สถาบันเดซี (Deutsches Elektronen Synchotron:DESY) เป็นหนึ่งในบรรดาห้องปฏิบัติการชั้นนำของโลก ด้านฟิสิกส์ของอนุภาคมูลฐาน และงานวิจัยที่ใช้ แสงซินโครตรอน ในแต่ละปีจะมีนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจำนวนกว่า 3,400 คน เข้ามาปฏิบัติการทดลอง ณ สถาบันเดซี โดยมีการทำวิจัย ทางด้านอนุภาค มูลฐาน ที่เน้นการใช้เครื่องเร่งอนุภาค เพื่อที่จะค้นหาอนุภาคมูลฐาน ที่เกิดจากการ ชนกัน ของอนุภาคอิเล็กตรอนและอนุภาคโปรตรอน และงานวิจัยทางด้านแสง ซินโครตรอน ซึ่งเป็นการนำเอาแสงซินโครตรอน ที่ผลิตจากวงแหวนกักเก็บอนุภาค พลังงานสูง ไปใช้ประโยชน์ ในงานวิจัยพื้นฐาน และงานวิจัยประยุกต์ในสาขาฟิสิกส์ ชีววิทยา เคมี วัสดุศาสตร์ธรณีวิทยาและแพทยศาสตร์


alt
        ในแต่ละภาคฤดูร้อน สถาบันเดซีได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือก ในสาขาฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สาขาต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรม วิจัยในห้องปฏิบัติการ ณ เมืองแฮมบวร์กหรือเมือง ซอยเธย์ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน โดยสามารถเลือกกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ดังต่อไปนี้


กิจกรรมที่ 1 การทดลองในสาขาฟิสิกส์ของอนุภาคมูลฐาน (Experiments in Elementary Particle Physics)
นักศึกษาจะได้เข้าร่วมกลุ่มวิจัยในโครงการวิจัย H1, HERA-B, HERMES หรือ ZEUS ณ ห้องปฏิบัติการของสถาบันเดซี ในการค้นหาและศึกษาคุณสมบัติของอนุภาคมูลฐาน นักศึกษาอาจจะเลือกเข้าร่วมกลุ่มวิจัยในสาขา Neutrino-Astrophysics ลักษณะของกิจกรรมวิจัยแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ 1) งานวิเคราะห์เชิงฟิสิกส์ 2) งานพัฒนาอุปกรณ์การทดลอง และ 3) งานประมวลข้อมูล 
 
กิจกรรมที่2 การทดลองที่ใช้แสงซินโครตรอน (Experiments with Synchrotron Radiation)
นักศึกษาจะได้เข้าร่วมกลุ่มวิจัยของห้องปฏิบัติการเฮซ่แล็บ (HASYLAB) ณ เมืองแฮมเบิร์ก สัมผัสกับงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ในสาขาฟิสิกส์ ชีววิทยา เคมี วัสดุศาสตร์ ธรณีวิทยาและแพทยศาสตร์ นักศึกษาจะมีโอกาสในการร่วมเตรียมการทดลอง ทำการทดลองโดยอาศัยเทคนิคการวัดที่ใช้แสงซินโครตรอน ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูล หรือเข้าร่วมงานพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
 
กิจกรรมที่3 งานวิจัยเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาค (Research on Accelerators) 
นักศึกษาได้เข้าร่วมกลุ่มวิจัยที่ทำงานพัฒนาเครื่องเร่งอนุภาค กิจกรรมวิจัยครอบคลุมโครงการต้นแบบของเครื่องสำหรับการชนกันของอนุภาคในแนวตรงที่มีชื่อว่า เทสลา (TESLA) และงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวกับแม่เหล็กตัวนำยิ่งยวด และห้องเร่งอนุภาคตัวนำยิ่งยวด  
กิจกรรมที่4 ทฤษฎีของอนุภาคมูลฐาน (Theory of Elementary Particles)  
นักศึกษาจะต้องเลือกเข้ากลุ่มวิจัยทางทฤษฎี กิจกรรมที่นักศึกษาจะทำขึ้นอยู่กับความรู้พื้นของนักศึกษา กิจกรรมโดยส่วนใหญ่จะเป็นการอ่านเอกสารวิจัยเพิ่มเติม และอภิปรายเกี่ยวกับ วิธีการวิจัยและนิยามทางทฤษฎีต่างๆ หรือการเข้าร่วมงานวิจัยง่ายๆ
 
กิจกรรมที่5 งานเกี่ยวกับการคำนวณ (Computing in High Energy Physics)  
นักศึกษาจะได้เข้าร่วมงานเกี่ยวกับการคำนวณในสาขาฟิสิกส์พลังงานสูงในห้องปฏิบัติการ ณ เมืองซอยเธย์ โดยนักศึกษาจะมีโอกาสเข้าร่วมทดสอบ และพัฒนาชอฟท์แวร์ สำหรับคอมพิวเตอร์งานขนาน