในศตวรรษที่21”  การบรรยายเรื่อง “วิทยาศาสตร์สร้างสรรค์เพื่ออนาคตศาสตร์แห่งจักรวาลโลกและท้องถิ่น” โดยศาสตราจารย์ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นสาขาเคมีพ.ศ. 2527 และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการบรรยายพิเศษของผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติปี 2554 คือศาสตราจารย์ ดร. สุทธวัฒน์ เบญจกุล ในหัวข้อที่เกี่ยวกับการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ที่สำคัญของประเทศไทย รวมถึง Prof. Dr. Robert Huber นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเคมี (ปีค.ศ. 1988) มาบรรยายพิเศษเรื่อง“โครงสร้างสุนทรีย์ของโปรตีน” (Beauty and Function of Proteins, the Building Blocks of Life, as the Focus of Basic and Applied Research) ผลงานที่ทำให้ได้รางวัลโนเบลคือการหาโครงสร้าง 3 มิติของศูนย์กลางปฏิกิริยาการสังเคราะห์แสงของไซยาโนแบคทีเรียได้สำเร็จ ซึ่งภายหลังได้นำความรู้นี้มาต่อยอดโดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์เพื่อศึกษาให้เข้าใจถึงโครงสร้างโปรตีนของร่างกายมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น  นอกจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆครอบคลุมกว่า 16 สาขา ได้แก่ สาขาด้านคณิตศาสตร์ ไอที สถิติ ฟิสิกส์ วัสดุศาสตร์เคมี ชีวเคมี วิทยาศาสตร์การแพทย์ จุลชีววิทยา ชีววิทยา พฤกษศาสตร์ เกษตร วาริชศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และสาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นต้น โดยมีการนำเสนอผลงานความก้าวหน้ากว่า 500 เรื่อง ยกตัวอย่างเช่นผลงานเรื่องจากอณูสู่ดวงดาวอีโคไลสายพันธุ์เกเรธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อมนุษยชาติรักษ์โลกด้วยเทคโนโลยีสาหร่ายการผลิตยาด้วยนาโนเทคโนโลยีสมุนไพรยุคก้าวหน้า และอุตสาหกรรมอาหารไทยสู่ประชาคมอาเซียนเป็นต้นในโอกาสนี้ศาสตราจารย์สตางค์มงคลสุขได้ปาฐกถาครั้งที่ 19 เรื่อง “วิสัชนาวัณโรค” และDr. Peter Small รองผู้อำนวยการโครงการ Global Health มูลนิธิบิลล์และเมลินดาเกตส์ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเชื้อวัณโรคดื้อยาได้มาบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมงานอีกด้วย
 

 

altalt


 

ภายในงานยังมีการนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา ภายใต้แนวคิด “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” โดยเปิดให้มีการลงนามถวายพระพร และมีการจัดแสดงนิทรรศการ “กล้วยนาคราช กล้วยชนิดใหม่ของโลก” ที่ค้นพบในประเทศไทยและจัดแสดงพันธุ์กล้วยแปลกกว่า 20 พันธุ์จากทั่วประเทศอันเนื่องมาจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชเรื่อง “นานาสารพันกล้วย”  นอกจากนี้ภายในงานยังจัดให้มีส่วนของการจัดแสดงผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เทคโนโลยีความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากบริษัทเอกชนผู้นำด้านนวัตกรรมที่มีชื่อเสียงสถาบันการศึกษาและองค์กรสำคัญต่างๆซึ่งได้นำผลงานมาจัดแสดงให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับและประโยชน์มากมายจากการมาร่วมงานในครั้งนี้


 

altalt