ไขปรศนาสสนลกปดแกวโบราณยคทวารวดจ

          คณะนักวิจัยนำโดย รศ.ดร.เสรีวัฒน์ สมินทร์ปัญญา จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้คัดเลือกตัวอย่างลูกปัดแก้วขนาด 2-5 มม. ที่มีสีแตกต่างกันคือ สีเขียว เหลือง ดำ น้ำเงิน ฟ้า จากหลุมฝังศพ 4 แหล่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดสระแก้ว มาทำการศึกษาด้วยเทคนิค XRF พบว่าสามารถจัดกลุ่มตัวอย่างจากแต่ละแหล่งและสีด้วยความสัมพันธ์ของอัตราส่วนของธาตุ Fe/Mn และ Cu/Mn ซึ่งสามารถเชื่อมโยงโทนสีน้ำเงินเข้ากับธาตุ Cu, โทนสีเหลืองเข้ากับสารประกอบ Pb และ Sn และโทนสีเขียวเข้ากับธาตุ Cu และสารประกอบ Pb และ Sn นอกจากนี้ยังใช้เทคนิค XAS ในช่วง XANES เพื่อศึกษาธาตุโลหะคือ Cu, Fe และ Mn พบว่า Cu เป็นส่วนผสมของ Cu+ และ Cu2+ ซึ่งอัตราส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละกลุ่มสี สำหรับสีดำพบ Fe2+ เป็นไอออนของธาตุให้สีหลักซึ่งแตกต่างจากสีอื่นที่พบ Fe3+ สำหรับ Mn เป็นส่วนผสมของ Mn2+ และ Mn3+ ซึ่งไม่แตกต่างกันในตัวอย่างลูกปัดแต่ละสี ดังนั้น Mn จึงไม่เป็นธาตุให้สีหลัก การเชื่อมโยงถึงเลขออกซิเดชันของธาตุเจือที่มีอยู่ในปริมาณน้อยนี้เป็นหลักฐานสำคัญการทำความเข้าใจถึงผลกระทบของธาตุเจือในสีที่แตกต่างกัน โดยผลงานนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports (Saminpanya et al., 2019)

 

Picture1

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Shedding New Light on Ancient Glass Beads by Synchrotron, SEM-EDS, and Raman Spectroscopy Techniques