สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการระดับอาเซียน “ด้านเทคนิควิเคราะห์ด้วยรังสีอินฟราเรด และประชุมกลุ่มผู้ใช้บริการ” ครั้งแรกในประเทศไทย  หวังเสริมทักษะการทดลอง และการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มผู้ใช้ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น จัดระดมความคิดเห็นของกลุ่มนักวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ตรงความต้องการ และพัฒนาสถานีทดลองสู่มาตรฐานสากล

วันนี้ (25 พฤษภาคม 2554) เวลา 09.00 น. ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จังหวัดนครราชสีมา ได้เปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการระดับอาเซียน ด้านเทคนิคการวิเคราะห์ด้วยรังสีอินฟราเรด และประชุมกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอนย่านรังสีอินฟราเรด(ASEAN Workshop on Infrared Spectroscopy and Imaging and Annual Infrared User Meeting) ขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทยโดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุภกร รักใหม่ รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันฯ เป็นประธานเปิดงาน ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นักศึกษา และนักวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จำนวนกว่า 50คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 –27 พฤษภาคม ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญพิเศษจากห้องปฏิบัติการแสงซินโครตรอน โซเลยย์ (SOLEIL) ประเทศฝรั่งเศส ให้การถ่ายทอดประสบการณ์งานวิจัย และเป็นวิทยากรให้การอบรม “โปรแกรมวิเคราะห์ผลการทดลองทางอินฟราเรด”พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการนำเสนอผลงานวิจัยในรอบปีที่ผ่านมา ของนักวิจัยผู้ใช้บริการสถานีทดลองอินฟราเรด ของสถาบัน ฯ

alt
 

Dr. Paul Dumas กรรมการที่ปรึกษานานาชาติ และที่ปรึกษาในการจัดสร้างสถานีทดลองด้านเทคนิคอินฟราเรดของสถาบันฯ เปิดเผยว่า “สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ฯ ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับ สถาบันซินโครตรอน โซเลย (Synchrotron-SOLEIL) ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพื่อประสานความร่วมมือในด้านงานวิจัย และการจัดสร้างสถานีทดลองด้านเทคนิคอินฟราเรด (Infrared spectroscopy and imaging beamline) ซึ่งสถาบันโซเลยมีความชำนาญด้านนี้โดยเฉพาะ จากการประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันอย่างต่อเนื่องนำมาสู่การวางแผน การออกแบบ และจัดสร้างสถานีทดลองด้านอินฟราเรด ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยามของไทยอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งจะแล้วเสร็จในระยะเวลาอันใกล้นี้  สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ สถาบันโซเลยได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน มาเป็นวิทยากร เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์วิจัยและให้คำปรึกษาทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ Dr. Christophe Sandt และ Dr. Frédéric Jamme โดยหวังว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับความรู้ทางด้านเทคนิคการวัด และการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มขึ้น เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากสถานีทดลองมีประสิทธิภาพสูงสุด
 

 altalt

                                                                             

ดร.วันวิสา พัฒนศิริวิศวผู้จัดการระบบลำเลียงแสงซินโครตรอนด้านอินฟราเรด เปิดเผยว่า จากการที่ห้องปฏิบัติการแสงสยาม ได้เปิดให้บริการสถานีทดลองด้าน Infrared Spectroscopy and Imaging มาเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี มีคณาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากหลากหลายสาขาวิชามาขอใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นทางการแพทย์ การอาหาร จุลชีววิทยา เกษตรศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและวัสดุศาสตร์ เป็นต้น  โดยปีนี้ จำนวนผู้ขอใช้ประโยชน์จากแสงอินฟราเรดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การบริการระบบลำเลียงแสงและการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ ณ สถานีทดลองนี้เป็นไปอย่างมีประประสิทธิภาพ และสามารถส่งเสริมให้กลุ่มผู้ใช้ประสบผลสำเร็จและผลิตผลงานวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม สถาบันฯ จึงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการระดับอาเซียนและประชุมกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์สถานีทดลอง Infrared Spectroscopy and Imaging ครั้งนี้ขึ้น โดยกิจกรรมประกอบด้วย การเชิญผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Infrared spectroscopy and imaging จาก Synchrotron-SOLEIL ประเทศฝรั่งเศส มาเป็นวิทยากรบรรยายและอบรมการวิเคราะห์ข้อมูล และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ ผ่านการนำเสนอผลงานวิจัยในรอบปีที่ผ่านมาที่เกิดจากสถานีทดลองนี้ การจัดอบรมและการประชุมกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ในครั้งนี้ จะสามารถพัฒนาทักษะการทดลองและวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ เพื่อการพัฒนาสถานีทดลอง Infrared Spectroscopy and Imaging สู่มาตรฐานสากลต่อไป
 

alt

 

ปัจจุบัน สถานีทดลองด้านอินฟราเรด (Infrared Spectroscopy and Imaging: beamline 4.1) อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยปี 2553 ที่ผ่านมาได้ทำการออกแบบและสร้างระบบลำเลียงแสง และสร้างอุปกรณ์ต่างๆ ดังแสดงในรูปที่ 1 ซึ่งรองรับสถานีทดลองย่อยสำหรับเทคนิค Infrared (IR)spectroscopyได้ถึงสามสถานีทดลอง และสามารถให้บริการแสงแก่กลุ่มผู้ใช้จำนวนมากได้ในอนาคต  ขณะดำเนินการก่อสร้าง beamline 4.1  เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้ด้าน IR spectroscopy and imaging ที่มีความชำนาญในการวิเคราะห์ผลการทดลอง ทางสถาบันได้เปิดให้บริการ FTIR spectrometerand Microscope แสดงดังรูปที่ 2  โดยใช้ Globar source เป็นแหล่งกำเนิดแสง IR ซึ่งให้พลังงานในช่วง Mid-Infrared หรือในช่วง 4000-800 cm-1 นอกจากนี้สถาบันยังมีอุปกรณ์ประกอบ (accessories) รองรับการวิเคราะห์ตัวอย่างหลากหลายชนิด เช่น ตัวอย่างที่เป็นของแข็ง ของเหลว และฟิล์มบาง เป็นต้น ดังแสดงในรูปที่ 3”
alt

alt

                                                                          (ก)                                                                                                                                                           (ข)
 

รูปที่ 1 ภาพมุมมองของระบบลำเลียงแสงอินฟราเรด (ก) ด้านข้าง (ข) ด้านบน

alt

รูปที่ 2 เครื่องอินฟราเรดสเปกโตรมิเตอร์และกล้องจุลทรรศน์

 

altalt

                                                                                 (ก) Transmission cell                                                      (ข) Flow through transmission cell

 

                                            alt                              alt                                 

                                                                    (ค)Single reflection (PIKE MIRacle ATR)                                   (ง) AttenuatedTotal Reflection(ATR)

                                                                                    รูปที่ 3อุปกรณ์ประกอบสำหรับอินฟราเรดสเปกโตรมิเตอร์ (ก-ค) และกล้องจุลทรรศน์ (ง)

                                                                                                                                                     

งานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน